บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] หน้าต่างที่ ๘ / ๑๐. ข้อความเบื้องต้น พระเถระไม่ให้อุปัฏฐายิกาไปฟังธรรม หญิงนั้นฟังถ้อยคำของคนพวกนั้นแล้ว จึงบอกแก่พระกาละว่า "ท่านเจ้าข้า ดิฉันอยากจะฟังธรรมเทศนาของพระศาสดาบ้าง." เธอห้ามเขาว่า "อย่าไปที่นั่นเลย." หญิงนั้นในวันรุ่งขึ้นก็ขออีก แม้อันพระกาละนั้นห้ามอยู่ถึง ๓ ครั้งก็ยังอยากจะฟังอยู่นั่นแล. มีคำถามสอดเข้ามาว่า "ก็เหตุไฉน? เธอจึงได้ห้ามเขาเสีย." แก้ว่า "ได้ยินว่า เธอได้มีความเห็นเช่นนี้ว่า อุบาสิกานี้ ได้ฟังธรรมในสำนักพระศาสดาแล้ว จักแตกจากเรา เหตุนั้น เธอจึงได้ห้ามเขาเสีย. วันหนึ่ง หญิงนั้นบริโภคอาหารเสร็จสมาทานอุโบสถแล้ว สั่งบุตรีไว้ว่า "แม่ จงอังคาสพระผู้เป็นเจ้าให้ดี" แล้วได้ไปวิหารแต่เช้าเทียว. ฝ่ายบุตรีของเขาก็อังคาสพระกาละโดยเรียบร้อย ในกาลเธอมาถึง เธอถามว่า "อุบาสิกาผู้ใหญ่ไปไหน?" (นาง) ตอบว่า "ไปวิหารเพื่อฟังธรรม." เธอพอได้ฟังข่าวนั้น ทุรนทุรายอยู่เพราะความกลัดกลุ้มอันตั้งขึ้นในท้อง๑- นึกว่า "เดี๋ยวนี้ อุบาสิกานั้นแตกจากเราแล้ว" รีบไป เห็นหญิงนั้นฟังธรรมอยู่ในสำนักพระศาสดา จึงทูลพระศาสดาว่า "พระเจ้าข้า หญิงคนนี้เขลา ไม่เข้าใจธรรม ____________________________ ๑- ควรจะเป็น อนฺโต ในภายใน สักการะย่อมฆ่าคนถ่อย แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :-
แก้อรรถ "บุคคลใดปัญญาโฉด อาศัยทิฏฐิอันชั่วช้า ห้ามปรามพวกคนผู้กล่าวอยู่ว่า จักฟังธรรมก็ดี ว่า จักถวายทานก็ดี เพราะกลัวแต่เสื่อมสักการะของตน ชื่อว่าโต้แย้งคำสั่งสอนของพระอริยบุคคลผู้อรหันต์ มีปกติเป็นอยู่โดยธรรม คือพระพุทธเจ้า, การโต้แย้งและทิฏฐิอันเลวทรามนั้นของบุคคลนั้น ย่อมเป็นเหมือนขุยของไม้มีหนาม กล่าวคือไม้ไผ่, เหตุนั้น ไม้ไผ่เมื่อตกขุย ย่อมตกเพื่อฆ่าตนเท่านั้น ฉันใด แม้บุคคลนั้นก็ย่อมเกิดมาเพื่อฆ่าตน คือว่าเกิดมาเพื่อผลาญตนเอง ฉันนั้น. สมจริง แม้คาถาประพันธ์นี้ พระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสไว้ว่า :- ผลนั้นแลย่อมฆ่าต้นกล้วยเสีย, ผลนั้นแลย่อมฆ่าไม้ไผ่เสีย, ผลนั้นแลย่อมฆ่าไม้อ้อเสีย, ลูกในท้องย่อมฆ่าแม่ม้าอัศดรเสีย ฉันใด, สักการะก็ย่อมฆ่าบุรุษถ่อยเสีย ฉันนั้น." ในเวลาจบเทศนา อุบาสิกาตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่บริษัทผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล. เรื่องพระกาลเถระ จบ. -------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑๒ |