บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
บทว่า ปาปเกน สีเลน ความว่า อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ความไม่สำรวมอันทำให้ศีลขาด ชื่อว่าศีลลามก. ในบทนั้น ผิว่า ความไม่สำรวมเป็นศีลเหมือนกันไซร้ เพราะความเป็นผู้ทุศีล ศีลนั้น จะเรียกว่า ศีลอย่างไร ในบทนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้. ท่านกล่าวสิ่งที่ไม่เห็นในโลกว่าเห็น หรือผู้ไม่มีศีลว่า เป็นผู้มีศีลดังนี้ฉันใด แม้ในข้อนี้ ท่านก็เรียกไม่มีศีลก็ดี ไม่สำรวมก็ดีว่า ศีลฉันนั้น. อีกอย่างหนึ่ง เรียกชื่อว่าศีลมีอยู่แม้ในอกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะบาลีว่า๑- ดูก่อนคฤหบดี ก็ศีลเป็นอกุศล กายกรรมเป็นอกุศล วจีกรรมเป็นอกุศล อาชีวะเป็นอกุศล เป็นไฉนดังนี้ เพราะฉะนั้น ความประพฤติชอบทั้งหมดเป็นปกติ เหมือนสำเร็จตามสภาพด้วยความคุ้นเคย ท่านก็เรียกว่าศีล. ____________________________ ๑- ม. ม. เล่ม ๑๓/ข้อ ๓๖๒ บทว่า ปาปเกน สีเลน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงอกุศลอันลามก เพราะอรรถว่าไม่เป็นความฉลาดเลย. บทว่า ปาปิกาย ทิฏฺฐิยา ได้แก่ มิจฉาทิฏฐิทั้งหมดอันลามก แต่โดยความพิเศษ ทิฏฐิ ๓ อย่างเหล่านี้ คือ อเหตุกทิฏฐิ (ความเห็นว่าหาเหตุมิได้) ๑ อกิริยทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ) ๑ นัตถิกทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่มี) ๑ ลามกกว่า. ในบทนั้น บุคคลผู้ประกอบด้วยศีลอันลามกเป็นผู้วิบัติด้วยปโยคะ (ความขวนขวายชอบ) บุคคลผู้ประกอบทิฏฐิอันลามก เป็นผู้วิบัติด้วยอาสยะ (อัธยาศัย). บุคคลผู้วิบัติด้วยปโยคะและอาสยะเป็นผู้ตกนรกโดยแท้. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล อันกรรมของตนซัดไปในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลงฉะนั้น. ในบทว่า ทฺวีหิ ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต นี้พึงเห็นเป็นคำแสดงถึงลักษณะ มิใช่แสดงถึงแบบแผน เหมือนอย่างว่า ผิว่าในโลก ความเจ็บป่วยทั้งหลายจะพึงมีแก่เราไซร้ ควรให้ยาชนิดนี้ แก่ผู้เจ็บป่วยเหล่านี้ ดังนี้. ในฐานะเช่นนี้ แม้เหล่าอื่นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ทุปฺปญฺโญ คือ ไม่มีปัญญา. จบอรรถกถาปฐมสีลสูตรที่ ๕ --------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ทุกนิบาต ปฐมวรรค สีลสูตรที่ ๑ จบ. |