บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] หน้าต่างที่ ๘ / ๑๐. ข้อความเบื้องต้น ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น โมเนน" เป็นต้น. เหตุที่ทรงอนุญาตอนุโมทนากถา ก็ในปฐมโพธิกาล ในเวลาที่ยังไม่ทรงอนุญาตวิธีอนุโมทนาเป็นต้น ภิกษุทั้งหลายไม่ทำอนุโมทนาแก่พวกมนุษย์ในโรงภัตเลย ย่อมหลีกไป. พวกมนุษย์ยกโทษว่า "พวกเราได้ฟังมงคลแต่สำนักของเดียรถีย์ทั้งหลาย แต่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายนิ่งเฉย หลีกไปเสีย." ภิกษุทั้งหลายกราบทูลความนั้นแด่พระศาสดา. พระศาสดาทรงอนุญาตว่า "ภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่บัดนี้ไป ท่านทั้งหลายจงทำอนุโมทนาในที่ทั้งหลายมีโรงภัตเป็นต้น ตามสบายเถิด จงกล่าวอุปนิสินนกถาเถิด" ภิกษุเหล่านั้นทำอย่างนั้นแล้ว. พวกเดียรถีย์ติเตียนพุทธสาวก พวกเดียรถีย์ยกโทษว่า "พวกเราเป็นมุนีทำความเป็นผู้นิ่ง, พวกสาวกของพระสมณ ลักษณะมุนีและผู้ไม่ใช่มุนี ดังนี้แล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
แก้อรรถ บทว่า มุฬฺหรูโป คือ เป็นผู้เปล่า. บทว่า อวิทฺทสุ คือ ไม่รู้โดยปกติ. อธิบายว่า "ก็บุคคลเห็นปานนั้น แม้เป็นผู้นิ่ง ก็ไม่ชื่อว่าเป็นมุนี; อีกอย่างหนึ่ง ไม่ชื่อว่าโมไนยมุนี แต่เป็นผู้เปล่าเป็นสภาพ และไม่รู้โดยปกติ. บาทพระคาถาว่า โย จ ตุลํ ว ปคฺคยฺห ความว่า เหมือนอย่างคนยืนถือตาชั่งอยู่, ถ้าของมากเกินไป ก็นำออกเสีย, ถ้าของน้อย ก็เพิ่มเข้า ฉันใด ผู้ใดนำออก ชื่อว่าเว้นบาป ดุจคนเอาของที่มากเกินไปออก. บำเพ็ญกุศลอยู่ดุจคนเพิ่มของอันน้อยเข้า ฉันนั้นเหมือนกัน; ก็แล เมื่อทำอย่างนั้น ชื่อว่าถือธรรมอันประเสริฐ คือสูงสุดทีเดียว กล่าวคือศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เว้นบาป คือกรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย. สองบทว่า ส มุนิ ความว่า ผู้นั้นชื่อว่าเป็นมุนี. หลายบทว่า เตน โส มุนิ ความว่า หากมีคำถามสอดเข้ามาว่า "ก็เพราะเหตุไร ผู้นั้นจึงชื่อว่าเป็นมุนี?" ต้องแก้ว่า "ผู้นั้นเป็นมุนี เพราะเหตุที่กล่าวแล้วในหนหลัง." บาทพระคาถาว่า โย มุนาติ อุโภ โลเก ความว่า บุคคลผู้ใดรู้อรรถทั้งสองนี้ ในโลกมีขันธ์เป็นต้นนี้ โดยนัยเป็นต้นว่า "ขันธ์เหล่านี้เป็นภายใน, ขันธ์เหล่านี้เป็นภายนอก" ดุจบุคคลยกตาชั่งขึ้นชั่งอยู่ฉะนั้น. หลายบทว่า มุนิ เตน ปวุจฺจติ ความว่า ผู้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า "เป็นมุนี" เพราะเหตุนั้น. ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล. ____________________________ ๑- ญาณอันสัมปยุตด้วยมรรค. เรื่องเดียรถีย์ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ธัมมัฏฐวรรคที่ ๑๙ |