บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [๑] [๒] (อรรถกถาสุตตนิบาต ภาค ๒) จูฬวรรคที่ ๒ อรรถกถารตนสูตรที่ ๑ พระสูตรนี้ มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร. พระสูตรนี้ มีเหตุเกิดขึ้นดังต่อไปนี้. ดังได้สดับมา ในอดีตกาล อุปัทวะทั้งหลายมีทุพภิกขภัยเป็นต้นเกิดขึ้นแล้วในเมืองเวสาลี เจ้าลิจฉวีทั้งหลายได้เสด็จไปยังเมืองราชคฤห์ ทูลขอนำพระผู้มีพระภาคเจ้ามายังเมืองเวสาลี เพื่อให้ภัยเหล่านั้นสงบ. พระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งเจ้าลิจฉวีทรงนิมนต์มาแล้วอย่างนี้ ได้ตรัสพระสูตรนี้ (รตนสูตร) เพื่อให้อุปัทวะทั้งหลายเหล่านั้นสงบ. นี้คือใจความสังเขปในรตนสูตรนั้น. แต่พระโบราณาจารย์ทั้งหลายได้พรรณนาถึงการเกิดขึ้นแห่งพระสูตรนั้น จำเดิมแต่เรื่องเมืองเวสาลี พึงทราบเหตุเกิดขึ้นแห่งรตนสูตรนั้นดังต่อไปนี้ :- ดังได้สดับมา ครรภ์ตั้งขึ้นแล้วในท้องแห่งอัครมเหสีของพระราชาในเมืองพาราณสี พระนางทรงทราบการที่พระครรภ์ตั้งขึ้นนั้นแล้ว จึงได้กราบทูลแด่พระราชา พระราชาก็ได้ทรงพระราชทานการบริหารพระครรภ์ พระนางซึ่งมีพระครรภ์อันชนทั้งหลายบริหารอยู่โดยชอบ ในเวลาที่พระครรภ์แก่ ก็ได้เสด็จไปยังเรือนประสูติ หญิงผู้มีบุญทั้งหลายย่อมคลอดบุตรในเวลาใกล้รุ่ง ก็พระนางเป็นหญิงผู้หนึ่งในบรรดาหญิงผู้มีบุญเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ในเวลาใกล้รุ่งพระนางจึงประสูติชิ้นเนื้อชิ้นหนึ่งเช่นกับครั่งสดและดอกชบา. ต่อจากนั้น พระอัครมเหสีทรงดำริว่า ความเสื่อม ก็โดยสมัยนั้น ดาบสตนหนึ่งอาศัยสกุลนายโคบาลอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคา ดาบสนั้นก้าวลงสู่แม่น้ำคงคาแต่เช้าตรู่ ได้เห็นภาชนะนั้นกำลังลอยมา ได้ถือเอาแล้ว ต่อมาโดยกาลล่วงไปได้กึ่งเดือน ชิ้นเนื้อก็เกิดเป็น ๒ ชิ้น ดาบสเห็นชิ้นเนื้อนั้นแล้วก็ตั้งไว้ให้ดีขึ้นอีกกว่าเดิม ต่อจากนั้นโดยกาลล่วงไปได้ครึ่งเดือนอีก ชิ้นเนื้อชิ้นหนึ่งๆ ก็เกิดมีปุ่มขึ้นชิ้นละ ๕ ปุ่มเพื่อประโยชน์แก่มือเท้าและศีรษะ ดาบสเห็นแล้วก็ตั้งไว้ให้ดียิ่งขึ้นอีก ต่อแต่นั้นโดยกาลล่วงไปได้ครึ่งเดือน ชิ้นเนื้อชิ้นหนึ่งก็เกิดเป็นทารก เช่นกับด้วยแท่งทอง ชิ้นเนื้ออีกชิ้นหนึ่งก็เกิดเป็นทาริกา เช่นกับแท่งทอง. พระฤาษีเกิดความสิเน่หาเพียงดังบุตรในเด็กทั้งสองนั้น ก็น้ำนมได้เกิดขึ้นจากหัวแม่มือของดาบส. จำเดิมแต่นั้นมา เมื่อใดดาบสได้น้ำนมและภัต เมื่อนั้นท่านก็ฉันภัตนั้น แล้วใส่น้ำนมลงในปากของทารกทั้งสอง สิ่งใดๆ เข้าไปในท้องของเด็กทั้งสองนั้น สิ่งนั้นทั้งหมดย่อมปรากฏราวกะว่า วางอยู่ในภาชนะแก้วมณีฉะนั้น เด็กทั้งสองนั้นเป็นผู้ไม่มีผิว ได้มีด้วยอาการอย่างนี้. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ผิวของเด็กทั้งสองนั้นแนบสนิทกันและกัน ประดุจเย็บตั้งไว้ฉะนั้น เด็กทั้งสองนั้นจึงปรากฏชื่อว่า ลิจฉวี เพราะเหตุที่เป็นผู้ไม่มีผิว หรือเพราะเหตุที่ว่ามีผิวแนบสนิท ด้วยประการฉะนี้. พระดาบสเลี้ยงทารกทั้งสองอยู่ เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาตในเวลาสาย กลับมาในเวลาสายยิ่ง พวกนายโคบาลทราบถึงความขวนขวายนั้นของดาบสนั้นแล้ว จึงเรียนว่า ท่านผู้เจริญ การเลี้ยงเด็กเป็นความกังวลของบรรพชิตทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงให้เด็กทั้งสองแก่พวกกระผม พวกกระผมจักเลี้ยงเสียเอง ท่านจงได้กระทำสมณธรรมของตนเถิด. ดาบสรับว่า ดีละ. นายโคบาลทั้งหลายได้ทำทางให้สม่ำเสมอในวันที่สอง โปรยดอกไม้ ให้ยกธงชัยและธงปฏาก ไปยังอาศรมด้วยทั้งดนตรีทั้งหลายที่ประโคมอยู่. ดาบสกล่าวว่า เด็กทั้งสองเป็นผู้มีบุญมาก ขอให้พวกท่านจงเลี้ยงให้เจริญ ด้วยการเอาใจใส่จริงๆ ก็ครั้นเลี้ยงให้เจริญแล้ว จงทำอาวาหะและวิวาหะกะกันและกัน พวกท่านทำให้พระราชาทรงพอพระทัย (ด้วยการถวาย) ปัญจโครสแล้วจงถือเอาภูมิภาค พากันสร้างนคร จงอภิเษกพระกุมารไว้ในพระนครดังนี้แล้ว จึงได้มอบทารกทั้งสอง (แก่พวกโคบาล). พวกโคบาลเหล่านั้นรับคำว่า สาธุ ดังนี้แล้ว นำทารกทั้งสองไปเลี้ยงไว้ เด็กทั้งสองเจริญวัยขึ้นแล้วเล่นอยู่ ได้ใช้มือบ้าง เท้าบ้าง ประหารพวกเด็กของนายโคบาลเหล่าอื่นในที่ทะเลาะกันทั้งหลาย พวกเด็กเหล่านั้นก็ร้องไห้ ครั้นถูกมารดาและบิดาถามว่าร้องไห้ทำไม ก็ตอบว่า เด็กสองคนที่ไม่มีพ่อไม่มีแม่ที่ดาบสเลี้ยงไว้ ตีพวกข้าพเจ้า. ลำดับนั้น มารดาบิดาของเด็กเหล่านั้นจึงกล่าวว่า เด็ก ๒ คนนี้เบียดเบียนเด็กเหล่าอื่น ทำให้เด็กเหล่าอื่นได้รับความทุกข์ พวกเราไม่ควรสงเคราะห์เด็ก ๒ คนนี้ๆ พวกเราควรเว้นเสีย. เล่ากันมาว่านับตั้งแต่นั้นมา ดินแดนแห่งนี้จึงเรียกกันว่า "วัชชี" ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ ๑๐๐ โยชน์. ต่อแต่นั้น นายโคบาลทั้งหลายทำให้พระราชาทรงโปรดปรานแล้ว ก็ได้ถือเอาพื้นที่แห่งนั้น. พวกนายโคบาลสร้างนครขึ้น ณ สถานที่นั้นนั่นเอง แล้วอภิเษกพระกุมารซึ่งมีชันษา ๑๖ ยกให้เป็นพระราชา และพวกนายโคบาลได้ทำกติกาข้อห้ามเกี่ยวกับทาริกาและพระราชานั้นไว้ว่า จะไม่พึงนำทาริกามาแต่ภายนอก ไม่พึงให้ทาริกาจากที่นี้แก่ใครๆ. เพราะการอยู่ร่วมกันเป็นครั้งแรกของพระราชาและพระราชินีนั้น ก็เกิดทารกขึ้น ๒ คนเป็นหญิง ๑ ชาย ๑ ทารกเกิดครั้งละ ๒ คน อย่างนี้ถึง ๑๖ ครั้ง. ต่อจากนั้น ชนทั้งหลายได้ล้อมพระนครแห่งนั้นเพื่อให้เด็กเหล่านั้นซึ่งเจริญขึ้นเป็นลำดับ ถือเอาสวนอุทยานเป็นที่รื่นรมย์ ที่อยู่ บริวารและสมบัติด้วยกำแพง ๓ ชั้นซึ่งห่างกันชั้นละ ๓ คาวุต เพราะเหตุที่นครแห่งนั้นต้องทำให้ขยายออกบ่อยๆ จึงได้ชื่อว่า เวสาลี. นี้คือเรื่องเมืองเวสาลี. แต่เมืองเวสาลีนี้ ในสมัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้ว เป็นเมืองที่มั่งคั่งไพบูลย์ ก็ในเมืองเวสาลีนั้นมีพระราชาถึง ๗,๗๐๗ พระองค์ ถึงแม้พระยุพราช เสนาบดีและขุนคลังเป็นต้นก็มีจำนวนเท่านั้นเหมือนกัน. สมดังที่พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า ก็โดยสมัยนั้นแล เมืองเวสาลีเป็นเมืองมั่งคั่ง กว้างขวาง มีคนมาก มีมนุษย์เกลื่อนกล่น มีภิกษาหาได้ง่าย มีปราสาท ๗,๗๐๗ หลัง มีเรือนยอด ๗,๗๐๗ หลัง มีสวน ๗,๗๐๗ แห่ง มีสระโบกขรณี ๗,๗๐๗ สระ.