บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] หน้าต่างที่ ๔ / ๘. ข้อความเบื้องต้น พระเจ้าปเสนทิโกศลง่วงเพราะเสวยจุเกินไป พระศาสดาทรงติการบริโภคจุ พระราชา. ถูกละ พระเจ้าข้า, ตั้งแต่กาลที่บริโภคแล้ว หม่อมฉันมีทุกข์มาก. ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะท้าวเธอว่า "มหาบพิตร คนบริโภคมากเกินไป ย่อมมีทุกข์อย่างนี้" แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :-
แก้อรรถ บทว่า มหคฺฆโส ความว่า ผู้บริโภคมาก เหมือนอาหรหัตถก บทว่า นิวาปปุฏฺโฐ ความว่า ถูกปรนปรือแล้วด้วยข้าวหมูมีรำเป็นต้น. จริงอยู่ สุกรบ้านเขาเลี้ยงไว้ตั้งแต่เวลายังอ่อน ในเวลามีสรีระอ้วน ไม่ได้เพื่อจะออกจากเรือนไปข้างนอก ส่ายไปส่ายมาในที่ต่างๆ มีใต้เตียงเป็นต้นแล้ว ย่อมนอนหายใจฟูดฟาดอยู่เท่านั้น. ท่านกล่าวคำอธิบายนี้ว่า "บุคคลผู้มีความง่วงงุน กินจุ และเมื่อไม่อาจยัง ในขณะนั้น เขาย่อมไม่อาจเพื่อมนสิการไตรลักษณ์ คือ "อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา" ได้ เพราะไม่มนสิการไตรลักษณ์เหล่านั้น จึงชื่อว่ามีปัญญาทึบ ย่อมเข้าห้อง คือไม่พ้นไปจากการอยู่ในห้อง." พระศาสดาทรงบอกอุบายบรรเทาการกินจุ คนผู้มีสติทุกเมื่อ รู้จักประมาณในโภชนะที่ได้แล้วนั้น ย่อมมีโรคภัยไข้เจ็บน้อย แก่ช้า อายุยืน. ดังนี้แล้ว โปรดให้อุตตรมาณพเรียนไว้แล้ว ทรงแนะอุบายว่า "เธอพึงกล่าวคาถานี้เฉพาะในเวลาที่พระราชาเสวย และพึงให้พระราชาทรงลดโภชนะลงด้วยอุบายนี้" เขาได้กระทำเช่นนี้. สมัยต่อมา พระราชาทรงกระปรี้กระเปร่า มีพระสรีระเบา ทรงถึงความสำราญ เพราะความที่ทรงมีพระกระยาหารทะนานหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง ทรงมีความคุ้นเคยบังเกิดขึ้นในพระศาสดาแล้ว ทรงให้อสทิสทานเป็นไป ๗ วัน. ในเพราะทรงอนุโมทนาทาน มหาชนซึ่งมาประชุม (ณ ที่นั้น) บรรลุคุณวิเศษใหญ่แล้ว ดังนี้แล. เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท นาควรรคที่ ๒๓ |