บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] หน้าต่างที่ ๑๒ / ๑๒. ข้อความเบื้องต้น บุรพกรรมของสุภัททะ เพราะฉะนั้น จึงไม่ได้เพื่อจะเฝ้าพระศาสดา ทั้งในปฐมโพธิกาล ทั้งในมัชฌิมโพธิกาล, แต่ว่าในปัจฉิมโพธิกาล ในเวลาเป็นที่ปรินิพพานแห่งพระศาสดา คิดว่า "เราถามความสงสัยของตน ในปัญหา ๓ ข้อกะปริพาชกทั้งหลายซึ่งเป็นคนแก่ ไม่ถามกะพระสมณโคดม ด้วยความสำคัญว่า "เป็นเด็ก" ก็บัดนี้ เป็นกาลปรินิพพานของพระสมณโคดมนั้น วิปฏิสารพึงบังเกิดแก่เราในภายหลัง เพราะเหตุไม่ถามพระสมณโคดม" แล้วเข้าไปเฝ้าพระศาสดา แม้ถูกพระอานนทเถระห้ามอยู่ เข้าไปแล้วสู่ภายในม่าน เพราะความที่พระศาสดาทรงกระทำโอกาสแล้ว ตรัสว่า "อานนท์ เธออย่าห้ามสุภัททะเลย สุภัททะจงถามปัญหากะเรา" จึงนั่งใกล้ข้างล่างเตียง ทูลถามปัญหาเหล่านี้ว่า "ข้าแต่พระสมณะผู้เจริญ ชื่อว่ารอยเท้าในอากาศ มีอยู่หรือหนอแล? ชื่อว่าสมณะภายนอกแต่ศาสนานี้มีอยู่หรือ? สังขารทั้งหลายชื่อว่าเที่ยง มีอยู่หรือ?" พระศาสดาทรงแก้ปัญหาของสุภัททะ
แก้อรรถ บทว่า พาหิโร ความว่า ชื่อว่าสมณะผู้ดำรงอยู่ในมรรคและผลภายนอกแต่ศาสนาของเรา ไม่มี. บทว่า ปชา ความว่า หมู่สัตว์ กล่าวคือสัตวโลกนี้ ยินดียิ่งแล้วในธรรมเครื่องเนิ่นช้ามีตัณหาเป็นต้นเท่านั้น. บทว่า นิปฺปปญฺจา ความว่า ส่วนพระตถาคตทั้งหลายเป็นผู้ชื่อว่าไม่มีธรรมเครื่องเนิ่นช้า เพราะความที่พระองค์ตัดธรรมเครื่องเนิ่นช้าทั้งปวงได้ขาดแล้ว ที่ควงแห่งไม้โพธิ์นั่นแล. ขันธ์ ๕ ชื่อว่าสังขาร, ในขันธ์ ๕ เหล่านั้น ขันธ์อย่างหนึ่งชื่อว่าเที่ยง ไม่มี. บทว่า อิญฺชิตํ ความว่า ก็ชนทั้งหลายพึงถือเอาว่า "สังขารทั้งหลายเป็นสภาพเที่ยง" ด้วยบรรดากิเลสชาตเครื่องหวั่นไหว คือตัณหา มานะ และทิฏฐิอันใด, แม้กิเลสชาตเครื่องหวั่นไหวนั้นอย่างหนึ่งมิได้มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย. ในเวลาจบเทศนา สุภัททปริพาชกตั้งอยู่แล้วในอนาคามิผล. พระธรรมเทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่บริษัทผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล. เรื่องสุภัททปริพาชก จบ. มลวรรควรรณนา จบ. วรรคที่ ๑๘ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท มลวรรคที่ ๑๘ จบ. |