๑- ____________________________ ๑- พระวินัยมหาวรรค จีวรขันธกะ เล่ม ๕/ข้อ ๑๒๘ โดยสมัยอื่นมีภิกษาหาได้ยาก ฝนแล้ง ข้าวกล้าเสียหาย ครั้งแรกคนยากจนตายก่อน คนทั้งหลายทิ้งซากศพของคนเข็ญใจเหล่านั้นไว้นอกเมือง เพราะกลิ่นซากศพของคนที่ตายทั้งหลาย พวกอมนุษย์ทั้งหลายก็เข้าเมือง ต่อแต่นั้นคนก็ตายมากต่อมาก เพราะความปฏิกูลนั้น อหิวาตกโรคย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลาย เมื่อเมืองเวสาลีถูก พระราชารับสั่งให้ประชุมชนทั้งปวงประชุมกันที่สัณฐาคาร แล้วจึงตรัสว่า ขอให้พวก ต่อแต่นั้น ประชาชนเมื่อไม่เห็นความผิดของพระราชา จึงพากันคิดว่า ภัยนี้จะพึงสงบได้อย่างไร. ในบรรดาคนเหล่านั้น คนบางพวกเสนอว่า ถ้าว่าครูทั้ง ๖ ได้ปรากฏแล้ว ภัยก็จักสงบ ในเมื่อครูทั้ง ๖ เหล่านี้พอสักว่าก้าวลง (ยังเมืองเวสาลีเท่านั้น). คนบางพวกเสนอว่า ได้ยินว่าพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงแสดงธรรมเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวง พระองค์มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ในเมื่อพระองค์สักว่าทรงก้าวลง (ยังเมืองเวสาลี) ภัยทั้งปวงก็พึงสงบลงได้ เพราะเหตุนั้น คนเหล่านั้นจึงพอใจกล่าวว่า บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นประทับอยู่ ณ ที่ไหน เมื่อพวกเราส่งข่าวสารเชิญเสด็จแล้ว พระองค์จะพึงเสด็จมาหรือ. ลำดับนั้นคนอีกพวกหนึ่งพูดขึ้นว่า ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้เอ็นดู (ต่อ เจ้าลิจฉวี ๒ พระองค์ได้ถวายเครื่องบรรณาการเป็นอันมากพร้อมด้วยพลนิกายหมู่ใหญ่ ส่งไปยังสำนักพระราชาว่า ขอพวกท่านจงให้พระเจ้าพิมพิสารอนุญาตแล้ว จงนำเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ามา. ชนเหล่านั้นไปแล้วถวายเครื่องบรรณาการแด่พระราชาแล้ว ชี้แจงให้พระองค์ทรงทราบความเป็นไปนั้นแล้วทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงส่งพระผู้มีพระภาคเจ้าไปยังนครของพวกข้าพระองค์. พระราชาไม่ทรงรับแต่ตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงรู้เอาเอง. ชนเหล่านั้นกราบทูลว่า ดีละ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว ทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภัย ๓ ประการเกิดขึ้นแล้วในนครของพวกข้าพระองค์ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาไซร้ ความสวัสดีก็จะพึงมีแก่พวกข้าพระองค์. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาแล้ว จึงทรงรับด้วยทรงทราบชัดว่า เมื่อเราแสดงรัตนสูตรในเมืองเวสาลีแล้ว อารักขาจะแผ่ไปตลอดแสนโกฏิจักรวาล ในเวลาจบพระสูตร ธรรมาภิสมัยจักมีแก่สัตว์ ๘๔,๐๐๐. ลำดับนั้น พระเจ้าพิมพิสารทรงสดับว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับแล้ว ก็รับสั่งให้ป่าวประกาศไปในพระนครว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับการนิมนต์เสด็จไปยังเมืองเวสาลีแล้ว จึงได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงรับการเสด็จไปเมืองเวสาลีหรือ? พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร. พระเจ้าพิมพิสารกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอพระองค์จงทรงประทับรอจนกว่าหม่อมฉันจะตระเตรียมหนทางเสด็จเรียบร้อย. ครั้งนั้นแล พระเจ้าพิมพิสารทรงกระทำพื้นที่ประมาณ ๕ โยชน์ในระหว่างเมืองราช พระผู้มีพระภาคเจ้าอันภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปแวดล้อม เสด็จไปแล้ว พระราชารับสั่งให้โปรยดอกไม้ ๕ สีตลอดหนทาง ๕ โยชน์ถึงแค่เข่า รับสั่งให้ยกธงชัย ธงแผ่นผ้า ตั้งหม้อน้ำที่เต็มเอาไว้ และต้นกล้วยเป็นต้น ทรงให้ยกเศวตฉัตร ๒ ชั้นเพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า และเศวตฉัตรชั้นเดียวสำหรับพระภิกษุรูปหนึ่งๆ กระทำอยู่ซึ่งการบูชาด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้น พร้อมด้วยบริวารของพระองค์ ทรงนิมนต์ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเข้าประทับอยู่ในวิหารแห่งหนึ่งๆ แล้วทรงถวายมหาทาน แล้วนำเสด็จไปยังฝั่งแม่น้ำคงคาโดยใช้เวลา ๕ วัน. พระเจ้าพิมพิสารทรงประดับเรือด้วยเครื่องประดับทุกอย่างที่ฝั่งแม่น้ำคงคานั้น แล้วส่งพระราชสารไปทูลพระราชาเมืองเวสาลีว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแล้ว ขอพวกท่านทั้งปวงจงตระเตรียมทางเสด็จ จงกระทำการต้อนรับพระผู้มีพระภาคเจ้า. เจ้าลิจฉวีทั้งหลายเหล่านั้นทรงดำริว่า พวกเราจักทำการบูชาให้เป็นสองเท่า แล้วทรงให้กระทำพื้นที่ประมาณ ๓ โยชน์ในระหว่างเมืองเวสาลีและแม่น้ำคงคาให้สม่ำเสมอ แล้วทรงตระเตรียมเศวตฉัตร ๔ ชั้นเพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า และเศวตฉัตร ๒ ชั้นสำหรับภิกษุรูปหนึ่งๆ เมื่อจะกระทำการบูชาจึงได้มาประทับยืนอยู่ ณ ฝั่งแห่งแม่น้ำคงคา. พระเจ้าพิมพิสารทรงให้สร้างเรือ ๒ ลำ กระทำมณฑปประดับด้วยพวงดอกไม้เป็นต้น ให้ปูพุทธอาสน์ซึ่งสำเร็จด้วยรัตนะทั้งปวงบนเรือลำนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนพุทธอาสน์นั้น แม้ภิกษุ ๕๐๐ รูปก็ขึ้นเรือ แล้วก็นั่ง ณ ที่อันสมควร. พระราชาเมื่อตามส่งเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เสด็จลงไปในน้ำประมาณแค่พระศอ แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคานี้นี่แหละ จนกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสด็จมาแล้วเสด็จกลับ (ขึ้นฝั่ง). เทวดาทั้งหลายในเบื้องบนจนถึงอกนิษฐพรหมได้กระทำการบูชา. นาคทั้งหลายมีนาคพวกกัมพลัสสตระเป็นต้นผู้อาศัยอยู่ที่ภายใต้แม่น้ำคงคา กระทำแล้วซึ่งการบูชา. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปในแม่น้ำคงคาระยะทางประมาณ ๑ โยชน์ แล้วเข้าสู่เขตแดนของชาวเมืองเวสาลีด้วยการบูชาที่ยิ่งใหญ่อย่างนี้. ต่อจากนั้น กษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลาย เมื่อกระทำการบูชาเป็น ๒ เท่าแห่งการบูชาที่พระเจ้าพิมพิสารนั้นทรงกระทำแล้ว ทรงต้อนรับพระผู้มีพระภาคเจ้าในน้ำประมาณแค่พระศอ โดยขณะนั้นนั่นเอง โดยครู่นั้น มหาเมฆซึ่งมียอดแผ่ออกไปด้วยความมืดมน มีสายฟ้าปลาบแปลบ คำรามอยู่ ตกแล้วทั้ง ๔ ทิศ ต่อจากนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงก้าวพระบาทแรกพอเหยียบที่ฝั่งแม่น้ำคงคา (เท่านั้น) ฝนโบกขรพรรษก็ตก คนเหล่าใดต้องการจะเปียก คนเหล่านั้นเท่านั้นจึงเปียก คนที่ไม่ต้องการเปียกก็ไม่เปียก น้ำประมาณแค่เข่า แค่ขา แค่สะเอว แค่คอ ย่อมไหลไปในที่ทั้งปวง ซากศพทั้งปวงถูกน้ำพัดพาไปในแม่น้ำคงคา ภาคพื้นก็บริสุทธิ์. กษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลายให้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับในทุกๆ กึ่งโยชน์ ถวายมหาทาน กระทำการบูชา ๒ เท่าโดยใช้เวลา ๓ วันนำเสด็จสู่กรุงเวสาลี เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุงเวสาลีแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพมีหมู่เทพยดาอยู่ข้างหน้าเสด็จมา เพราะเทพยดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ประชุมกัน พวกอมนุษย์ก็หนีไปโดยมาก. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนอยู่ที่ประตูพระนคร ตรัสเรียกพระอานนท์มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงเรียนรตนสูตรนี้ แล้วถืออุปกรณ์แห่งพลีกรรม พร้อมด้วยลิจฉวีกุมารทั้งหลาย เที่ยวไปอยู่ในระหว่างกำแพง ๓ ชั้นแห่งเมืองเวสาลี จงกระทำพระปริตร (ป้องกัน) ดังนี้แล้วได้ตรัสรตนสูตร. มีคำถามว่า ก็พระสูตรนี้ใครกล่าวไว้อย่างนี้ กล่าวไว้เมื่อใด ที่ไหน และเพราะเหตุไร การวิสัชนาปัญหา พระโบราณาจารย์ทั้งหลายได้พรรณนาไว้โดยพิศดาร จำเดิมแต่เรื่องเมืองเวสาลี. ในวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้ายังเสด็จไม่ถึงเมืองเวสาลีนั้นแล ท่านพระ อานนท์ได้เรียนรตนสูตรนี้ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อกำจัดอุปัทวะเหล่านั้นที่ประตูพระนครเวสาลี สวดอยู่เพื่อป้องกัน ใช้บาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้าตักน้ำ เที่ยวประพรมอยู่ทั่วพระนคร ก็เมื่อพระเถระกล่าวคำว่า ยงฺกิญฺจิ เท่านั้น พวกอมนุษย์ทั้งหลายที่อาศัยกองหยากเยื่อและประเทศแห่งฝาเรือนเป็นต้น ซึ่งยังไม่หนีไปในกาลก่อนก็พากันหนีไปทางประตูทั้ง ๔. ประตู (ทั้ง ๔) ไม่มีที่ว่าง ต่อจากนั้นอมนุษย์บางพวก เมื่อไม่ได้ที่ว่าง (โอกาส) เพื่อออกไปที่ประตู พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปยังสัณฐาคาร ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ซึ่งเขาปูลาดไว้เแล้ว ฝ่ายภิกษุสงฆ์แล รวมทั้งพระราชาทั้งหลาย และมนุษย์ทั้งหลายก็ได้นั่ง ณ โอกาสสมควร แม้ท้าวสักกะจอมเทพก็นั่งกับเทวบริษัทในเทวโลกทั้งสอง เทวดาเหล่าอื่นก็ได้นั่งด้วยเทวบริษัทเช่นกัน. ฝ่ายพระอานนทเถระเที่ยวไปยังนครเวสาลีจนทั่ว กระทำอารักขาแล้วมาพร้อมกับชาวนครเวสาลี นั่งลงแล้ว ณ ส่วนข้างหนึ่ง ณ สัณฐาคารนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรตนสูตรนั้นนั่นแลแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งปวง. ความหมายคำว่า ภูต บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ยานิ ความว่า ภูตเหล่าใดมีศักดิ์น้อยก็ตาม มีศักดิ์มากก็ตาม. บทว่า อิธ ได้แก่ ในประเทศนี้ ท่านกล่าวหมายถึงสถานที่ประชุมกันในขณะนั้น. บทว่า ภูตานิ มีคำอธิบายว่า ถึงแม้ ภูตศัพท์จะใช้ในความหมายเหล่านี้ คือ ๑. หมายถึงสิ่งที่เป็นจริง ดังในประโยคทั้งหลายมีประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ภูตสฺมึ ปาจิตฺ ๒. หมายถึงเบญจขันธ์ ดังในประโยคทั้งหลายมีประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ภูตมิทํ ภิกฺ ๓. หมายถึงรูปมีปฐวีธาตุเป็นต้น ในธาตุทั้ง ๔ ดังในประโยคทั้งหลายเป็นต้นอย่างนี้ว่า จตฺตาโร โข ภิกฺขุ มหาภูตา เหตู ดูก่อนภิกษุ มหาภูตรูป ๔ แลเป็นเหตุ.๓- ๔. หมายถึงพระขีณาสพ ดังในประโยคทั้งหลายมีประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า โย จ กาลฆโส ภูโต บุคคลใดเป็นผู้กลืนกินกาล.๔- ๕. หมายถึงสัตว์ทั้งปวง ดังในประโยคทั้งหลายมีประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า สพฺเพว นิกฺขิปิสฺสนฺติ ภูตา โลเก สมุสฺสยํ สัตว์ทั้งปวงแลย่อมทิ้งร่างกายไว้ในโลก.๕- ๖. หมายถึงต้นไม้เป็นต้น ดังในประโยคทั้งหลายมีประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ภูตคามปาตพฺยตาย ปาจิตฺติยํ เป็นอาบัติปาจิตตีย์ในเพราะพรากภูตคาม.๖- ๗. หมายถึงหมู่สัตว์ซึ่งอยู่ภายใต้ชั้นจาตุมมหาราชิกาลงมา ดังในประโยคทั้งหลายมีประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ภูเต ภูตโต สญฺชานาติ ย่อมรู้สัตต ก็จริง ถึงกระนั้นในรตนสูตรนี้ บัณฑิตก็พึงเห็นว่า ภูตศัพท์ ใช้ในอมนุษย์ทั้งหลายโดยไม่แปลกกัน. ____________________________ ๑- วิ. มหา. เล่ม ๒/ข้อ ๓๐๕ ๒- ม. มู. เล่ม ๑๒/ข้อ ๔๔๕ ๓- ม. อุ. เล่ม ๑๔/ข้อ ๑๒๔ ๔- ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๓๔๐ ๕- ที. มหา. เล่ม ๑๐/ข้อ ๑๔๖ ๖- วิ. มหา. เล่ม ๒/ข้อ ๓๕๔ ๗- ม. มู. เล่ม ๑๒/ข้อ ๒ บทว่า สมาคตานิ ได้แก่ ประชุมกันแล้ว เทวดาทั้งหลายที่เกิดแล้ว ณ ภาคพื้น ชื่อว่า ภุมฺ วาศัพท์ใช้ในวิกัปปัตถะ (แปลว่าหรือ) เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงกระ อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า ภูตทั้งหลายเหล่าใดเกิดแล้วในอากาศประชุมกันแล้วในที่นี้. ก็ในคำว่า ภูตานิ นี้ ภูตสัตว์เหล่าใด ตั้งแต่ชั้นยามาจนถึงชั้นอกนิฏฐภพซึ่งบังเกิดแล้วในอากาศ พึงทราบว่า เป็นภูตในอากาศ ก็เพราะเหตุที่เกิดในวิมานที่ปรากฏอยู่ในอากาศ ภูตทั้งหลายที่เกิดในภายใต้แต่อากาศนั้น ภูตนับจำเดิมแต่ภูเขาสิเนรุจนถึงภูตสัตว์ที่สิงสถิตอยู่ในต้นไม้และเครือเถาเป็นต้นบนพื้นดินและที่เกิดแล้วบนพื้นดิน ภูตสัตว์เหล่านั้นทั้งหมดพึงทราบว่าเป็น ภุมฺมานิ ภูตานิ เพราะเหตุที่เกิดแล้วในที่ๆ เกี่ยวเนื่องกับพื้นดิน และในที่ทั้งหลายมีต้นไม้เครือเถาและภูเขาเป็นต้น บนพื้นดิน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวิกัป (กำหนด) อมนุษย์ภูตแม้ทั้งหมดด้วยสองบทว่า ภุมฺมานิ วา ยานิ วา อนฺตลิกฺเข แล้วกำหนดด้วยบทเดียวอีก ตรัสว่า สพฺเพว ภูตา สุมนา ภวนฺตุ ขอภูตสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีใจดี. บทว่า สพฺเพ ได้แก่ ไม่มีส่วนเหลือ. ศัพท์ว่า เอว ใช้ในอรรถแห่งอวธารณะ. อธิบายว่า ไม่ยกเว้นแม้สักผู้หนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลายชื่อว่า ภูต. สองบทว่า สุมนา ภวนฺตุ ได้แก่ เป็นผู้มีใจถึงความสุข คือว่าเป็นผู้มีปีติและโสมนัสเกิดแล้ว. สองศัพท์ว่า อโถปิ เป็นนิบาตทั้งสองคำ ใช้ในอรรถแห่งวากยปทวิกัปปัตถะ เพื่อใช้ประกอบในกิจอื่น. สามบทว่า สกฺกจฺจ สุณนฺตุ ภาสิตํ ความว่า ขอให้ภูตทั้งปวงจงตั้งใจ คือทำไว้ในใจ ได้แก่ประมวลมาด้วยใจทั้งหมด จงฟังเทศนาของเราซึ่งจะนำสมบัติอันเป็นทิพย์ และโลกุตตรสุขมาให้. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดภูตสัตว์ทั้งหลายด้วยคำที่กำหนดไว้ไม่แน่นอนว่า ยานีธ ภูตานิ สมาคตานิ ภูตเหล่าใดมาประชุมกันแล้วในที่นี้ดังนี้ อย่างนี้แล้วจึงทรงกำหนดด้วยสองบทอีกว่า ภุมฺมานิ วา ยานิว อนฺตลิกฺเข ภุมเทวดาทั้งหลาย หรือเทวดาทั้งหลายเหล่าใดในอากาศ แล้วทรงกระทำให้เป็นอันเดียวกันอีกว่า สพฺเพว ภูตา ภูตทั้งปวง แล้วทรงประกอบไว้ในอาสยสมบัติด้วยคำนี้ว่า สุมนา ภวนฺตุ ขอจงเป็นผู้มีใจดี แล้วทรงประกอบในปโยค อนึ่ง ทรงประกอบในโยนิโสมนสิการสมบัติและในโฆสสมบัติด้วยคำว่า สกฺกจฺจ สุณนฺตุ ภาสิตํ ทรงประกอบในอัตตสัมมาปณิธิสมบัติ และสัปปุริสูปนิสสยสมบัติ และทรงประกอบในสมาธิสมบัติ ปัญญาสมบัติ และเหตุสมบัติด้วยคำว่า สกฺกจฺจ สุณนฺตุ ภาสิตํ จึงได้ตรัสพระคาถานี้. คำที่ว่า ตสฺมาหิ ภูตา เป็นต้นเป็นคาถาที่สอง ในบรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ตสฺมา เป็นคำบอกเหตุ. คำว่า ภูตา เป็นคำเชื้อเชิญภูต. คำว่า นิสาเมถ แปลว่า จงฟัง. คำว่า สพฺเพ ได้แก่ ไม่มีส่วนเหลือ. ท่านได้อธิบายไว้อย่างไร ท่านได้อธิบายไว้ว่า เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลาย (เทวดา) ได้ละทิพยสถานและอุปโภคสมบัติ บริโภคสมบัติ ได้มาประชุมกันในที่นี้เพื่อฟังธรรม หาได้มาเพื่อจะดูนักฟ้อนแสดงการฟ้อนรำไม่ เพราะฉะนั้นแล ขอภูตทั้งปวงจงฟัง. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นว่าเทพเหล่านั้นเป็นผู้มีใจดี และเห็นว่าเทพเหล่านั้นต้องการที่จะฟังโดยเคารพ จึงได้ตรัสด้วยพระดำรัสว่า สกฺกจฺจ สุณนฺตุ จงฟังโดยเคารพ. ก็เพราะที่ท่านทั้งหลายประกอบด้วยอัตตสัมมาปณิธิ โยนิโสมนสิการและอาสยสุทธิโดยความเป็นผู้มีใจดี ทั้งประกอบด้วยปโยคสุทธิทั้งหลาย โดยมีสัปปุริสูปนิสสยะและปรโตโฆสะเป็นปทัฏฐาน เพราะต้องการจะฟังโดยเคารพ ฉะนั้นแล ขอให้ภูตทั้งปวงจงตั้งใจฟัง. อีกประการหนึ่ง คำใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในที่สุดแห่งคาถาแรกว่า ภาสิตํ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงอ้างถึงคำนั้นโดยความเป็นเหตุ จึงตรัสว่า ธรรมดาว่าภาษิตของเรา บุคคลได้โดยยากอย่างยิ่ง เพราะเหตุที่ขณะซึ่งเว้นจากขณะทั้งปวงเป็นขณะที่หาได้ยาก ทั้งเป็นคำมีอานิสงส์เป็นอเนก เพราะเป็นไปด้วยปัญญาคุณและกรุณาคุณ และเราต้องการที่จะพูดคำนั้น จึงได้กล่าวว่า สุณนฺตุ ภาสิตํ ขอจงฟังคำที่เรา (ตถาคต) พูด เพราะเหตุนั้นแล คำว่า ภูตา นิสาเมถ สพฺเพ (ขอภูตทั้งปวงจงฟัง) นี้ เราได้กล่าวแล้วด้วยบทที่เป็นคาถานี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบเหตุนั้นอย่างนี้แล้ว จึงทรงประกอบภูตให้ตั้งใจฟังคำภาษิตของพระองค์ ได้ทรงเริ่มเพื่อจะตรัสคำที่ควรฟังว่า เมตฺตํ กโรถ มานุสิยา ปชาย ขอจงแผ่เมตตาจิตไปในหมู่มนุษย์ ดังนี้. เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า หมู่สัตว์คือมนุษย์นี้ใดอันอุปัทวะทั้ง ๓ ประทุษร้ายแล้ว ขอท่านทั้งหลายจงเข้าไปตั้งเมตตา คือมิตรภาพ ได้แก่ความเป็นผู้มีอัธยาศัยเกื้อกูลในหมู่สัตว์ที่เป็นมนุษย์นั้น. แต่อาจารย์บางพวกเรียกมนุษย์ว่า ปชา คำนั้นไม่ถูก เพราะไม่ได้เป็นสัตตมีวิภัติ และอาจารย์พวกอื่นก็พรรณนาเนื้อความแม้ใดไว้ เนื้อความแม้นั้นก็ไม่ถูก. แต่ในคาถานี้มีอธิบายว่า เราหาได้เรียก (อย่างนั้น) ด้วยกำลังแห่งความเป็นใหญ่ว่าเป็นพระพุทธเจ้าไม่ แต่สิ่งใดเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ท่านทั้งหลายด้วย แก่หมู่มนุษย์ด้วย เราก็ได้กล่าวสิ่งนั้นว่า ท่านทั้งหลายจงสร้างเมตตาจิตในหมู่มนุษย์ ดังนี้. ก็ในคำว่า เมตฺตํ กโรถ มานุสิยา ปชาย นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ชนเหล่าใดสร้างเมตตาจิตด้วยสามารถแห่งพระสูตรทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า :- พระราชาผู้ประกอบด้วยธรรม เช่นกับฤาษี ชนะแผ่นดินอันประกอบด้วยหมู่สัตว์เจริญรอยตาม กัน บูชายัญเหล่าใด คืออัสสเมธะ ๑ (ทรงพระปรีชา ในการบำรุงสัตว์พาหนะมีม้าเป็นต้น) ปุริสเมธะ ๑ (ทรงพระปรีชาในการเกลี้ยกล่อมประชาชน) สัมมา ปาสะ ๑ (ทรงมีพระอัธยาศัยดุจบ่วงคล้องน้ำใจประ ชาชน) วาชเปยยะ ๑ (ทรงมีพระวาจาเป็นที่ดูดดื่ม ใจคน) นิรัคคฬะ (ทรงปกครองพระนคร ไม่ต้องมี ลิ่มกลอน) มหายัญเหล่านั้นไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่ง เมตตาจิตที่อบรมดีแล้ว ถ้าหากว่า บุคคลไม่มีจิต ประทุษร้าย ย่อมแผ่เมตตาไปยังสัตว์แม้ตัวหนึ่ง เพราะเหตุนั้น กุศลจึงมี ผู้มีใจเกื้อกูลต่อสัตว์ทั้งปวง เป็นผู้ประเสริฐทำบุญมาก.