บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] หน้าต่างที่ ๖ / ๙. ข้อความเบื้องต้น หญิงขี้หึงทำกรรมชั่วแล้วคิดปกปิด ขณะนั้น พวกญาติผู้เป็นแขกของนางมายังเรือน (ของนาง) แล้ว เปิดประตูเห็นประการอันแปลกนั้นแล้ว แก้หญิงรับใช้ออก. หญิงรับใช้นั้นไปวัด กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระทศพล ในท่ามกลางบริษัท ๔. กรรมชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลัง "ขึ้นชื่อว่าทุจริต แม้เพียงเล็กน้อยบุคคลไม่ควรทำ ด้วยความสำคัญว่า ชนพวกอื่นย่อมไม่รู้กรรมนี้ของเรา (ส่วน) สุจริตนั่นแหละ เมื่อคนอื่นแม้ไม่รู้ ก็ควรทำ เพราะว่าขึ้นชื่อว่าทุจริต แม้บุคคลปกปิดทำ ย่อมทำการเผาผลาญในภายหลัง, (ส่วน) สุจริตย่อมยังความปราโมทย์อย่างเดียวให้เกิดขึ้น" ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
แก้อรรถ สองบทว่า ปจฺฉา ตปฺปติ ความว่า เพราะกรรมนั้น ย่อมเผาผลาญในกาลที่ตนตามระลึกถึงแล้วๆ ร่ำไป. บทว่า สุกตํ ความว่า ส่วนกรรมอันไม่มีโทษ มีสุขเป็นกำไร ยังสัตว์ให้เป็นไปในสุคติอย่างเดียว บุคคลทำแล้วดีกว่า. สองบทว่า ยํ กตฺวา ความว่า บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมไม่เดือดร้อนในภายหลัง คือในกาลเป็นที่ระลึกถึง ชื่อว่าย่อมไม่ตามเดือดร้อน คือเป็นผู้มีโสมนัสอย่างเดียว กรรมนั้นอันบุคคลทำแล้วประเสริฐ. ในกาลจบเทศนา อุบาสกและหญิงนั้น ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. ก็แลชนทั้งหลายทำหญิงรับใช้นั้นให้เป็นไท ในที่นั้นนั่นแล แล้วทำให้เป็นหญิงมีปกติประพฤติธรรม ดังนี้แล. เรื่องหญิงขี้หึง จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท นิรยวรรคที่ ๒๒ |