บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] หน้าต่างที่ ๔ / ๑๐. ข้อความเบื้องต้น ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "วาจานุรกฺขี" เป็นต้น. พระมหาโมคคัลลานเถระเห็นเปรต ลำดับนั้น พระลักขณเถระถามความนั้นกะท่าน. ท่านกล่าวว่า "ผู้มีอายุ ผมได้เห็นเปรตตนหนึ่ง สรีระของมันประมาณ ๓ คาวุต สรีระนั้นคล้ายสรีระของมนุษย์ ส่วนศีรษะของมันเหมือนศีรษะของสุกร หางของมันเกิดที่ปาก หมู่ พระศาสดาตรัสรับรอง ภิกษุทั้งหลายฟังเรื่องนี้แล้ว ทูลถามพระศาสดาว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ พระศาสดาตรัสว่า "ถ้าอย่างนั้น พวกเธอจงฟังเถิด ภิกษุทั้งหลาย" แล้วทรงนำ บุรพกรรมของสูกรเปรต เมื่อพระเถระทั้งสองนั้นอยู่พร้อมเพรียงกัน ดุจพี่น้องที่อยู่ในท้องมารดาเดียวกัน, พระ พระเถระทั้งสองสงเคราะห์พระธรรมกถึกแล้วพูดว่า "ท่านสัตบุรุษ ขอท่าน รุ่งขึ้นพาท่านเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านใกล้เคียง ทำภัตกิจเสร็จในบ้านนั้นแล้ว กล่าวว่า "ท่านผู้มีอายุ ขอท่านจงกล่าวธรรม พระธรรมกถึกคิดว่า "พระเถระสองรูปนี้ เป็นผู้อ่อนโยนยิ่งนัก การที่เราให้พระแม้ ในตอนเย็นท่านไปสู่ที่บำรุงของพระเถระในเวลาที่ภิกษุทั้งสองลุกไปแล้ว กลับเข้าไปหาพระมหาเถระแล้วพูดว่า "ท่านผู้เจริญ เรื่องบางอย่างที่ผมควรพูดมีอยู่" เมื่อพระมหาเถระกล่าวว่า "จงพูดเถิด ผู้มีอายุ" คิดหน่อยหนึ่งแล้วพูดว่า "ท่านผู้เจริญ ขึ้นชื่อว่าการพูดมีโทษมาก" ไม่พูดอะไร แล้วหลีกไป. พระธรรมกถึกนั้นไปสู่สำนักแม้ของพระอนุเถระก็ได้ทำอย่างนั้นเหมือนกัน. ในวันที่ ๒ ท่านก็ทำอย่างนั้นเหมือนกัน. ในวันที่ ๓ เมื่อความรวนเรอย่างยิ่งเกิดแก่พระเถระทั้งสองนั้นแล้ว เข้าไปหาพระมหาเถระแล้วพูดว่า "ท่านผู้เจริญ คำบางอย่างที่ผมควรจะพูดมีอยู่ แต่ผมไม่อาจพูดในสำนักของท่านได้." ถูกพระเถระรบเร้าว่า "ไม่เป็นไร คุณ, จงพูดเถิด" จึงกล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ ก็ทำไม พระอนุเถระจึงไม่ถูกกับท่าน?" พระมหาเถระ. ท่านสัตบุรุษ ท่านพูดอะไรนั่น, ผมทั้งสองเป็นเหมือนบุตรผู้อยู่ในท้องมารดาเดียวกัน, ในผมทั้งสองรูป รูปหนึ่งได้สิ่งของแล้ว รูปแม้นอกนี้ก็เป็นอันได้เหมือนกัน, โทษของพระเถระนั่นอันผมเคยเห็น ย่อมไม่มี ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้. พระธรรมกถึก. อย่างนั้นหรือ? ท่านผู้เจริญ. พระมหาเถระ. อย่างนั้น คุณ. พระธรรมกถึก. ท่านผู้เจริญ พระอนุเถระพูดกะผมอย่างนี้ว่า "ท่านสัตบุรุษ ท่านเป็นกุลบุตร ท่านทำการคบหากับพระมหาเถระนั่น ด้วยทำในใจว่า "พระมหาเถระนี้ มีความละอาย มีศีลเป็นที่รัก, ควรพิจารณาแล้วจึงทำ" ตั้งแต่วันที่ผมมาถึง พระอนุเถระนั่นพูดกะผมอย่างนี้. พระมหาเถระพอได้ฟังคำนั้น ก็มีใจโกรธแค้น แตกแล้ว ดุจภาชนะที่เขาทำด้วยดิน อันบุคคลตีด้วยไม้ฉะนั้น. พระธรรมกถึกแม้นอกนี้ ลุกไปสำนักของพระอนุเถระ แล้วได้พูดเหมือนอย่างนั้น. แม้พระอนุเถระก็ได้แตกอย่างนั้นเหมือนกัน. ในพระเถระสองรูปนั้น แม้รูปหนึ่ง ชื่อว่าเคยแยกกันเข้าไปบิณฑบาต ย่อมไม่มี ตลอดกาลเท่านี้ แม้ก็จริง ถึงดังนั้น ในวันรุ่งขึ้น พระเถระทั้งสองได้แยกกันเข้าไปบิณฑบาต. พระอนุเถระมาถึงก่อนแล้ว ได้ยืนอยู่ที่ศาลาเป็นที่บำรุง พระมหาเถระได้มาถึงในภายหลัง. พระอนุเถระเห็นท่านแล้ว จึงคิดว่า "เราควรรับบาตรและจีวรของพระเถระนี้หรือไม่หนอ?" ท่านแม้คิดว่า "บัดนี้ เราจักไม่รับ" ดังนี้แล้ว ก็ยังทำจิตให้อ่อนได้ ด้วยทำในใจว่า "ช่างเถิด กรรมเห็นปานนี้ อันเราไม่เคยทำ การที่เรายังวัตรของตนให้เสียไป ไม่สมควร" ดังนี้แล้ว เข้าไปหาพระเถระ กล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ ท่านจงให้บาตรและจีวร." พระมหาเถระนอกนี้ ชี้นิ้วตวาดว่า "จงไป คนหัวดื้อ คุณไม่ควรจะรับบาตรและจีวรของฉัน" เมื่อพระอนุเถระนั้นกล่าวว่า "จริงละขอรับ ถึงผมก็คิดแล้วว่า "จักไม่รับบาตรและจีวรของท่าน" กล่าวว่า "ท่านผู้มีอายุผู้ใหม่ ทำไมท่านจึงคิดว่า "ความเกี่ยวข้องอะไรๆ ในวิหารนี้ของเรามีอยู่?" แม้พระอนุเถระนอกนี้ก็กล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ ก็ทำไมท่านจึงสำคัญอย่างนี้ว่า ความเกี่ยวข้องอะไรๆ ในวิหารนี้ของเรา มีอยู่?" นี้เป็นวิหารของท่าน แล้วถือบาตรและจีวรออกไป. ถึงพระมหาเถระนอกนี้ก็ได้ออกไป (เหมือนกัน). พระเถระทั้งสองนั้น ไม่ไปแม้โดยหนทางเดียวกัน, รูปหนึ่งถือเอาหนทางโดยประตู ในวันรุ่งขึ้น พระธรรมกถึกนั้นเข้าไปบ้านใกล้เคียง เมื่อพวกมนุษย์กล่าวว่า "ท่านผู้เจริญทั้งสองไปไหน? ขอรับ" กล่าวตอบว่า "คุณ อย่าถามเลย พระผู้เป็นเจ้าผู้เข้าถึงสกุลของพวกท่าน วานนี้ทำการทะเลาะกันแล้วออกไป, ฉันแม้ขอร้องอยู่ก็ไม่สามารถจะให้กลับได้." ในคนเหล่านั้น คนที่โง่เขลาได้นิ่งเสีย ส่วนคนที่ฉลาดคิดว่า "ชื่อว่าความพลั้งพลาดอะไรๆ ของผู้เจริญทั้งสอง เราทั้งหลายไม่เคยเห็นสิ้นกาลประมาณเพียงนี้ ภัยเมื่อเกิดขึ้นแก่พระผู้เป็นเจ้าทั้งสองนั้น คงเกิดขึ้นเพราะอาศัยพระธรรมกถึกรูปนี้" แล้วได้เป็นผู้ถึงความเสียใจ. พระมหาเถระแม้เหล่านั้น ไม่ได้ความสบายจิตในที่ไปแล้ว. พระมหาเถระคิดว่า "โอ! กรรมของภิกษุใหม่หนัก (เพราะ) เธอได้พูดกะภิกษุผู้จรมา ที่ตนเห็นแล้วครู่เดียวว่า "ท่านอย่าได้ทำการคบหากับพระมหาเถระ." ถึงพระอนุเถระนอกนี้ก็ได้คิดว่า "โอ! กรรมของพระมหาเถระหนัก (เพราะ) ท่านได้พูดกะผู้จรมา อันตนเห็นแล้วเพียงครู่เดียวว่า "อย่าได้คบหากับพระอนุเถระนี้." การสาธยายและการทำไว้ในใจมิได้มีแล้วแก่พระเถระทั้งสองนั้น. โดยล่วงไป ๑๐๐ ปี พระเถระทั้งสองนั้นได้ไปสู่วิหารแห่งเดียวกันในปัจฉิมทิศ. เสนาสนะอันเดียวกันนั่นแล ได้ถึงแก่พระเถระทั้งสองนั้น. เมื่อพระมหาเถระเข้าไปนั่งบนเตียงแล้ว แม้พระอนุเถระนอกนี้ก็ได้เข้าไป. พระมหาเถระพอเห็นพระอนุเถระนั้นก็จำได้ ไม่สามารถจะอดกลั้นน้ำตาไว้ได้. ถึงพระอนุเถระนอกนี้ ก็จำพระมหาเถระได้ มีนัยน์ตาอันเต็มแล้วด้วยน้ำตา คิดว่า "เราจะพูดหรือไม่พูดหนอแล?" แล้วคิดว่า "ข้อนั้นไม่ควรเชื่อ" แล้วไหว้พระเถระ กล่าวว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ผมถือ พระมหาเถระ. ไม่เคยเห็น ผู้มีอายุ. พระอนุเถระ. เมื่อเป็นเช่นนั้น ทำไมท่านจึงได้พูดกะพระธรรมกถึกว่า "อย่าได้ทำการคบหากับพระอนุเถระนั่น?" พระมหาเถระ. ผู้มีอายุ ผมหาพูดอย่างนั้นไม่ นัยว่า ท่านพูดอย่างนี้ในระหว่างของเรา. พระอนุเถระ. ท่านผู้เจริญ แม้ผมก็มิได้พูด. ในขณะนั้น พระเถระทั้งสองนั้นก็ทราบได้ว่า "พระธรรมกถึกนั้นจักใคร่ทำลายเราทั้งสอง จึงพูดอย่างนั้น" แล้วยังกันและกันให้แสดงโทษแล้ว. พระเถระทั้งสองนั้นไม่ได้ความสบายใจตลอด ๑๐๐ ปี เป็นผู้พร้อมเพรียงกันในวันนั้น ชวนกันว่า "มาเถิด เราจักคร่าพระธรรมกถึกนั้นออกจากวิหารนั้น" แล้วหลีกไป ได้ถึงวิหารนั้นโดยลำดับ. แม้พระธรรมกถึกก็เห็นพระเถระทั้งสองแล้ว เข้าไปใกล้ เพื่อรับบาตรและจีวร. พระเถระทั้งสองชี้นิ้วพูดว่า "ท่านไม่ควรจะอยู่ในวิหารนี้ (ต่อไป)." พระธรรมกถึกนั้นไม่ ครั้งนั้น สมณธรรมที่เธอบำเพ็ญแล้วสิ้นสองหมื่นปี มิได้อาจเพื่อจะทรงเธอไว้ได้. เธอเคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้วเกิดในอเวจี ไหม้อยู่สิ้นพุทธันดรหนึ่ง มีอัตภาพมีประการดังกล่าวแล้ว เสวยทุกข์อยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏในบัดนี้. พระศาสดาตรัสพระธรรมเทศนา แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :-
แก้อรรถ ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลายมีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล. ____________________________ #- วจีทุจริต ๔ คือ ๑. พูดเท็จ ๒. พูดคำหยาบ ๓. พูดส่อเสียด ๔. พูดเพ้อเจ้อ คือตัดเสียซึ่งประโยชน์ตนและคนอื่น. เรื่องสูกรเปรต จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท มรรควรรคที่ ๒๐ |