๘- และด้วยอำนาจของอานิสงส์ของเมตตา ๑๑ อย่าง พึงทราบว่า เมตตาของชนเหล่านั้นมีประโยชน์เกื้อกูล เมตตาอันบุคคลกระทำในเทพเจ้าเหล่าใดด้วยสามารถแห่งข้อความทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า บุคคลมีใจเกื้อกูลต่อเทวดา ย่อมเห็นแต่สิ่งที่เจริญใจทุกเมื่อ๙- ดังนี้. พึงทราบว่า เมตตาของชนแม้เหล่านั้นมีประโยชน์เกื้อกูล. ____________________________ ๘- องฺ. อฏฺฐก. เล่ม ๒๓/ข้อ ๙๑ ๙- วิ. มหา. ๕/๗๓ ที. มหา. ๑๐/๘๔ ขุ. อิติ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๑๗๓ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงลักษณะแห่งเมตตาจิตทั้ง ๒ อย่างดังที่กล่าวมาแล้วนั้นว่า มีประโยชน์เกื้อกูลอย่างนี้ จึงตรัสว่า เมตฺตํ กโรถ มานุสิยา ปชาย ท่านทั้งหลายจงแผ่เมตตาจิตไปในหมู่มนุษย์ ดังนี้. บัดนี้ เมื่อจะแสดงอุปการะจึงตรัสว่า ทิวา จ รตฺโต จ หรนฺติ เย พลึ ตสฺมา หิ เน รกฺขถ อปฺปมตฺตา มนุษย์เหล่าใดนำพลีกรรมไปทั้งกลางวันกลางคืน เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาท รักษามนุษย์เหล่านั้นเถิด. เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า มนุษย์เหล่าใด สร้าง (รูป) เทวดาด้วยจิตรกรรมและปฏิมากรรมเป็นต้น และเข้าไปยังเจดีย์และต้นไม้ทั้งหลาย แล้วกระทำพลีกรรมในกลางวัน อุทิศเทวดาทั้งหลายก็ดี กระทำพลีกรรมในเวลากลางคืน ในข้างแรมเป็นต้นก็ดี หรือถวายสลากภัตรเป็นต้นแล้ว กระทำพลีกรรมในเวลากลางวัน โดยการอุทิศส่วนบุญให้แก่อารักขเทวดาจนถึงเทพชั้นพรหมก็ดี จัดให้มีการฟังธรรมเป็นต้นตลอดทั้งคืน ด้วยการยกฉัตรและประทีปดอกไม้ แล้วทำพลีกรรมในเวลากลางคืน ด้วยการอุทิศให้ซึ่งส่วนบุญก็ดี มนุษย์ทั้งหลายอันพวกท่านจะไม่พึงรักษาได้อย่างไร เพราะเหตุว่า มนุษย์เหล่านั้นกระทำพลีกรรมอุทิศพวกท่านเท่านั้นทั้งกลางวันและกลางคืนอย่างนี้. คำว่า ตสฺมา หิ เน เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงรักษา คือจงคุ้มครองมนุษย์เหล่านั้น แม้เพราะเหตุแห่งพลีกรรม และขอให้พวกท่านจงขจัดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ของมนุษย์เหล่านั้นออกเสีย แล้วนำสิ่งที่เป็นประโยชน์มาให้ ขอให้พวกท่านเป็นผู้ไม่ประมาท ตั้งความเป็นผู้กตัญญูนั้นๆ ไว้ในใจ ระลึกอยู่เป็นนิจเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความที่มนุษย์ทั้งหลายมีอุปการะต่อเทวดาทั้งหลายอย่างนี้แล้ว จึงทรงเริ่มเพื่อประกอบสัจวาจา โดยนัยมีอาทิว่า ยํกิญฺจิ วิตฺตํ เพื่อการเข้าไปสงบอุปัทวะของมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น และเพื่อการฟังธรรมของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยการทรงประกาศพระพุทธคุณเป็นต้น. ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํกิญฺจิ ได้แก่ สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งไม่มีส่วนเหลือ อันท่านกำหนดเอาด้วยสามารถแห่งการกำหนดที่ไม่แน่นอน คือสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งได้โวหารในสิ่งนั้นๆ. ทรัพย์ชื่อว่า วิตฺตํ. ทรัพย์ที่ชื่อว่า วิตฺตํ เพราะอรรถว่าก็ทรัพย์นั้นยังความปลื้มใจให้เกิดขึ้น. ด้วยคำว่า อิธ วา ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงมนุษยโลก. ด้วยคำว่า หุรํ วา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงโลกที่เหลือซึ่งนอกจากมนุษยโลกนั้น ก็ด้วยคำว่า หุรํ วา นั้น ด้วยบททั้งสองนี้ สิ่งใดที่เป็นเครื่องใช้สอยเป็นเครื่องประดับ หรือบริโภคของมนุษย์ทั้งหลายมีทอง เงิน แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ แก้วประพาฬ แก้วทับทิมและแก้วลายเป็นต้น หรือทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันใดของนาคและครุฑเป็นต้นซึ่งบังเกิดแล้วในวิมานแก้ว บนพื้นดินซึ่งดาษดาไปด้วยทรายมุกดาและทรายแก้ว ในภพทั้งหลายซึ่งกว้างถึง ๑๐๐ โยชน์เป็นอเนก คำนั้นเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วอย่างนี้. คำว่า สคฺเคสุ วา ได้แก่ เทวโลกชั้นกามาวจรและรูปาวจรทั้งหลาย. ความหมายคำว่า สวรรค์ อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่าสวรรค์ เพราะว่าเป็นสถานที่ ที่เลิศด้วยดีดังนี้ก็มี. บทว่า ยํ ได้แก่ ทรัพย์อันใดที่มีเจ้าของก็ตาม ไม่มีเจ้าของก็ตาม ในคำว่า รตนํ นี้มีอรรถวิเคราะห์ว่า สิ่งใดย่อมนำมา คือว่าย่อมพามา ซึ่งความยินดี ได้แก่ย่อมยังความยินดีให้เกิด ให้เจริญ เหตุนั้นสิ่งนั้นชื่อว่ารัตนะ. สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่บุคคลทำการบูชา มีค่ามาก ชั่งไม่ได้ พบเห็นได้โดยยาก และไม่ใช่เป็นของที่สัตว์ต่ำต้อยบริโภค คำนี้เป็นชื่อของรัตนะนั้น สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :- สิ่งที่บุคคลทำ ความยำเกรง มีค่ามาก ชั่งไม่ได้ เห็นได้ยาก และไม่ใช่ของที่สัตว์ ต่ำทรามบริโภค เพราะเหตุนี้ เราจึงเรียกว่า รัตนะ ดังนี้. คำว่า ปณีตํ ได้แก่ ประเสริฐที่สุด คือมีค่าสูง ได้แก่ไม่ใช่มีค่าน้อย คือเป็นที่พอใจ. ก็ด้วยบทที่เป็นพระคาถานี้ สิ่งใดซึ่งมีเจ้าของอยู่ในสวรรค์ทั้งหลายมีวิมานซึ่งสำเร็จด้วยรัตนะทั้งปวง อันมีประมาณหลายร้อยโยชน์เป็นอเนก เช่น สุธรรมสภาและเวชยันตปราสาทเป็นต้นก็ดี สิ่งใดซึ่งไม่มีเจ้าของอยู่ในวิมานว่าง ในเมื่อสัตว์ทั้งหลายทำอบายภูมิให้เต็ม เพราะเว้นจากพุทธุปบาทกาล ก็หรือว่าแม้สิ่งอื่นใดซึ่งเป็นรัตนะที่ไม่มีเจ้าของ ซึ่งอยู่ที่พื้นดิน มหาสมุทรและป่าหิมพานต์เป็นต้น สิ่งนั้นเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว ศัพท์ว่า น ในบาทพระคาถาที่ว่า น โน สมํ อตฺถิ ตถาคเตน ดังนี้ใช้ในอรรถปฏิเสธ. ศัพท์ว่า โน ใช้ในอรรถอวธารณะ. บทว่า สมํ ได้แก่ เสมอ. บทว่า อตฺถิ ได้แก่ มีอยู่. บทว่า ตถาคเตน ได้แก่ ด้วยพระพุทธเจ้า. ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร? ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศทรัพย์และรัตนะนี้ใดไว้ ก็ในคำว่าทรัพย์และรัตนะนี้ รัตนะแม้อย่างหนึ่งที่จะเสมอด้วยพุทธรัตนะไม่มีเลย. ความหมายคำว่า รัตนะ จริงอยู่ เมื่อพระตถาคตอุบัติขึ้นแล้ว เทวดาและมนุษย์ผู้มีศักดิ์ใหญ่เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น หาได้ทำความยำเกรงในที่อื่นไม่ ทั้งไม่ยอมบูชาสิ่งอื่นใด. จริงอย่างนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมบูชาพระตถาคตด้วยพวงรัตนะเท่าภูเขาสิเนรุ เทพเจ้าและมนุษย์เหล่าอื่นมีพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าโกศล และอนาถบิณฑิกะเป็นต้น ก็บูชาพระตถาคตเจ้าตามกำลัง. พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสละพระราชทรัพย์ถึง ๙๖ โกฏิให้ทรงสร้างพระวิหาร ๘๔,๐๐๐ แห่งทั่วชมพูทวีป อุทิศซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานแล้ว ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงชนเหล่าอื่นที่ทำความยำเกรง. อีกประการหนึ่ง การกระทำความยำเกรงและการเคารพ ย่อมเป็นไปเจาะจงต่อสถานที่ประสูติ สถานที่ตรัสรู้ สถานที่แสดงธรรมจักรและสถานที่ปรินิพพาน หรือปฏิมา อนึ่ง รัตนะนั้นแม้ได้ชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่ามีค่ามากเหมือนกับผ้าซึ่งทำในแคว้นกาสี ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย ผ้ากาสิกพัสตร์ แม้จะเก่าแต่ก็ยังมีสีสวยด้วย สัมผัสนิ่มด้วย มีค่ามากด้วย" ดังนี้ ผ้ากาสิกพัสตร์แม้นั้นที่จะเสมอด้วยพุทธรัตนะไม่มี. ก็ถ้าหากว่าผ้ากาสิกพัสตร์นั้นชื่อว่าเป็นรัตนะ เพราะอรรถว่ามีค่ามากไซร้ พระตถาคตเจ้าแลก็จัดเป็นรัตนะ. จริงอย่างนั้น พระตถาคตย่อมรับ แม้ผ้าบังสุกุลของชนเหล่าใด ผ้าบังสุกุลนั้นของชนเหล่านั้นเป็นของมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เช่นเดียวกับผ้าของพระเจ้าอโศกมหาราช ผ้าของพระเจ้าอโศกมหาราชนี้ก็พึงเป็นรัตนะได้ เพราะเป็นผ้าที่มีค่ามาก รัตนะที่จะเสมอด้วยพระตถาคตเจ้า เพราะอรรถว่ามีค่ามากอย่างนี้ ย่อมไม่มี. ก็ในเรื่องแห่งรัตนะนี้ พึงทราบถึงสุตตบทนี้ที่ยังความไม่มีโทษให้สำเร็จได้ เพราะกล่าวถึงความมีค่ามากอย่างนี้ว่า๑- พระตถาคตเจ้าย่อมทรงรับซึ่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและเภสัชชบริกขารของชนทั้งหลายเหล่าใดแล การที่พระตถาคตเจ้ารับจีวรเป็นต้นนั้น ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มากแก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น เรากล่าวการรับนี้ว่ามีผลมากมีอานิสงส์มาก ก็เพราะตถาคตเป็นผู้มีค่ามาก ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกบุคคลนี้ซึ่งมีอุปมาเช่นนั้น เหมือนกับผ้ากาสิกพัสตร์นั้นว่ามีค่ามากนะภิกษุทั้งหลาย ดังนี้. ____________________________ ๑- องฺ. ติก. เล่ม ๒๐/ข้อ ๕๓๙ ชื่อว่ารัตนะที่จะเสมอด้วยพระตถาคต เพราะอรรถว่ามีค่ามากอย่างนี้ย่อมไม่มี. รัตนะ ๗ อย่าง คือ จักรรัตนะที่บังเกิดขึ้นแก่พระเจ้าจักรพรรดิ ซึ่งมีดุมสำเร็จด้วยแก้วอินทนิล มีซี่กำ พระราชาทรงบำเพ็ญจักรวรรดิวัตร ๑๐ ประการอันใด ทรงสนานพระเศียรในวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำอันเป็นวันอุโบสถ ทรงรักษาอุโบสถเสด็จไปยังเบื้องบนปราสาทอันประเสริฐ ประทับนั่งระลึกถึงศีลทั้งหลายอยู่ ได้เห็นจักรรัตนะซึ่งตั้งขึ้นอยู่ ดุจพระจันทร์เพ็ญและดุจพระอาทิตย์ฉะนั้น ซึ่งบุคคลย่อมได้ยินเสียงตั้งแต่ ๑๒ โยชน์ มีวรรณะปรากฏตั้งแต่ ๓ โยชน์ ซึ่งมหาชนเกิดโกลาหลขึ้นอย่างยิ่งว่า เห็นจะมีพระจันทร์หรือพระอาทิตย์ขึ้นเป็นดวงที่สอง ดังนี้ปรากฏอยู่ ได้ลอยมาเบื้องบนพระนครปรากฏอยู่ในด้านทิศตะวันออกของภายในราชบุรี ไม่สูงเกินไป ไม่ต่ำเกินไป ลอยเด่นอยู่ ประดุจไม่ไหวติง ในที่อันสมควร เพื่อให้มหาชนบูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น. ช้างแก้ว (หัตถิรัตนะ) ซึ่งอุบัติติดตามพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์นั้น เป็นช้างเผือกเท้าสีแดง เป็นสัตว์ที่แข็งแรง มีฤทธิ์ไปในอากาศได้ เกิดจากสกุลช้างอุโบสถหรือสกุลช้างฉัททันต์ ถ้า ม้าแก้ว (อัสสรัตนะ) ซึ่งเกิดติดตามพระราชาแม้นั้น ก็เป็นม้าสีขาว เท้าแดง ศีรษะดำ ขนเหมือนหญ้าปล้อง มาจากสกุลม้าวลาหก. คำที่เหลือในเรื่องม้าแก้วนี้ ก็เช่นเดียวกับเรื่องช้างแก้วนั้นเอง. แก้วมณี (มณิรัตนะ) เกิดติดตามพระราชาแม้นั้น แก้วมณีนั้นเป็นแก้วไพฑูรย์ สวยงามโชติช่วง ซึ่งได้เจียระไนไว้ดีทั้ง ๘ เหลี่ยม เช่นกับรูปดุมเกวียน มาจากภูเขาเวปุลละ แก้วมณีนั้นขึ้นสู่ยอดธงของพระราชาแล้ว ย่อมส่องสว่างไปในที่มืด แม้ประกอบด้วยองค์ ๔ ได้ถึง ๑ โยชน์ ซึ่งพวกมนุษย์ทั้งหลายสำคัญว่าเป็นกลางวันเพราะแสงสว่าง แล้วประกอบการงานทั้งหลาย โดยที่สุดย่อมเห็นได้แม้มดดำและมดแดง นางแก้ว (อิตถีรัตนะ) เกิดติดตามพระเจ้าจักรพรรดิแม้นั้น เป็นอัครมเหสีโดยปกติ หรือไม่ก็เสด็จมาจากอุตตรกุรุทวีป หรือไม่ก็มาจากสกุลมัททราช เว้นจากโทษ ๖ ประการมีสูงเกินไปเป็นต้น เปล่งปลั่งล่วงผิวพรรณของมนุษย์ แต่ไม่ถึงผิวพรรณอันเป็นทิพย์ ซึ่งในเวลาพระราชาเย็น พระกายก็อุ่น ในเวลาพระราชาร้อน พระกายของนางแก้วก็เย็น มีสัมผัสนิ่ม ดุจปุยนุ่นที่เขาชีถึง ๗ ครั้ง มีกลิ่นจันทน์ฟุ้งออกจากพระกาย มีกลิ่นอุบลฟุ้งออกจากพระโอษฐ์ ประกอบด้วยคุณเป็นอเนก มีการเสด็จลุกขึ้นก่อนเป็นต้น. ขุนคลังแก้ว (คหปติรัตนะ) เกิดขึ้นติดตามพระเจ้าจักรพรรดินั้น เป็นเศรษฐีที่ทำการงานตามปกติของพระราชา เพราะพอจักรรัตนะอุบัติขึ้นแล้ว ทิพยจักษุก็อุบัติขึ้น เพราะมีทิพยจักษุนั้นแล้วก็เห็นขุมทรัพย์ทั้งที่มีเจ้าของบ้าง ไม่มีเจ้าของบ้างในที่ประมาณได้ ๑ โยชน์โดยรอบ ขุนคลังนั้นเข้าไปเฝ้าพระราชา แล้วปวารณาตัวว่า ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์จงมีความขวนขวายน้อย ข้าพระองค์จักทำกิจที่ควรทำด้วยทรัพย์เพื่อ แม้ขุนพลแก้ว (ปริณายกรัตนะ) ก็เกิดติดตามพระเจ้าจักรพรรดิแม้นั้น ซึ่งเป็นราชโอรสองค์ใหญ่ของพระราชา พอเมื่อจักรรัตนะอุบัติขึ้น ก็เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาและความเฉียบ ก็หรือว่ารัตนะเห็นปานนี้แม้อื่นใด ก็ชื่อว่ารัตนะ เหมือนกับพระอรรถกถาจารย์ว่า อันใครๆ ชั่งไม่ได้ ซึ่งมีค่าที่ใครๆ ไม่อาจที่จะชั่งตวงแล้วตีราคาว่า มีค่า ๑๐๐ หรือมีค่า ๑,๐๐๐ หรือมีค่า ๑ โกฏิ แม้รัตนะอย่างหนึ่ง ในบรรดารัตนะเหล่านี้ที่จะเสมอด้วยพุทธรัตนะไม่มี. ก็ถ้าหากว่ารัตนะอื่นใดพึงเป็นรัตนะ เพราะอรรถว่าใครๆ ชั่งไม่ได้แล้วไซร้ พระ อีกอย่างหนึ่ง แม้รัตนะใดชื่อว่าเป็นรัตนะ เพราะอรรถว่าอันบุคคลเห็นได้โดยยาก เหมือนอย่างพระเจ้าจักรพรรดิ และรัตนะของพระองค์มีจักรแก้วเป็นต้น ซึ่งปรากฏว่าเห็นได้ยาก รัตนะนั้นที่จะเสมอด้วยพุทธรัตนะ ย่อมไม่มี ก็ถ้าหากว่าที่ชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่าอันบุคคลเห็นได้โดยยากแล้วไซร้ พระตถาคตเจ้าแลก็จัดเป็นรัตนะ รัตนะของพระเจ้าจักรพรรดิเป็นต้น หรือว่ารัตนะอื่นใดเป็นอเนกซึ่งเกิดในกัปหนึ่ง ที่จะเสมอด้วยพุทธรัตนะจะมีแต่ที่ไหน ก็เพราะเหตุที่ว่าในอสงไขยกัปโลกว่างจากพระตถาคตเจ้า เพราะฉะนั้น พระตถาคตเจ้าเท่านั้น ชื่อว่าอันบุคคลเห็นได้โดยยาก เพราะทรงอุบัติขึ้นในบางครั้งบางคราวเท่านั้น. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน สมัยปรินิพพานว่า๑- ดูก่อนอานนท์ เทวดาทั้งหลายพากันยกโทษว่า พวกเราพากันมาจากที่ไกลเพื่อจะได้เข้าเฝ้าพระตถาคตเจ้า เพราะว่าพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายทรงอุบัติขึ้นในโลกในกาลบางครั้งบางคราวเท่านั้น ก็ในวันนี้การปรินิพพานแห่งพระ ____________________________ ๑- ที. มหา. เล่ม ๑๐/ข้อ ๑๓๐ มหาปรินิพพานสูตร รัตนะจะเสมอด้วยพระตถาคต แม้เพราะอรรถว่าอันบุคคลเห็นได้โดย อีกประการหนึ่ง แม้รัตนะใด ที่ชื่อว่าเป็นรัตนะเพราะอรรถว่าอันสัตว์ที่ไม่ต่ำทรามบริโภค คือจักรรัตนะเป็นต้นของพระเจ้าจักรพรรดิ เพราะว่าจักรรัตนะเป็นต้นนั้นมิได้บังเกิดขึ้นเพื่อการบริโภค (ใช้สอย) แม้ของชนทั้งหลายผู้มีทรัพย์ถึงแสนโกฏิก็ดี ของชนทั้งหลายผู้อยู่บนชั้นปราสาทอันประเสริฐ ๗ ชั้นก็ดี ของบุรุษผู้ต่ำทรามผู้เกิดในสกุลต่ำมีคนจัณฑาล ช่างสาน นายพราน ช่างไม้ ช่างรถ คนเทขยะก็ดี โดยที่สุดแม้ความฝัน แต่จักรรัตนะนั้นเป็นของควรบริโภคของสัตว์ผู้ไม่ต่ำทรามเท่านั้น เพราะบังเกิดขึ้นเพื่อการบริโภคของพระเจ้าจักรพรรดิผู้อุภโตสุชาติ ซึ่งบำเพ็ญจักรวรรดิวัตร ๑๐ ประการบริบูรณ์เท่านั้น. แม้จักรรัตนะเป็นต้นนั้นที่จะเสมอด้วยพุทธรัตนะย่อมไม่มี. ก็ถ้าหากว่า ที่ชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่าสัตว์ที่ไม่ต่ำทรามบริโภคแล้วไซร้ พระตถาคตเจ้าแลก็จัดเป็นรัตนะ ด้วยว่าพระตถาคตเจ้าชื่อว่าไม่ควรแก่การบริโภค (ไม่ควรแก่การนับถือ) ของสัตว์ทั้งหลายผู้ต่ำทราม ซึ่งไม่มีอุปนิสัยของครูทั้ง ๖ มีปูรณกัสสปเป็นต้นซึ่งมีความเห็นวิปริต และของคนเหล่าอื่นเห็นปานนี้ โดยที่สุดแม้ด้วยความฝัน (คือไม่เคยแม้แต่ฝันถึง) แต่ว่าพระตถาคตเจ้าเป็นผู้ควรแก่การบริโภคของชนทั้งหลายผู้มีอุปนิสสัยถึงพร้อม ผู้สามารถเพื่อจะบรรลุเป็นพระอรหันต์ ในที่สุดแห่งคาถาอันประกอบด้วยบท ๔ ผู้มีนิพเพธิกญาณทัสสนะ มีพระพาหิยทารุจีริกะเป็นต้น และแห่งพระ แม้รัตนะใด ที่ชื่อว่า รัตนะ เพราะอรรถว่าทำความยินดีให้เกิดโดยไม่แปลกกัน เช่นจักรรัตนะของพระเจ้าจักรพรรดิ. จริงอยู่ พระเจ้าจักรพรรดิพอทอดพระเนตรเห็นจักรรัตนะนั้นเท่านั้น ก็ทรงมีพระทัยยินดี จักรรัตนะนั้นชื่อว่าทำความยินดีให้เกิดแก่พระเจ้าจักรพรรดิ แม้อย่างนี้. ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระเจ้าจักรพรรดิทรงจับพระสุวรรณภิงคารด้วยพระหัตถ์เบื้องซ้าย แล้วทรงแกว่งจักรรัตนะด้วยพระหัตถ์เบื้องขวา โดยทรงอธิษฐานว่า ขอจักรรัตนะจงหมุนไป ขอให้จักรรัตนะอันประเสริฐจงได้ชัยชนะดังนี้ ต่อจากนั้น จักรรัตนะก็เปล่งเสียงไพเราะ ดุจดนตรีประกอบด้วยองค์ห้าไปอยู่สู่ทิศตะวันออกทางอากาศ พระเจ้าจักรพรรดิทรงติดตามจักรรัตนะนั้น ซึ่งไปไม่สูงเกินไป ไม่ต่ำเกินไป ซึ่งไปอยู่โดยภายใต้ต้นไม้ที่สูงๆ และโดยเบื้องบนแห่งต้นไม้ที่ต่ำๆ ทั้งหลาย พร้อมด้วยเสนาทั้งหลายที่ประกอบด้วยองค์ ๔ ซึ่งมีขบวนแผ่กว้างถึง ๑๒ โยชน์ด้วยอานุภาพแห่งจักรรัตนะ ทรงรับเครื่องบรรณาการมีผลไม้ ดอกไม้ และใบไม้อ่อนเป็นต้นที่ต้นไม้ทั้งหลาย และทรงรับเครื่องบรรณาการจากมือของชนทั้งหลายผู้ถือบรรณาการมาถวายแล้ว และทรงสั่ง ก็พระราชาทรงปรารถนาจะเสวย หรือทรงปรารถนาจะทรงพักกลางวันในที่ใด จักรแก้วก็จะลงจากอากาศในที่นั้น ประดิษฐานอยู่ที่ภูมิภาคอันสม่ำเสมอซึ่งควรแก่การทำกิจทั้งปวงมีน้ำเป็นต้น เสมือนแล่นมาบนภาคพื้นดินด้วยเพลาฉะนั้น. เมื่อพระราชาทรงปรารถนาจะเสด็จไปอีก จักรแก้วก็เปล่งเสียงไพเราะโดยนัยก่อนนั้นแล ซึ่งบริษัทมีประมาณ ๑๒ โยชน์ได้ฟังเสียงแล้วก็พากันไปทาง จักรวาลหนึ่งๆ ซึ่งประดับด้วยทวีปใหญ่ ๔ ทวีป ทรงตรวจดูจักรวาลหนึ่งๆ ซึ่งประดับด้วยทวีปใหญ่ ๔ ทวีปและทวีปน้อย ๒ พันทวีปอย่างนี้คือ ๑. ปุพพวิเทหทวีป ซึ่งมีปริมณฑลถึง ๗ พันโยชน์ ซึ่งประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐. ๒. อุตตรกุรุทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๘ พันโยชน์ ประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐. ๓. อมรโคยานทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๗ พันโยชน์ ประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐. ๔. ชมพูทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๑ หมื่นโยชน์ ประดับด้วยทวีปน้อย ๕๐๐. ราวกะว่าทรงตรวจอยู่ซึ่งป่าปุณทรีกะซึ่งมีดอกบานงามสะพรั่งฉะนั้น ก็เมื่อพระราชานั้นทรงตรวจอยู่อย่างนั้น ความยินดีมิใช่น้อยก็ได้บังเกิดขึ้น จักรรัตนะนั้นทำความยินดีให้เกิดขึ้นแก่พระราชา แม้ดังพรรณนามาอย่างนี้. แม้จักรรัตนะนั้นที่จะเสมอด้วยพุทธรัตนะย่อมไม่มี ก็ถ้าหากว่า จักรแก้วชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่าให้เกิดความยินดีไซร้ พระตถาคตเจ้าแลก็จักชื่อว่ารัตนะเช่นกัน. จักรรัตนะนี้จักทำอะไรได้ เพราะว่าความยินดีของพระเจ้าจักรพรรดิ ซึ่งเกิดขึ้นแล้วจากรัตนะแม้ทั้งปวงมีจักรรัตนะเป็นต้น ย่อมไม่เข้าถึงแม้ซึ่งการนับ แม้ซึ่งเสี้ยว แม้ซึ่งส่วนแห่งความยินดีอันเป็นทิพย์ใด พระตถาคตเจ้าย่อมยังความยินดีในปฐมฌาน ยังความยินดีในทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานและปัญจมฌาน ยังความยินดีในอากาสานัญจายตนฌาน ยังความยินดีในวิญญาณัญจายตนฌาน ยังความยินดีในอากิญจัญญายตนฌาน ยังความยินดีในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ยังความยินดีในโสดา รัตนะที่จะเสมอด้วยพระตถาคตเจ้า แม้เพราะอรรถว่ายังความยินดีให้เกิดย่อมไม่มี. