บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] หน้าต่างที่ ๓ / ๑๒. ข้อความเบื้องต้น พระติสสะมอบผ้าสาฎกเนื้อหยาบให้พี่สาว ในกาลต่อมา พระติสสเถระนั้นเข้าจำพรรษา ณ วิหารในชนบท, ได้ผ้าสาฎกเนื้อหยาบประมาณ ๘ ศอก จำพรรษา ปวารณาแล้ว ถือผ้านั้นไปวางไว้ใกล้มือพี่สาว. พี่สาวนั้นดำริว่า "ผ้าสาฎกผืนนี้ ไม่สมควรแก่น้องชายเรา" แล้วตัดผ้านั้นด้วยมีดอันคม ทำให้เป็นชิ้นน้อยชิ้นใหญ่, โขลกในครก แล้วสาง ดีด กรอ ปั่น ให้เป็นด้ายละเอียด ให้ทอเป็นผ้าสาฎกแล้ว. พระเถระเตรียมจะตัดจีวร พี่สาวนั้นนำผ้าสาฎกประมาณ ๙ ศอกออกมาวางไว้ใกล้มือของพระผู้น้องชาย. ท่านรับผ้าสาฎกนั้นมาพิจารณาแล้ว พูดว่า "ผ้าสาฎกของฉันเนื้อหยาบ ประมาณ ๘ ศอก ผืนนี้เนื้อละเอียด ประมาณ ๙ ศอก ผ้านี้มิใช่ผ้าสาฎกของฉัน นี่เป็นผ้าสาฎกของพี่ ฉันไม่ต้องการผ้าผืนนี้ พี่จงให้ผ้าสาฎกผืนนั้นแหละแก่ฉัน." พี่สาวตอบว่า "ท่านผู้เจริญ นี่เป็นผ้าของท่านทีเดียว ขอท่านจงรับผ้านั้นเถิด." ท่านไม่ปรารถนาเลย. ลำดับนั้น พี่สาวจึงบอกกิจที่ตนทำทุกอย่างแก่พระเถระนั้นแล้ว ได้ถวายว่า "ท่านผู้เจริญ นั่นเป็นผ้าของท่านทีเดียว ขอท่านจงรับผ้านั้นเถิด." ท่านถือผ้านั้นไปวิหาร เริ่มจีวรกรรม. พระเถระห่วงใยในจีวร ตายแล้วเกิดเป็นเล็น ท่านแลดูจีวรแล้ว เกิดความเยื่อใยในจีวรนั้น คิดว่า "ในวันพรุ่งนี้ เราจักห่มจีวรนั้น" แล้วพับพาดไว้ที่สายระเดียง, ในราตรีนั้น ไม่สามารถให้อาหารที่ฉันแล้วย่อยไปได้ มรณภาพแล้ว เกิดเป็นเล็นที่จีวรนั้นนั่นเอง. พระศาสดารับสั่งไม่ให้แจกจีวร เล็นวิ่งร้องไปข้างโน้นและข้างนี้ว่า "ภิกษุพวกนี้แย่งจีวรอันเป็นของเรา." พระศาสดาประทับนั่งในพระคันธกุฎีเทียว ทรงสดับเสียงนั้นด้วยโสตธาตุเพียงดังทิพย์ ตรัสว่า "อานนท์ เธอจงบอก อย่าให้พวกภิกษุแบ่งจีวรของติสสะ แล้วเก็บไว้ ๗ วัน." พระเถระให้ทำอย่างนั้นแล้ว. พระศาสดารับสั่งให้แจกจีวรของพระติสสเถระ พวกภิกษุสนทนากันในธรรมสภาว่า "เหตุไรหนอแล พระศาสดาจึงให้เก็บจีวรของพระติสสะไว้สิ้น ๗ วัน แล้วทรงอนุญาตเพื่อถือเอาในวันที่ ๘." ตัณหาทำให้สัตว์ถึงความพินาศ ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ติสสะเกิดเป็นเล็นที่จีวรของตน เมื่อพวกเธอจะแบ่งจีวรนั้น วิ่งร้องไปข้างโน้นและข้างนี้ว่า "ภิกษุพวกนี้แย่งจีวรอันเป็นของเรา" เมื่อพวกเธอถือเอาจีวรอยู่. เขาขัดใจในพวกเธอแล้วพึงเกิดในนรก เพราะเหตุนั้น เราจึงให้เก็บจีวรไว้. ก็บัดนี้เขาเกิดในวิมานชั้นดุสิตแล้ว เพราะเหตุนั้น เราจึงอนุญาตการถือเอาจีวรแก่พวกเธอ" เมื่อภิกษุพวกนั้นกราบทูลอีกว่า "พระเจ้าข้า ขึ้นชื่อว่าตัณหานี้หยาบหนอ" จึงตรัสว่า "อย่างนั้นภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าตัณหาของสัตว์เหล่านี้หยาบ สนิมตั้งขึ้นแต่เหล็ก ย่อมกัดเหล็กนั่นเอง ย่อมให้เหล็กพินาศไป ทำให้เป็นของใช้สอยไม่ได้ ฉันใด. ตัณหานี้ (ก็) ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดขึ้นภายในของสัตว์เหล่านี้แล้ว ย่อมให้สัตว์เหล่านั้นเกิดในอบายมีนรกเป็นต้น ให้ถึงความพินาศ." ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
แก้อรรถ บทว่า สมุฏฺฐิตํ คือตั้งขึ้นแล้ว. บทว่า ตทุฏฺฐาย คือครั้นตั้งขึ้นแต่เหล็กนั้น. ในบทว่า อติโธนจารินํ บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยดังนี้. ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาปัจจัย ๔ ว่า "การบริโภคนี้ เป็นประโยชน์ด้วยปัจจัยเหล่านี้" แล้วบริโภค พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าโธนา, บุคคลประพฤติก้าวล่วงปัญญาชื่อว่าโธนานั่น ชื่อว่า อติโธนจารี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเป็นคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า "สนิมเกิดขึ้นแต่เหล็ก ตั้งขึ้นแต่เหล็ก ย่อมกัดเหล็กนั่นเอง ฉันใด; กรรมทั้งหลายของตน คือกรรมเหล่านั้นชื่อว่าเป็นของตนนั่นแหละ เพราะตั้งขึ้นในตนย่อมนำบุคคลผู้ไม่พิจารณาปัจจัย ๔ แล้วบริโภค ชื่อว่าผู้ประพฤติก้าวล่วงปัญญาชื่อว่าโธนา ไปสู่ทุคติ ฉันนั้นเหมือนกัน." ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล. เรื่องพระติสสเถระ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท มลวรรคที่ ๑๘ |