บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
บทว่า จรโต ได้แก่ กำลังเดินหรือกำลังจงกรมอยู่. บทว่า อปฺปชฺชติ กามวิตกฺโก วา ความว่า ถ้าว่า คือผิว่าวิตกที่ประกอบด้วยกามหรือ จะเกิดขึ้นในเพราะปัจจัยเช่นนั้น เพราะยังไม่ปราศจากราคะในวัตถุกามทั้งหลายไซร้. บทว่า พยาปาทวิตกฺโก วา วิหึสาวิตกฺโก วา มีการเชื่อมความว่า ถ้าหากวิตกที่ประกอบด้วยความพยาบาทที่มีความอาฆาตเป็นนิมิต หรือวิตกที่ประกอบด้วยวิหิงสาด้วยอำนาจแห่งการเบียดเบียนผู้อื่นด้วยก้อนดินและตะพดเป็นต้น เกิดขึ้นไซร้. บทว่า อธิวาเสติ ความว่า ถ้าให้กามวิตกตามที่กล่าวแล้วนั้นที่เกิดขึ้นในจิตของตนตามปัจจัยพักอาศัยอยู่ คือยกจิตของตนออกไปแล้วให้มันพักอาศัยอยู่ เพราะไม่มีการพิจารณา โดยนัยมีอาทิว่า วิตกนี้เป็นของเลวแม้ด้วยเหตุนี้ เป็นอกุศลแม้ด้วยเหตุนี้ เป็นสิ่งมีโทษแม้ด้วยเหตุนี้ ก็วิตกนั้นแลย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้างดังนี้ไซร้ และเมื่อให้มันพักอาศัยอยู่นั่นแหละก็ยังละมันไม่ได้ คือยังสลัดออกไปไม่ได้ด้วย อธิบายว่า ผู้มีความเพียรส่งใจไปแล้ว (ไม่อาลัยชีวิตแล้ว) จะทำโดยวิธีที่แม้ที่สุดของวิตกเหล่านั้นจะไปหรืออยู่โดยที่สุดแม้เพียงแต่ความแตกหักไป แต่ภิกษุนี้หาทำเหมือนอย่างนั้นไม่ ผู้ศึกษาควรทราบเนื้อความโดยประกอบ เจ ศัพท์เข้าด้วยคำมีอาทิว่า วิตกที่เป็นอย่างนั้นนั่นเอง จะไม่ถึงความไม่มีหามิได้ คือ จะไม่ถึงความไม่มีภายหลัง ถ้าหากยังละไม่ได้ไซร้ บทว่า จรํ ได้แก่ จรนฺโต (แปลว่าเดินไปอยู่). บทว่า เอวํภูโต ได้แก่ เป็นผู้พร้อมพรั่งด้วยวิตกที่เลวมีกามวิตกเป็นต้นอย่างนี้. บทว่า อนาตาปี อโนตฺตปฺปี ความว่า ผู้ชื่อว่าไม่มีความเพียร เพราะไม่มีความเพียรที่เป็นเหตุแผดเผากิเลส. ชื่อว่าไม่มีความเกรงกลัว เพราะไม่มีความเกรงกลัว ที่มีลักษณะสะดุ้งกลัวต่อบาป ร้อนรนและรุ่มร้อนเพราะบาป. บทว่า สตฺต สมิตํ ความว่า ตลอดกาลทุกเมื่อเป็นนิจ. บทว่า กุสีโต หีนวีริโย ความว่า ภิกษุนั้น เราตถาคตเรียกคือกล่าวว่า ชื่อว่าเป็นผู้เกียจคร้าน เพราะเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว จุ่มจมอยู่ในธรรมฝ่ายอกุศล และชื่อว่าเป็นผู้เสื่อมจากความเพียรแล้ว คือเว้นจากความเพียรแล้ว เพราะไม่มีความเพียร คือสัมมัปปธาน. บทว่า ฐิตสฺส ความว่า ผู้ยืนอยู่เพราะงดการเดิน. เพื่อจะทรงแสดงวิธีที่วิตกทั้งหลายเกิดขึ้นอยู่แก่ผู้พร้อมมูลด้วยความเกียจคร้านนั้น จึงได้ตรัสไว้ว่าผู้ตื่นอยู่ เพราะทรงเพิ่มอิริยาบถนอน เข้าในความเกียจคร้านเป็นพิเศษ. พึงทราบวินิจฉัยในธรรมฝ่ายขาวต่อไป. บทว่า ตญฺเจ ภิกฺขุ นาธิวาเสติ ความว่า ถ้าหากกามวิตกเป็นต้นเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นผู้แม้ปรารภความเพียรแล้วพักอยู่ เพราะการประกอบพร้อมมูล ด้วยปัจจัยเช่นนั้นที่อบรมมาตลอดกาลนาน ในสงสารที่ไม่รู้เบื้องต้น หรือเพราะสติฟั่นเฟือนไซร้ คือถ้าหากภิกษุ ยกจิตของตนนั้นขึ้นแล้ว แต่ไม่ให้กามวิตกเป็นต้นนั้น ยับยั้งอยู่ไซร้. อธิบายว่า ไม่ให้มันยับยั้งอยู่ในภายในไซร้. เมื่อไม่ให้มันยับยั้งอยู่จะทำอย่างไร? ละไป ทิ้งไป ทิ้งไป เหมือนเทหยากเยื่อด้วยตะกร้าฉะนั้นหรือ? หามิได้. อีกอย่างหนึ่ง บรรเทา คือกำจัด ได้แก่นำออกไป นำออกไป (ไล่ไป) เหมือนนำโคพลิพัทธ์ออกไป