บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ถามว่า พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นเป็นอย่างไร? ตอบว่า พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นดังต่อไปนี้ :- พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ได้เสด็จจากควงต้นโพธิ ไป เรื่องทั้งปวงนั้น บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในอรรถกถา ก็พระราหุลได้บรรพชาแล้วอย่างนี้ ถึงความเจริญแล้ว พระสารีบุตรนั้นแลก็ได้ให้อุปสมบท ส่วนพระ พระราหุลเถระยังไม่ได้บรรลุอริยภูมิตราบใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงโอวาทพระเถระนั้นตราบนั้น ตั้งแต่กาลที่ท่านยังเป็นหนุ่ม ด้วยทรงพระดำริว่า กุมารนี้สมบูรณ์ด้วยชาติเป็นต้น กุมารนั้นอย่าได้ทำการถือตัวหรือการหยิ่งเพราะอาศัยชาติ โคตร ตระกูลและผิวพรรณเป็นต้นดังนี้แล้ว จึงได้ตรัสพระสูตรนี้บ่อยๆ เพราะฉะนั้น ก็คำว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนท่านพระราหุลเถระด้วยพระคาถาเหล่านี้เนืองๆ ด้วยประการฉะนี้ดังนี้ นี้พระอานนทเถระกล่าวไว้แล้ว ในที่สุดแห่งพระสูตร. ความย่อในคาถาที่ ๑ ในราหุลสูตรนั้น มีดังต่อไปนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนราหุล เธอไม่ได้ดูหมิ่นบัณฑิต ด้วยเรื่องมีชาติเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่อยู่ร่วมกันเป็นนิจแลหรือ ชื่อว่าการทรงไว้ซึ่งคบเพลิง เพราะการทรงไว้ซึ่งประทีปคือญาณ และประทีปคือธรรมเทศนา อัน เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระราหุล เมื่อจะแสดงว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์หาได้กระทำการถือตัวหรือการเย่อหยิ่ง เพราะเหตุที่อยู่ร่วมกัน เหมือนกับคนต่ำต้อยดูถูกท่านผู้ฉลาดไม่ จึงได้กราบทูลคาถาตอบนี้ว่า นาหํ อภิณฺ คาถาตอบนั้นมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงโอวาทพระราหุลเถระนั้นให้ยิ่งขึ้น จึงได้ตรัสพระคาถาที่เหลือทั้งหลายว่า ปญฺจ กามคุเณ ดังนี้เป็นต้น ในพระคาถาที่เหลือนั้น บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้. เพราะเหตุที่กามคุณทั้ง ๕ มีรูปเป็นที่รัก มีชาติเป็นที่รักสำหรับสัตว์ทั้งหลาย อันสัตว์ทั้งหลายปรารถนาต้องการยิ่งนักและใจของสัตว์เหล่านั้นก็ยินดี ก็ท่านพระราหุล ในคำว่า พระราหุลออกบวชด้วยศรัทธา ดังนี้นั้น หากจะพึงมีคำถามสอดเข้ามาว่า ก็ท่านผู้มีอายุ ปรารถนาอยู่ซึ่งรัชสมบัติอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้บรรพชาโดยพลการมิใช่หรือ เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า พระราหุลออก ข้อนี้ข้าพเจ้าจะได้กล่าวเฉลย. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ ก็เพราะพระราหุลมีพระทัยน้อมไปในเนกขัมมะ จริงอยู่ ท่านผู้มีอายุนี้มีพระทัยน้อมไปในเนกขัมมะนานแล้ว คือเมื่อเป็นพระยา อีกอย่างหนึ่ง ในคำว่า สทฺธาเยว ฆรา นิกฺขมฺม นี้ มีอธิบายว่า เธอออกจาก บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะแสดงข้อปฏิบัติ ด้วยการกระทำที่สุดทุกข์ในวัฏฏะตั้งต้นแต่การละสมุทัย จึงตรัสพระคาถานี้ว่า มิตฺเต ภชสฺสุ กลฺยาเณ ดังนี้เป็นต้น. พึงทราบอธิบายในพระคาถานี้ดังต่อไปนี้. ชนทั้งหลายผู้ยิ่งด้วยศีลเป็นต้น ชื่อว่ากัลยาณมิตร บุคคลคบอยู่ซึ่งกัลยาณมิตรเหล่านั้น ย่อมเจริญด้วยคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้น ประดุจต้นสาละใหญ่อาศัยป่าหิมวันต์ เจริญอยู่ด้วยรากเป็นต้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มิตฺเต ภชสฺสุ กลฺยาเณ ดังนี้. สองบาทพระคาถาว่า ปนฺตญฺจ สยนาสนํ วิวิตฺตํ อปฺปนิคฺโฆสํ ความว่า ก็ที่นอนที่นั่งใดเป็นที่สงัด คืออยู่ไกล เงียบ ได้แก่ไม่เกลื่อนกล่นปราศจากเสียงกึกก้อง. ความสำคัญว่า ป่าย่อมเกิดขึ้นในเสนาสนะใด ด้วยเสียงแห่งสัตว์มีเนื้อและสุกรเป็นต้น เธอจงเสพที่นอนที่นั่งเห็นปานนั้น. บาทพระคาถาว่า มตฺตญฺญู โหหิ โภชเน ได้แก่ จงเป็นผู้รู้ประมาณ (ในโภชนะ). อธิบายว่า เธอจงรู้จักประมาณในการรับ และประมาณในการบริโภค. ในประมาณทั้งสองอย่างนั้น ผู้รู้จักประมาณในการรับ เมื่อไทยธรรมมีน้อยทั้งเมื่อทายกต้องการจะให้น้อย ก็จงรับแต่น้อยเท่านั้น เมื่อไทยธรรมมีน้อย แต่ทายกแม้จะต้องการให้มาก ก็ควรรับแต่น้อยเหมือนกัน แต่เมื่อไทยธรรมมีมาก ทายกต้องการจะให้น้อย ก็ควรรับน้อยเหมือนกัน ก็เมื่อไทยธรรมแม้มีมาก ทั้งทายกก็ต้องการจะให้มาก ก็ควรจะรู้กำลังของตนแล้วรับ. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบายเฉพาะความประมาณเท่านั้นดังนี้แล. ภิกษุผู้รู้ประมาณในการบริโภค พิจารณาโดยแยบคายแล้วพึงฉันโภชนะ ประดุจบุคคลบริโภคเนื้อบุตร และประดุจบุคคลใช้น้ำมันหยอดเพลาฉะนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแนะนำด้วยการคบกัลยาณมิตรอันเป็นอุปการะแก่พรหมจรรย์ และให้พระราหุลสมาทานในปาริสุทธิศีล คือการบริโภคปัจจัยโดยตรัสถึงการใช้สอยเสนาสนะเป็นประธาน ด้วยพระคาถานี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพราะเหตุที่การเลี้ยงชีพผิดจะมีได้ ก็เพราะความอยากในจีวรเป็นต้นฉะนั้น จึงทรงปฏิเสธ ในพระคาถาบทเหล่านั้น บทว่า ปจฺจเย ได้แก่ คิลานปัจจัย (ปัจจัยเพื่อคนไข้) บทว่า เอเตสุ ได้แก่ ในเรื่องที่ให้ภิกษุทั้งหลายเกิดความอยากในปัจจัย ๔ อย่างเหล่านี้มีจีวรเป็นต้น. สองบทว่า ตณฺหมากาสิ ความว่า (เมื่อเห็นโทษโดยนัยว่า) ปัจจัยทั้ง ๔ อย่างเหล่านั้นเป็นเครื่องเกื้อกูลแก่บุคคลทั้งหลายผู้ทุรนทุรายอยู่เป็นนิจ ก็เพื่อประโยชน์แก่การปกปิดอวัยวะที่ทำความละอายให้กำเริบเป็นต้นนั้นเอง ย่อมเป็นเครื่องค้ำจุนซึ่งร่างกายอันทุรพลยิ่งนัก ประดุจเสาเป็นเครื่องค้ำเรือนเก่าฉะนั้นดังนี้ ก็อย่าให้ความอยากเกิดขึ้น เมื่อไม่ให้เกิดขึ้นอยู่ ได้แก่เมื่อไม่ให้บังเกิดขึ้นอยู่ ก็จงอยู่ (ด้วยการไม่ให้ตัณหาบังเกิดขึ้นนั้น) ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะว่า เธออย่าได้มาสู่โลกอีก. บาทพระคาถาว่า มา โลกํ ปุนราคมิ ความว่า ก็บุคคลกระทำซึ่งความอยากในปัจจัยเหล่านี้อยู่ ถูกความอยากคร่ามาอยู่ ย่อมมาสู่โลกนี้แม้อีก เธอนั้นอย่าได้ทำความอยากในปัจจัยเหล่านี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอก็จักไม่มาสู่โลกนี้อีก. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระราหุลทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเราว่า เธออย่าได้กระทำความอยากในจีวรดังนี้ จึงได้สมาทานธุดงค์ ๒ ข้อที่เกี่ยวกับจีวร คือ ปังสุกูลิกังคธุดงค์ ๑ เตจีวริกังคธุดงค์ ๑. ท่านพระราหุลนั้นทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเราว่า เธออย่าได้กระทำความอยากในบิณฑบาต จึงได้สมาทานธุดงค์ ๕ ข้อที่เกี่ยวกับบิณฑบาต คือ ปิณฑ ท่านพระราหุลนั้นทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะเราว่า เธออย่าได้ทำความอยากในเสนาสนะดังนี้ จึงได้สมาทานธุดงค์ ๖ ข้อที่เกี่ยวข้องด้วยเสนาสนะ คือ อารัญ ท่านพระราหุลนั้นทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะเราว่า เธออย่าได้กระทำความอยากในคิลานปัจจัย จึงเป็นผู้สันโดษแล้วด้วยความสันโดษ ๓ ในปัจจัยทั้งปวงคือ ยถาลาภสันโดษ ยถาพลสันโดษ ยถาสารุปปสันโดษ เป็นผู้มีปกติรับคำสอนด้วยความเคารพ เหมือนกุลบุตรที่ว่าง่าย. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงให้ท่านพระราหุลสมาทานด้วยอาชีวปาริสุทธิศีลแล้ว บัดนี้ เมื่อจะให้ท่านสมาทานในศีลที่เหลือ และในสมถะและวิปัสสนาทั้งหลาย จึงตรัสว่า สํวุโต ปาติโมกฺขสฺมึ ดังนี้เป็นต้น. ในบรรดาบททั้งหลายเหล่านั้น ในบาทคาถานี้ว่า สํวุโต ปาติโมกฺขสฺมึ พึงเพิ่มบาลีที่เหลือเข้าว่า ภวสฺสุ หรือพึงทราบสัมพันธ์ด้วยบทสุดท้ายว่า ในบาทคาถาที่ ๒ ก็พึงเติมบาลีที่เหลือเข้าเช่นเดียวกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชักชวนท่านพระราหุลในปาติโมกขสังวรศีลและอินทริยสังวรศีล ด้วยพระดำรัส ๒ อย่างเหล่านี้ อย่างนี้. ก็ในพระคาถาว่า อินฺทฺริเยสุ จ ปญฺจสุ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอินทรีย์ ๕ ประการด้วยสามารถแห่งเนื้อความที่ปรากฏแล้ว. แต่โดยลักษณะแล้วพึงทราบว่า แม้อินทรีย์ที่ ๖ ก็เป็นอันพระองค์ตรัสไว้แล้วเหมือนกัน. บาทพระคาถาว่า สตี กายคตา ตฺยตฺถุ ความว่า สติอันเป็นไปในกาย [กายคตาสติ] อันต่างด้วยจตุธาตุววัฏฐาน สัมปชัญญะ ๔ อานาปานสติและอาหาเรปฏิกูลสัญญา จงมีคือว่าจงเกิดมีแก่ท่านผู้ดำรงอยู่แล้วในจตุปาริสุทธิศีล ๔ อย่างนี้ คือว่า จงเจริญกายคตาสตินั้น. บาทพระคาถาว่า นิพฺพิทาพหุโล ภว ความว่า ท่านจงเป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่ายในสังสารวัฏ คือว่า จงมีความสำคัญหมายในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุปจารภูมิอันเป็นส่วนแห่งการแทงตลอดด้วยคำแม้ประมาณเท่านี้ บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงอัปปนาภูมิ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า นิมิตฺตํ ปริ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิมิตฺตํ ได้แก่ สุภนิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งราคะ. ด้วยคำว่า นิมิตฺตํ นั้นนั่นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงทำสุภนิมิตนั้นให้วิเศษขึ้นไปอีก จึงตรัสว่า สุภํ ราคุปสญฺหิตํ สุภนิมิตที่ก่อให้เกิดความกำหนัด. บทว่า ปริวชฺเชหิ ได้แก่ จงเว้นด้วยมนสิการ. บาทพระคาถาว่า อสุภาย จิตฺตํ ภาเวหิ ความว่า จงอบรมจิตโดยประการที่อสุภภาวนาในกายที่มีวิญญาณหรือไม่มีวิญญาณ จะสำเร็จได้. บาทพระคาถาว่า