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่ารัตนะนี้มี ๒ อย่าง คือ วิญญาณกรัตนะ รัตนะที่มีวิญญาณ ๑ อวิญญาณกรัตนะ รัตนะที่ไม่มีวิญญาณ ๑. ในสองอย่างนั้น จักรแก้วและแก้วมณี ก็หรือว่ารัตนะแม้อื่นใดที่เกี่ยวข้องกับอนินทรีย์ มีทองและเงินเป็นต้น ชื่อว่า อวิญญาณกรัตนะ. รัตนะมีช้างแก้วเป็นต้นมีขุนพลแก้วเป็นที่สุด ก็ ถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะเหตุที่ว่า รัตนะมีทอง เงิน แก้วมณีและแก้วมุกดาเป็นต้นซึ่งไม่มีวิญญาณ ถูกเขานำมาใช้เพื่อเป็นเครื่องประดับของรัตนะทั้งหลายมีช้างแก้วเป็นต้นซึ่งมีวิญญาณ. แม้สวิญญาณกรัตนะก็มี ๒ อย่าง คือ ติรัจฉานรัตนะ ๑ มนุสสรัตนะ ๑. ใน ๒ อย่างนั้น มนุสสรัตนะ ท่านกล่าวว่าเป็นเลิศ. ถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะติรัจฉานรัตนะ ถูกเขานำมาใช้ เพื่อมนุสสรัตนะ แม้มนุสสรัตนะก็มี ๒ อย่าง คือ อิตถีรัตนะ ๑ ปุริสรัตนะ ๑. ใน ๒ อย่างนั้น ปุริสรัตนะ ท่านกล่าวว่าเป็นเลิศ. ถามว่า เพราะเหตุไร เพราะว่าอิตถีรัตนะถึงภาวะเป็นผู้รับใช้ของปุริสรัตนะ. แม้ปุริสรัตนะก็มี ๒ คือ อาคาริกรัตนะ ๑ อนาคาริกรัตนะ ๑. ในสองอย่างนั้น อนาคาริกรัตนะ ท่านกล่าวว่าเป็นเลิศ. ถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะเหตุที่ว่า ในบรรดาอาคาริกรัตนะทั้งหลาย แม้พระเจ้าจักรพรรดิผู้เป็นผู้เลิศ (กว่าโดยภพ) ก็ถวายบังคมอนาคาริกรัตนะด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ทรงเข้าไปอุปัฏฐากและทรงเข้าไปนั่งใกล้ จึงได้ทรงบรรลุทิพยสมบัติและมนุษยสมบัติ แล้วได้บรรลุนิพพานสมบัติในที่สุด. แม้อนาคาริกรัตนะก็มี ๒ อย่าง คือ อริยรัตนะและปุถุชนรัตนะอย่างนี้. แม้อริยรัตนะก็มี ๒ อย่าง คือ เสกขรัตนะและอเสกขรัตนะ แม้อเสกขรัตนะก็มี ๒ อย่าง คือ สุกขวิปสสกรัตนะ และสมถยานิกรัตนะ. แม้สมถยานิกรัตนะก็มี ๒ อย่าง คือ สาวกบารมีปัตตรัตนะ (รัตนะที่บรรลุสาวกบารมี) และสาวกบารมีอปัตตรัตนะ (รัตนะที่ไม่บรรลุสาวกบารมีญาณ) ในบรรดาสาวกบารมีรัตนะทั้งสองนั้น สาวกบารมีปัตตรัตนะ ท่านกล่าวว่าเป็นเลิศ. ถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะท่านผู้บรรลุสาวกบารมีเป็นผู้มีคุณมาก ปัจเจกพุทธรัตนะท่านกล่าวว่าเลิศกว่าสาวกบารมีปัตตรัตนะ เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะเป็นผู้มีคุณมาก ก็สาวกทั้งหลายมีร้อยเป็นอเนก แม้เช่นกับพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะย่อมไม่เข้าถึงแม้ซึ่งส่วนแห่งร้อย แม้ซึ่งส่วนแห่งพันแห่งพระคุณทั้งหลายของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง. สัมมาสัมพุทธรัตนะ ท่านจึงกล่าวว่าเป็นเลิศ แม้กว่าปัจเจกพุทธรัตนะ. ถามว่า เพราะเหตุไร? ตอบว่า เพราะมีคุณมาก ก็ถ้าหากว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายนั่งสมาธิอยู่ทั่วชมพูทวีป ก็ย่อมไม่เข้าถึงการนับ ไม่เข้าถึงเสี้ยว ไม่เข้าถึงส่วนแห่งเสี้ยวแห่งคุณทั้งหลายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่ง. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า๒- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้าก็ตาม มี ๒ เท้าก็ตาม มีสี่เท้าก็ตาม มีเท้ามากก็ตาม มีรูปก็ตาม ไม่มีรูปก็ตาม มีสัญญาก็ตาม ไม่มีสัญญาก็ตามมีประมาณเท่าใด พระ ____________________________ ๒- องฺ. จตุกฺก. เล่ม ๒๑/ข้อ ๓๔ องฺ. ปญฺจก. เล่ม ๒๒/ข้อ ๓๒ ขุ. อิติ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๒๗๐ รัตนะที่จะเสมอด้วยตถาคตรัตนะ ย่อมไม่มีโดยปริยายไรๆ อย่างนี้ เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า น โน สมํ อตฺถิ ตถาคเตน ทรัพย์และรัตนะนั้นที่จะเสมอด้วยพระตถาคตไม่มีเลย. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงความที่พุทธรัตนะไม่เสมอด้วยรัตนะเหล่าอื่นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อการเข้าไปสงบอุปัทวะที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่สัตว์เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าหาได้อาศัยชาติ หาได้อาศัยโคตร หาได้อาศัยการเกิดขึ้นในสกุล และหาได้อาศัยการเป็นผู้มีผิวพรรณงามเป็นต้นไม่ แต่ได้ทรงอาศัยความที่พุทธรัตนะเป็นรัตนะที่ไม่มีประมาณด้วยคุณทั้งหลายมีสีลขันธ์และสมาธิขันธ์เป็นต้นในโลก ตั้งแต่อเวจีจนถึงภวัคค จึงทรงประกอบสัจวาจาว่า อิทมฺปิ พุทฺเธ รตนํ ปณีตํ เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ สัตว์ทั้งหลาย ดังนี้. เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า ทรัพย์เครื่องปลื้มใจหรือรัตนะอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีอยู่ในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือในสวรรค์ทั้งหลาย พุทธรัตนะแม้นี้ชื่อว่าประณีต เพราะไม่เสมอเหมือนกับทรัพย์เครื่องปลื้มใจหรือรัตนะนั้น ด้วยคุณทั้งหลายเหล่านั้นๆ. ถ้าหากว่าคำที่กล่าวนี้เป็นคำสัตย์จริง ด้วยความสัจนี้ ขอความสวัสดีจงมี คือ ขอความดีงาม ได้แก่ความไม่มีโรค ความไม่มีอุปัทวะ จงมีแก่ปาณะสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้. ก็ในข้อนี้มีอธิบายว่า จักษุ ชื่อว่าเป็นของสูญ สูญจากความเป็นตน หรือจากความเป็นของที่เกี่ยวเนื่องกับตน ในประโยคทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ จักษุแลชื่อว่าเป็นของสูญจากตนหรือจากสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับตน.๓- ____________________________ ๓- สํ. สฬา. เล่ม ๑๘/ข้อ ๑๐๒/๖๗ แต่เมื่อถือเอาโดยประการนอกนี้ จักษุก็จักไม่พึงสำเร็จด้วยคำว่าตน หรือสิ่งที่เนื่องด้วยตนฉันใด คำที่ว่ารัตนะอันประณีตก็พึงทราบเนื้อความนี้ว่า ความเป็นรัตนะอันประณีต คือรัตนภาพประณีต แต่เมื่อถือเอาโดยประการนอกนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็หาได้สำเร็จว่าเป็นรัตนะไม่ฉันนั้น ด้วยว่าในที่ใดไม่มีรัตนะ ที่นั้นก็ยังสำเร็จว่าเป็นรัตนะได้ แต่ในที่ใดมีความเป็นรัตนะที่ถึงความสัมพันธ์กันโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง กล่าวคือประโยชน์ อีกอย่างหนึ่ง ด้วยคำว่า อิทมฺปิ พุทฺเธ รตนํ พึงทราบเนื้อความในคำนี้อย่างนี้ว่า โดยเหตุแม้นี้ พระพุทธเจ้าแลจัดว่าเป็นรัตนะ. ก็ด้วยพระคาถามีประมาณเท่าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วนี้ ความสวัสดีเกิดแล้วแก่ราชสกุล ภัยก็สงบแล้ว. ด้วยคาถาแม้นี้ อาชญา (อำนาจ .. อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต จูฬวรรค รตนสูตร |