ด้วยปฏักหรือ? หามิได้. โดยที่แท้แล้ว ทำให้สิ้นสูญไป คือทำให้ปราศจากที่สุด ได้แก่ทำกิเลสเหล่านั้น โดยวิธีที่แม้แต่ที่สุดของวิตกเหล่านั้นก็ไม่เหลืออยู่ โดยที่สุดแม้แต่เพียงความแตกหักไป. ก็เธอจะทำวิตกเหล่านั้น ให้เป็นอย่างนั้นได้อย่างไร? (ได้) ให้ถึงความไม่มี๑- คือให้ถึงความไม่มีในภายหลัง. มีอธิบายว่า ไม่กระทำโดยที่กามวิตกเป็นต้น ถูกข่มไว้แล้วอย่างสบายด้วยวิกขัมภนปหาน. ____________________________ ๑- ปาฐะว่า อนภาวํ เข้าใจว่าเป็น อภาวํ จึงได้แปลตามที่เข้าใจ. ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า เอวํภูโต มีเนื้อความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีอาสยกิเลสหมดจดดีแล้ว เพราะกามวิตกเป็นต้น ไม่จอดอยู่ (ในใจ) และชื่อว่าเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์แล้ว เพราะอาสยสมบัตินั้นด้วย เพราะประโยคสมบัติที่มีอาสยสมบัตินั้น เป็นนิมิตด้วย เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ เราตถาคตกล่าวว่า ชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรที่ยังกิเลสให้เร่าร้อน เพราะประกอบด้วยความเพียร มีลักษณะเผาลนกิเลสทั้งหลาย ด้วยอำนาจตทังคปหานเป็นต้น. ชื่อว่าเป็นผู้มีโอตตัปปะ เพราะประกอบด้วยความสะดุ้งต่อบาปโดยประการทั้งปวง. ชื่อว่าเป็นผู้ปรารภความเพียรแล้ว เพราะความสำเร็จแห่ง คำที่เหลือมีนัย ดังกล่าวมาแล้วนั่นแหละ พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายต่อไป. วัตถุกาม ตรัสเรียกว่าเคหะ ในคำว่า เคหนิสฺสิตํ นี้ เพราะผู้ครองเรือนทั้งหลายยังสละทิ้งไม่ได้ คือเพราะเป็นสภาพของผู้ครองเรือนทั้งหลาย หรือเพราะเป็น อีกอย่างหนึ่ง กามวิตกเป็นต้น ชื่อว่า เคหนิสสิตะ เพราะเป็นสถานที่อาศัยอยู่ หรือเป็นที่ตั้งของกิเลสกามทั้งหลาย โดยที่เป็นสิ่งผูกพันอยู่กับเรือน. บทว่า กุมฺมคฺคํ ปฏิปนฺโน ความว่า เพราะเหตุที่อภิชฌาเป็นต้น และธรรมที่ตั้งอยู่ในที่เดียวกันกับอภิชฌาเป็นต้น เป็นทางที่ต่ำช้า เพราะนอกทางของอริยมรรค ฉะนั้น บุคคลผู้มากด้วยกามวิตก ชื่อว่าดำเนินไปสู่ทางต่ำช้า. บทว่า โมหเนยฺเยสุ มุจฺฉิโต ความว่า สยบ คือมัวเมา ได้แก่หมกมุ่นอยู่แล้วในรูปเป็นต้นที่เป็นไปพร้อมเพื่อโมหะ. บทว่า สมฺโพธึ ได้แก่ อริยมรรคญาณ. บทว่า ผุฏฺฐุํ ได้สัมผัส คือถึงแล้ว. อธิบายว่า ผู้เช่นนั้นนั้นมีความดำริผิดเป็นโคจร แต่ไหนแต่ไรมา จะไม่บรรลุธรรมเป็นที่สงบวิตกนั้น. บทว่า วิตกฺกํ สมยิตฺวาน ความว่า ระงับมิจฉาวิตกตามที่กล่าวแล้ว ด้วยกำลังแห่งภาวนามีปฏิสังขานะเป็นอารมณ์. บทว่า วิตกฺกูปสเม รโต ความว่า ยินดีแล้ว คือยินดีเฉพาะแล้ว โดยอัธยาศัยในอรหัตผล หรือพระนิพพานนั่นเอง ที่เป็นธรรมระงับมหาวิตกทั้ง ๘ ประการ. บทว่า ภพฺโพ โส ตาทิโส ความว่า บุคคลปฏิบัติชอบอยู่ ตามที่กล่าวมาแล้วนั้น ระงับวิตกทุกอย่างได้ด้วยกำลังแห่งสมถะและวิปัสสนา ในส่วนเบื้องต้น โดยอำนาจของตทังคปหานเป็นต้นตามสมควร ดำรงอยู่ ครั้นเลื่อนวิปัสสนาให้สูงขึ้นไปแล้วจะเป็นผู้ควร คือสามารถเพื่อสัมผัส คือบรรลุสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม กล่าวคืออรหัตมรรคญาณ และกล่าวคือพระนิพพาน ตามลำดับแห่งมรรค ดังนี้แล. จบอรรถกถาจรสูตรที่ ๑๑ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ จตุกกนิบาต จรสูตร จบ. |