บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ถามว่า พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นเป็นอย่างไร? ตอบว่า การเกิดขึ้นของพระสูตรนี้ จักมีแจ้ง (จักปรากฏ) โดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในการพรรณนาเนื้อความ. ก็ในคำว่า คยายํ วิหรติ ฏงฺกิตมญฺเจ สูจิโลมสฺส ยกฺขสฺส ภวเน นี้. พึงทราบวินิจฉัยว่า คยาคืออะไร เตียงที่มีตั่งคืออะไร และเพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงประทับอยู่ที่ภพของยักษ์นั้น. ข้าพเจ้าจะได้กล่าวเฉลยต่อไป. บ้านก็ดี ท่า (น้ำ) ก็ดี ท่านเรียกว่าคยา. บ้านและท่าแม้ทั้งสองนั้นสมควรในพระสูตรนี้. ด้วยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ประทับอยู่ในประเทศที่ไม่ไกลแห่งบ้านคยา ท่านก็เรียกว่า คยายํ วิหรติ ประทับอยู่ที่บ้านคยา ก็ในที่ใกล้ คือที่ไม่ไกล ได้แก่ที่ใกล้ประตูแห่งบ้านนั้นมีเตียงที่มีแม่แคร่นั้นตั้งอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ประทับอยู่ที่ท่าคยา ท่านก็เรียกว่า คยายํ วิหรติ ประทับอยู่ที่ท่าคยา และที่ท่าคยานั้นมีเตียงที่มีแม่แคร่นั้นตั้งอยู่. เตียงหินซึ่งเขายกหินแผ่นกว้างไปวางไว้บนก้อนหิน ๔ ก้อน เรียกว่าเตียงมีแม่แคร่. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยเตียงมีแม่แคร่นั้นอันเป็นภพของยักษ์ ดุจภพของอาฬวกยักษ์. ก็อีกประการหนึ่ง เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากสมาบัติอันประกอบด้วยพระมหากรุณา ในเวลาใกล้รุ่งวันนั้น ทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นอุปนิสสัยแห่งโสดาปัตติผลแม้ของยักษ์ทั้งสอง คือสูจิโลมยักษ์และขรยักษ์ ฉะนั้นจึงทรงถือบาตรและจีวร ภายในอรุณนั้นเอง (ในเวลาอรุณขึ้น) ได้เสด็จมายังประเทศอันเป็นท่านั้น แม้เป็นภูมิภาคซึ่งสกปรก อันเป็นที่ไหลออกแห่งของไม่สะอาดมีประการต่างๆ มีน้ำลายและน้ำมูกเป็นต้นของประชาชน ซึ่งมาประชุมกันจากทิศต่างๆ แล้วประทับนั่งบนเตียงที่มีแม่แคร่นั้น อันเป็นภพของสูจิโลมยักษ์ เพราะเหตุนั้น พระอานนทเถระจึงกล่าวว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับบนเตียงมีแม่แคร่อันเป็นภพของสูจิโลมยักษ์ ใกล้บ้านคยา (หรือใกล้ท่าคยา). คำว่า เตน โข ปน สมเยน ความว่า สมัยใด พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ภพของสูจิโลมยักษ์นั้น สมัยนั้น ขรยักษ์และสูจิโลมยักษ์ได้ก้าวเข้าไปในที่ไม่ไกลแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ยักษ์ทั้งสองนั้นจึงก้าวเข้าไป. ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป. ในบรรดายักษ์ทั้งสองนั้น จะได้พูดถึงยักษ์ตนหนึ่งก่อน คือ ในอดีตกาล ชายผู้หนึ่งไม่ได้บอกกล่าวเลย ถือเอาน้ำมันของสงฆ์ไปทาสรีระของตน เพราะกรรมนั้นเขาจึงไหม้ในนรก และมาบังเกิดในกำเนิดยักษ์ที่ฝั่งแห่งสระโบกขรณีแห่งคยา เขามีอวัยวะแปลกปลาดด้วยวิบากอันเหลือลงแห่งกรรมนั้นนั่นเอง และผิวหนังของเขามีสัมผัสหยาบเช่น ได้ยินว่า เมื่อใดเขาต้องการจะให้ผู้อื่นกลัว เมื่อนั้นเขาก็ขยายผิวหนังอันเช่น (ส่วน) สูจิโลมยักษ์นอกนี้ ในสมัยแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ เป็น ด้วยกรรมนั้น และด้วยกรรมอื่นอีก เขาจึงไหม้ในนรก และมาเกิดในกำเนิดยักษ์ที่ฝั่งแห่งสระโบกขรณี เขาเป็นผู้มีรูปร่างน่าเกลียดด้วยวิบากอันเหลือลงแห่งกรรมนั้น. ก็ที่กายของสูจิโลมยักษ์นั้นมีขนเหมือนเข็ม ก็ยักษ์นั้นทำสัตว์ทั้งหลายที่ควรให้ตกใจ ให้กลัวอยู่ดุจทิ่มแทงด้วยเข็ม ฉะนั้น เขาจึงได้ชื่อว่า สูจิโลมยักษ์ ก็เพราะเหตุที่เขามีขนดุจเข็มนั่นเองด้วยประการฉะนี้. ยักษ์ทั้งสองนั่นออกจากภพของตนเพื่อไปหากิน ไปได้ครู่เดียวก็กลับมา โดยทางที่ตนไปนั้นเอง มาถึงยังทิสาภาคนอกนี้ ได้ก้าวเข้าไปในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาคเจ้า. ในคำว่า อถ โข ขโร เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. ถามว่า เพราะเหตุไร ยักษ์ทั้งสองเหล่านั้นจึงได้กล่าวอย่างนี้? ตอบว่า ขรยักษ์ได้เห็นอาการของสมณะแล้วกล่าวกะสูจิโลมยักษ์ ส่วนสูจิโลมยักษ์เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ผู้ใดกลัวผู้นั้นหาใช่สมณะไม่ แต่จะต้องเป็นสมณะเทียม เพราะเปรียบเทียบกับสมณะ (แท้) เพราะฉะนั้น เมื่อจะดูหมิ่นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เช่นนั้น แม้จะกล่าวด้วยความรุนแรงว่า บุรุษผู้นี้หาใช่สมณะไม่ เขาเป็นสมณะปลอม เมื่อใคร่จะทดลองอีกจึงกล่าวว่า เราทราบอยู่เพียงไรเป็นต้น คำที่ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า อถ โข เป็นต้นซึ่งท่านกล่าวไว้จำเดิมแต่คำนี้ว่า สูจิโลโม ยกฺโข จนถึงคำว่า อปิจ เต สมฺผสฺโส ปาปโก ก็อีกอย่างหนึ่ง สัมผัสของท่านเลว ดังนี้มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น ด้วยว่าในคำนั้นพึงทราบสัมพันธ์อย่างนี้เพียงอย่างเดียวว่า คำว่า ภควโต กายํ หมายถึงน้อมกายของตนเข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ต่อจากนั้น สูจิโลมยักษ์เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงหวาดหวั่นอยู่ จึงกล่าวว่า สมณะ เราจะถามปัญหากะท่าน ดังนี้เป็นต้น. ถามว่า เพราะเหตุไร สูจิโลมยักษ์จึงถามปัญหา? ตอบว่า ก็สูจิโลมยักษ์นั้นคิดว่า สมณะนี้เป็นมนุษย์ ย่อมไม่กลัวเราด้วยสัมผัสอันเป็น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับปัญหานั้นแล้ว ตรัสว่า น ขฺวาหํ ตํ อาวุโส เป็นต้น (อาวุโส เราไม่กลัวท่านดอก แต่สัมผัสของท่านเลว) คำทั้งปวงนั้น บัณฑิตพึงทราบโดยอาการทุกอย่างตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในอาฬวกสูตรนั้นเอง. ครั้งนั้นแล สูจิโลมยักษ์ได้กล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยพระคาถาว่า ราโค จ โทโส จ เป็นต้น. ในบรรดาคำเหล่านั้น ราคะและโทสะมีนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั้นเอง. บทว่า กุโต นิทานา ได้แก่ มีอะไรเป็นนิทาน คือมีอะไรเป็นเหตุ พึงทราบการอาเทส โต ปัจจัย แห่งสัตตมีวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งปฐมาวิภัตติ. (ในคำว่า กุโต นิทานา) ในสมาสไม่มีการลบ โต ปัจจัยนั้น. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า นิทานา ได้แก่ เกิดแล้ว. อธิบายว่าบังเกิดขึ้นแล้ว. เพราะฉะนั้น จึงมีคำอธิบายว่า เกิดแล้วแต่ที่ไหน คือเกิด ได้แก่บังเกิดแล้วแต่ที่ไหน. ในคำว่า อรตี รตี โลมหํโส กุโตชา ความว่า สูจิโลมยักษ์ถามว่า ธรรม ๓ ประการเหล่านี้ คือ ความไม่พอใจซึ่งท่านแจกไว้อย่างนี้ว่า อรติ อรติกา อนภิรติ อนตฺตมนตา อุกฺกณฺฐิตา ปริตสฺสิตา ในเสนาสนะอันสงัด หรือในอธิกุศลธรรมทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑ ความยินดีในกามคุณทั้งห้า ๑ ความสะดุ้งแห่งจิตที่ถึงความนับว่าขนพองสยองเกล้า เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความสะดุ้งกลัว ๑ เกิดจากอะไร. สองบทว่า กุโต สมุฏฺฐาย ได้แก่ เกิดแต่ไหน? คำว่า มโน หมายถึง กุศลจิต. วิตก ๙ อย่างมีกามวิตกเป็นต้นซึ่งท่านกล่าวไว้ใน อุรคสูตร ชื่อว่า วิตกฺกา. ด้วยบาทพระคาถาว่า กุมารกา ธงฺกมิโวสฺสชนฺติ สูจิโลมยักษ์ถามว่า พวกเด็กชาวบ้าน ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแก้ปัญหาเหล่านั้นของสูจิโลมยักษ์นั้น จึงได้ตรัสคาถาที่สองว่า ราโค จ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิโต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงอัตภาพ. จริงอยู่ ราคะและโทสะเกิดจากอัตภาพ ความไม่ยินดี ความยินดีและความขนพองสยองเกล้าก็เกิดจากอัตภาพ และอกุศลวิตกมีกามวิตกเป็นต้นก็ตั้งขึ้นจากอัตภาพเหมือนกัน แล้วหยั่งลงไปในใจคือกุศล. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามถึงเหตุ มีปกติเป็นต้นอย่างอื่นนั้นด้วยคำว่าอัตภาพนั้น จึงตรัสว่า เกิดแล้วแต่อัตภาพนี้ คือเกิดขึ้นแต่อัตภาพนี้ ชื่อว่าตั้งขึ้นพร้อมแล้วแต่อัตภาพนี้. ก็ความสำเร็จแห่งศัพท์ ในคำว่า อิโต สมุฏฺฐาย มโน วิตกฺกา เป็นต้นนี้ พึงทราบโดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในคาถาที่ ๑. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงวิสัชนาปัญหาเหล่านั้นอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงยังเนื้อความที่พระองค์ตรัสไว้ว่า วิตกทั้งหลายเกิดแล้วแต่อัตภาพ คือเกิดจากอัตภาพ มีสมุฏฐานแต่อัตภาพ ในคำทั้งหลายมีคำว่า อิโต นิทานา เป็นต้นให้สำเร็จ จึงตรัสว่า เสฺนหชา อตฺตสมฺภูตา เป็นต้น. กิเลสทั้งปวงมีราคะเป็นต้นเหล่านี้มีวิตกเป็นปริโยสาน เกิดด้วยความเยื่อใยด้วยอำนาจ บทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำอุปมาซึ่งส่องถึงเนื้อความนั้นจึงตรัสว่า นิโคฺรธสฺเสว ขนฺธชา เหมือนย่านไทรเกิดแต่ต้นไทรฉะนั้น ย่านทั้งหลายเกิดแล้วที่ลำต้นทั้งหลายในต้นไทรนั้น ชื่อว่าเกิดแล้วแต่ลำต้น. คำว่า ขนฺธชา เป็นชื่อของย่านไทรทั้งหลาย. ถามว่า ท่านกล่าว อธิบายไว้อย่างไร. ตอบว่า ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ย่านไทรทั้งหลาย ชื่อว่าเกิดแล้วแต่ลำต้นของต้นไทร เมื่อยางเหนียวแห่งรสอันเกิดแต่น้ำยังมีอยู่ ก็ย่อมเกิดขึ้นได้ และเมื่อเกิดขึ้นก็ย่อมเจริญขึ้นในประเภทแห่งกิ่งทั้งหลายเหล่านั้นๆ ที่ต้นไทรนั้นเองฉันใด กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นเหล่านี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อความเสน่หาคือตัณหาในภายในยังมีอยู่ก็เกิดขึ้นได้ และเมื่อเกิดขึ้นก็ย่อมเจริญขึ้นในทวาร อารมณ์และวัตถุทั้งหลาย คำว่า กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นเหล่านี้เกิดแต่อัตภาพ เกิดจากอัตภาพ และมีอัตภาพเป็นสมุฏฐานดังนี้. บัณฑิตพึงทราบดังพรรณนามานี้. ส่วนในคาถากึ่งที่เหลือมีการพรรณนาเนื้อความซึ่งอธิบายรวมๆ กันทั้งหมดดังต่อไปนี้. ก็กิเลสทั้งหลายเหล่านี้เป็นอันมากซึ่งเกิดแล้วในตนอย่างนี้ ซ่านไปแล้วในกามทั้งหลาย คือว่ากิเลสทั้งหลายเหล่านี้แม้ทั้งสิ้นโดยประการทั้งปวง คือตัวราคะซึ่งเกิดขึ้นในตนด้วยอำนาจ ถามว่า เหมือนกับอะไร. ตอบว่า เหมือนกับเถาย่านทราย ปกคลุมแล้วในป่า. (ธรรมดาว่า) เถาย่านทรายทั้งหลายซึ่งปกคลุมอยู่แล้วในป่า ย่อมเป็นเถาวัลย์ซึ่งรึงรัด คือเกี่ยวเกาะ คล้องเอาไว้ รึงรัดเอาไว้ที่ต้นไทรทั้งหลายอันต่างด้วยกิ่งน้อยและกิ่งใหญ่ทั้งหลายเป็นต้น ดำรงอยู่แล้วฉันใด สัตว์ทั้งหลายเหล่าใดย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่กิเลสนั้นเกิดจากเหตุอะไร ที่ซ่านไปในวัตถุกามทั้งหลายซึ่งมีมากประเภทอย่างนี้. ดูก่อนยักษ์ ท่านจงฟัง สัตว์เหล่านั้นย่อมบรรเทาซึ่งหมู่กิเลสนั้นเสียได้ว่าเหตุเป็นแดนเกิด ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยโตนิทานํ เป็นการแสดงถึงนปุงสกลิงค์. ด้วยคำว่า ยโตนิทานํ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอะไรไว้. สัตว์เหล่าใดย่อมรู้หมู่แห่งกิเลสนั้นอย่างนี้ว่า เกิดจากเหตุอะไร สัตว์เหล่านั้นรู้ซึ่งหมู่ ดูก่อนยักษ์ ท่านจงฟังสุภาษิตนั้นของเราทั้งหลาย. ในคำว่า ยโตนิทานํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการกำหนดรู้ทุกข์ด้วยการทราบชัดซึ่งอัตภาพ และซึ่งการละสมุทัยด้วยการบรรเทาหมู่แห่งกิเลสมีราคะเป็นต้น อันเป็นยางเหนียวคือตัณหา. สัตว์เหล่าใดย่อมบรรเทาหมู่แห่งกิเลสนั้นเสียได้ สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าย่อมข้ามพ้นโอฆะอันข้ามได้โดยยาก คือที่ตนยังไม่เคยข้าม. ด้วยบทว่า อปุนพฺภวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงมรรคภาวนาและการทำนิโรธให้แจ้ง. อธิบายว่า ก็สัตว์เหล่าใดย่อมบรรเทาหมู่แห่งกิเลสนั้นเสียได้ สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าอบรมมรรคโดยแท้ ด้วยว่าหากเว้นจากมรรคภาวนาเสียแล้ว การบรรเทากิเลสจะมีไม่ได้ และสัตว์เหล่าใดอบรมมรรคอยู่ สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าย่อมข้ามโอฆะแม้ทั้ง ๔ อย่างมีกามโอฆะเป็นต้นนี้เสียได้ด้วยญาณ ปกติที่ข้ามได้โดยยาก. จริงอยู่ การข้ามโอฆะจะมีได้ ก็เพราะมรรคภาวนา. บทว่า อติณฺณปุพฺพํ ได้แก่ ที่ตนยังไม่เคยข้ามไปแม้ในที่สุดแห่งความฝัน โดยระยะกาลอันยาวนานนี้. บทว่า อปุนพฺภวาย ได้แก่ เพื่อพระนิพพาน. ยักษ์ที่เป็นสหายกันแม้ทั้งสองเหล่านั้น ฟังถ้อยคำที่แสดงสัจจะ ๔ ประการนี้ดังนี้ ก้าวเข้าไปอยู่โดยลำดับด้วยปัญญาที่ตนอบรมดีแล้วอย่างไร ดังคำเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย ครั้นฟังแล้วย่อมทรงจำธรรมไว้ได้ ย่อมเข้าไปใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้ได้แล้วดังนี้ ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ในที่สุดแห่งคาถานั้นเอง เป็นผู้มีความเลื่อมใส และเป็นผู้มีผิวพรรณเพียงดังทอง ประดับด้วยอลังการอันเป็นทิพย์น่าเลื่อมใส. จบการพรรณนาสูจิโลมสูตร แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย ชื่อ ปรมัตถโชติกา -------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต จูฬวรรค สูจิโลมสูตร จบ. |