บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] ๑. เรื่องภิกษุ ๕๐๐ รูป [๒๐๔] ข้อความเบื้องต้น พวกภิกษุพูดถึงทางที่ตนเที่ยวไป อริยมรรคเป็นทางให้พ้นทุกข์ ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ทางที่พวกเธอพูดถึงนี้ เป็นทางภายนอก ธรรมดาภิกษุทำกรรมในอริยมรรค จึงควร (ด้วยว่า) ภิกษุเมื่อทำอย่างนั้น ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้" ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
๑- อรรถกถาว่า มารเสนปิปโมหนํ. แก้อรรถ บาทพระคาถาว่า สจฺจานํ จตุโร ปทา ความว่า บรรดาสัจจะเหล่านี้แม้ทั้งหมด จงเป็นวจีสัจจะอันมาแล้ว (ในพระบาลี) ว่า "บุคคล เป็นสมมติสัจจะอันต่างโดยสัจจะเป็นต้นว่า "เป็นพราหมณ์จริง เป็นกษัตริย์จริง" ก็ตาม, เป็นทิฏฐิสัจจะ (โดยนัย) ว่า๑- "สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า" เป็นต้นก็ตาม, เป็นปรมัตถสัจจะ อันต่างโดยสัจจะเป็นต้นว่า "ทุกข์เป็นความจริงอันประเสริฐ" ก็ตาม, บท ๔ มีบทว่า "ทุกข์ เป็นความจริงอันประเสริฐ" เป็นต้น ชื่อว่าประเสริฐ เพราะอรรถว่าทุกข์ อันโยคาวจรควรกำหนดรู้ เพราะอรรถว่าสมุทัย อันโยคาวจรควรละ เพราะอรรถว่านิโรธ อันโยคาวจรควรทำให้แจ้ง เพราะอรรถว่ามรรคมีองค์ ๘ อันโยคาวจรควรเจริญ เพราะอรรถว่าแทงตลอดได้ด้วยญาณอันเดียว๒- และ เพราะอรรถว่าแทงตลอดได้โดยแน่นอน. บาทพระคาถาว่า วิราโค เสฏฺโฐ ธมฺมานํ ความว่า บรรดาธรรมทั้งปวง วิราคะกล่าวคือพระนิพพาน ชื่อว่าประเสริฐ เพราะพระพุทธพจน์ว่า๓- "ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่ปัจจัยปรุงแต่งก็ดี ที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งก็ดี มีประมาณเพียงไร บรรดาธรรมเหล่านั้นวิราคะเรากล่าวว่า เป็นยอด." ____________________________ ๑- อัง. ทสก. เล่ม ๒๔/ข้อ ๙๖. ๒- แปลว่า เพราะอรรถว่า แทงตลอดได้ในขณะเดียวกัน ก็มี. ๓- ขุ. อิติ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๒๗๐ บาทพระคาถาว่า ทิปทานญฺจ จกฺขุมา ความว่า บรรดาสัตว์ ๒ เท้า อันต่างโดยเทวดาและมนุษย์เป็นต้นแม้ทั้งหมด พระตถาคตผู้มีจักษุ#- ๕ ประการเท่านั้น ประเสริฐ. จ ศัพท์ มีอันประมวลมาเป็นอรรถ ย่อมประมวลเอาอรูปธรรมทั้งหลายด้วย เพราะฉะนั้น แม้บรรดาอรูปธรรมทั้งหลาย พระตถาคตก็เป็นผู้ประเสริฐ คือสูงสุด. ____________________________ #- มังสจักขุ จักษุคือดวงตา ๑ ทิพพจักขุ จักษุทิพย์ ๑ ปัญญาจักขุ จักษุคือปัญญา ๑ พุทธ บาทพระคาถาว่า ทสฺสนสฺส วิสุทฺธิยา ความว่า ทางใดที่เรา (ตถาคต) กล่าวว่า "ประเสริฐ" ทางนั่นเท่านั้นเพื่อความหมดจดแห่งทัสสนะคือมรรคและผล ทางอื่นย่อมไม่มี. บทว่า เอตํ หิ ความว่า เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายจงดำเนินทางนั้น นั่นแหละ. ก็บทว่า มารเสนปฺปโมหนํ นั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสว่า "เป็นที่หลงแห่งมาร คือเป็นที่ลวงแห่งมาร." บทว่า ทุกฺขสฺส ความว่า ท่านทั้งหลายจักทำที่สุด คือเขตแดนแห่งความทุกข์ในวัฏฏะแม้ทั้งสิ้นได้. บทว่า สลฺลสตฺถนํ เป็นต้น ความว่า เราเว้นจากกิจทั้งหลาย มีการได้ฟัง (จากผู้อื่น) เป็นต้น ทราบทางนั่นอันเป็นที่สลัดออก คือย่ำยี ได้แก่ถอนออกซึ่งลูกศรทั้งหลาย มีลูกศรคือราคะเป็นต้น โดยประจักษ์แก่ตนแล้วทีเดียว จึงบอกทางนี้ บัดนี้ ท่านทั้งหลายพึงทำ ได้แก่ควรทำความเพียรคือสัมมัปปธาน อันถึงซึ่งการนับว่าอาตัปปะ เพราะเป็นเครื่องเผากิเลสทั้งหลาย เพื่อประโยชน์แก่การบรรลุทางนั้น เพราะพระตถาคตทั้งหลายเป็นแต่ผู้บอกอย่างเดียว เพราะฉะนั้น ชนทั้งหลายผู้ปฏิบัติแล้ว ด้วยสามารถแห่งทางที่พระตถาคตเจ้าเหล่านั้นตรัสบอกแล้ว มีปกติเพ่งด้วยฌานสองอย่าง ย่อมหลุดพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร กล่าวคือวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิสาม. ในเวลาจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้นดำรงอยู่แล้วในพระอรหัตผล. พระธรรมเทศนาได้สำเร็จประโยชน์แม้แก่บุคคลผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล. เรื่องภิกษุ ๕๐๐ รูป จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท มรรควรรคที่ ๒๐ |