เอกคฺคํ สุสมาหิตํ ความว่า จิตเช่นนี้ของท่านจะเป็นจิตที่มีอารมณ์เดียวได้โดยอุปจารสมาธิ (และ) จะเป็นจิตตั้งมั่นได้ด้วยอัปปนาภูมิแห่งจิตนั้นอย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงวิปัสสนาจึงตรัสว่า อนิมิตฺตํ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านี้ บาทพระคาถาว่า อนิมิตฺตญฺจ ภาเวหิ อธิบายว่า ท่านผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยสมาธิอันเป็นส่วนแห่งการแทงตลอดอย่างนี้แล้ว จงเจริญวิปัสสนา. จริงอยู่ วิปัสสนาย่อมได้โวหาร (การเรียก) ว่า อนิมิตฺตํ เพราะไม่ถือเอาซึ่งนิมิตทั้งหลายมีราคนิมิตเป็นต้น โดยนัยว่า อนิจจานุปัสสนาญาณ ย่อมพ้นจากนิมิต (การกำหนดหมาย) ว่าเที่ยง จึงเป็นอนิมิตตวิโมกข์ เหมือนอย่างที่ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวไว้ว่า๑- ดูก่อนอาวุโส ข้าพเจ้านั้นแลเข้าเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิตอยู่ เพราะการไม่ใส่ใจซึ่งนิมิตทั้งปวง. ดูก่อนอาวุโส เมื่อข้าพเจ้าอยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่นี้ อนิมิตตานุสารีวิญญาณ ย่อมมีได้ดังนี้. ____________________________ ๑- สํ. สฬา. เล่ม ๑๘/ข้อ ๕๒๓ บาทพระคาถาว่า มานานุสยมุชฺชห ความว่า เธอจะละ ได้แก่จงสละ คือจงสลัดทิ้งเสียซึ่งมานานุสัยโดยลำดับ เป็นต้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนเมฆิยะ เมื่อบุคคลได้อนิมิตต ____________________________ ๒- องฺ. นวก. เล่ม ๒๓/ข้อ ๒๐๗ ขุ. อุ. เล่ม ๒๕/ข้อ ๘๙ สองบาทพระคาถาว่า ตโต มานาภิสมยา อุปสนฺโต จริสฺสสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้พระเทศนาจบลงด้วยยอดคือพระอรหัตว่า ต่อแต่นั้น เพราะการบรรลุคือเพราะความสิ้นไปเสื่อมไป ได้แก่เพราะการละคือเพราะการสละคืนซึ่งมานะด้วยอริยมรรคอย่างนี้ เธอจักเป็นผู้สงบคือดับสนิท ได้แก่เป็นผู้เย็น คือว่าเป็นผู้เว้นแล้วจากความกระวนกระวายและความเร่าร้อนทั้งปวง จักเที่ยวไปคือว่าจักอยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่คือผลสมาบัติอย่างใดอย่างหนึ่งบรรดาสุญญตนิมิต อนิมิตตนิมิต และอปณิหิตนิมิต ตราบเท่าที่เข้าสู่นิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ. ต่อจากนี้ไปคำว่า อิตฺถํ สุทํ ภควา เป็นต้น เป็นคำของพระสังคีติกาจารย์. บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า อิตฺถํ สุทํ ได้แก่ ได้ยินมาอย่างนี้. มีคำอธิบายว่า อย่างนี้นั้นแล. คำที่เหลือในคาถานี้มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น. ก็ท่านพระราหุลอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานโอวาทอยู่อย่างนี้ ดำรงอยู่แล้วในพระอรหัตพร้อมกับเทวดาทั้งหลายเป็นอเนก ในที่สุดแห่งจูฬราหุโลวาทสูตร ในเมื่อธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งการแก่รอบเพื่อการได้วิมุตติถึงความแก่รอบแล้ว. จบการพรรณนาราหุลสูตร แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย ชื่อ ปรมัตถโชติกา ------------------------------------------------ .. อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต จูฬวรรค ราหุลสูตร จบ. |