ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 244อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 245อ่านอรรถกถา 25 / 246อ่านอรรถกถา 25 / 440
อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต
ทุติยวรรค มุนีสูตร

               อรรถกถามุนีสูตร               
               ในมุนีสูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
               ในบทว่า โมเนยฺยานิ นี้ บุคคลชื่อว่า มุนิ เพราะรู้ทั้งโลกนี้และโลกหน้า และทั้งประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่น ได้แก่พระเสกขะบุคคล ๗ จำพวกพร้อมด้วยกัลยาณปุถุชนและพระอรหันต์ แต่ในที่นี้ทรงประสงค์เอาพระอรหันต์เท่านั้น. ความเป็นแห่งมุนี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าโมเนยยะ ได้แก่ กายสมาจาร วจีสมาจาร และมโนสมาจารของพระอรหันต์. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมคือโมเนยยปฏิปทา ที่ทำให้เป็นมุนี ชื่อว่าโมเนยยะ.
               โมเนยยะเหล่านั้น มีความพิสดารดังต่อไปนี้
               บรรดาโมเนยยะทั้ง ๓ นั้น กายโมเนยยะเป็นอย่างไร?
               คือการละกายทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่ากายโมเนยยะ. กายสุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่ากายโมเนยยะ. ญาณในธรรมที่มีกายเป็นอารมณ์ ชื่อว่ากายโมเนยยะ. การกำหนดรู้กาย ชื่อว่ากายโมเนยยะ. มรรคที่สหรคตด้วยการกำหนดรู้กาย ชื่อว่ากายโมเนยยะ. การละฉันทราคะในกาย ชื่อว่ากายโมเนยะ. การเข้าจตุตถฌาน มีการดับกายสังขาร ชื่อว่ากายโมเนยยะ.
               บรรดาโมเนยยะทั้ง ๓ นั้น วจีโมเนยยะเป็นอย่างไร?
               คือการละวจีทุจริต ๔ อย่าง ชื่อว่าวจีโมเนยยะ. วจีสุจริต ๔ อย่าง ชื่อว่าวจีโมเนยยะ. ญาณในธรรมมีวาจาเป็นอารมณ์ ชื่อว่าวจีโมเนยยะ. การกำหนดรู้วาจา ชื่อว่าวจีโมเนยยะ. มรรคที่สหรคตด้วยการกำหนดรู้วาจา ชื่อว่าวจีโมเนยยะ. การละฉันทราคะในวาจา ชื่อว่าวจีโมเนยยะ. การเข้าทุติยฌาน มีการดับวจีสังขาร ชื่อว่าวจีโมเนยยะ.
               บรรดาโมเนยยะทั้ง ๓ อย่างนั้น มโนโมเนยยะเป็นอย่างไร?
               คือการละมโนทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่ามโนโมเนยยะ. มโนสุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่า มโนโมเนยยะ. ญาณในธรรมมีใจเป็นอารมณ์ ชื่อว่ามโนโมเนยยะ. การกำหนดรู้ใจ ชื่อว่ามโนโมเนยยะ. มรรคที่สหรคตด้วยการกำหนดรู้ใจ ชื่อว่ามโนโมเนยยะ. การละฉันทราคะในใจ ชื่อว่ามโนโมเนยยะ. การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีการดับจิตสังขาร ชื่อว่ามโนโมเนยยะแล.๑-
____________________________
๑- ขุ. มหา. เล่ม ๒๙/ข้อ ๖๗   ขุ. จูฬ. เล่ม ๓๐/ข้อ ๑๖๔

               บทว่า นินฺหาตปาปกํ ความว่า ผู้มีมลทินคือบาปอันล้างดีแล้วด้วยน้ำอันเลิศ คืออัษฎางคิกมรรค.

               จบอรรถกถามุนีสูตร#- ที่ ๘               
               -----------------------------------------------------               
#- (ม. โมเนยยสูตร)

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต ทุติยวรรค มุนีสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 244อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 245อ่านอรรถกถา 25 / 246อ่านอรรถกถา 25 / 440
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=5689&Z=5702
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=27&A=5387
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=27&A=5387
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๓๑  มีนาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :