บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] หน้าต่างที่ ๓ / ๙. ข้อความเบื้องต้น ภิกษุละเลยสมณกิจ สมจริงตามที่พระอุบาลีเถระกล่าวไว้ว่า "ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุนครภัททิยะ ตามประกอบความเพียรในการประดับเขียงเท้าชนิดต่างๆ กันอยู่, ทำเองบ้าง ให้คนอื่นทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าหญ้าธรรมดา ทำเองบ้าง ให้คนอื่นทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าหญ้าปล้อง เขียงเท้าหญ้ามุงกระต่าย เขียงเท้าต้นเป้ง เขียงเท้าผ้ากัมพล, ย่อมละทิ้งอุทเทส (ศึกษาเล่าเรียนธรรมวินัย) ปริปุจฉา (การไต่ถาม) อธิ ภิกษุทั้งหลายตำหนิโทษความที่ทำเช่นนั้นของภิกษุเหล่านั้น จึงกราบทูลแด่พระศาสดา." พระศาสดาทรงตำหนิโทษแล้วเทศนา เมื่อจะทรงแสดงธรรม ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
____________________________ ๑- ม. กรียติ ฯ ๒- อาสวะมี ๔ คือ กามาสวะ อาสวะคือกาม ๑ ภวาสวะ อาสวะคือภพ ๑ ทิฏฐาสวะ อาสวะคือความเห็นผิด ๑ อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา ๑. แก้อรรถ บทว่า อกิจฺจํ เป็นต้น ความว่า ก็การประดับร่ม การประดับรองเท้า การประดับเขียงเท้า บาตร โอ ธมกรก ประคดเอว อังสะ ชื่อว่าเป็นกิจไม่ควรทำของภิกษุ. อธิบายว่า ภิกษุเหล่าใดทำสิ่งนั้น อาสวะทั้ง ๔ ย่อมเจริญแก่ภิกษุเหล่านั้น ผู้ชื่อว่ามีมานะประดุจไม้อ้ออันยกขึ้นแล้ว เพราะการยกมานะเพียงดังไม้อ้อเที่ยวไป ชื่อว่าประมาทแล้ว เพราะปล่อยสติ. บทว่า สุสมารทฺธา ได้แก่ ประคองไว้ดีแล้ว. สองบทว่า กายคตา สติ ได้แก่ ภาวนาอันเป็นเครื่องตามเห็นกาย. บทว่า อกิจฺจํ ความว่า ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่เสพ คือไม่ทำสิ่งที่ไม่ควรทำนั่น มีการประดับร่มเป็นต้น. บทว่า กิจฺเจ ความว่า ในสิ่งอันตนพึงทำ คือในกรณียะ มีการคุ้มครองศีลขันธ์อันหาประมาณมิได้เป็นต้น จำเดิมแต่กาลบวชแล้ว. บทว่า สาตจฺจการิโน ได้แก่ มีปกติทำเนืองๆ คือทำไม่หยุด. อธิบายว่า อาสวะแม้ทั้ง ๔ ของภิกษุเหล่านั้น ผู้ชื่อว่ามีสติ เพราะไม่อยู่ปราศจากสติ ผู้ชื่อว่ามีสัมปชัญญะ เพราะสัมปชัญญะ ๔ อย่าง คือ "สาตถกสัมปชัญญะ สัปปายสัมปชัญญะ โคจรสัมปชัญญะ อสัมโมหสัมปชัญญะ" ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ คือถึงความสิ้นไป ได้แก่ไม่มี. ในกาลจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้นตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว. เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่บุคคลที่ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล. เรื่องภิกษุชาวนครภัททิยะ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปกิณณกวรรคที่ ๒๑ |