บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] ๑. เรื่องภิกษุ ๕ รูป [๒๕๒] ข้อความเบื้องต้น ภิกษุ ๕ รูปรักษาทวารต่างกัน ต่อมาวันหนึ่ง พวกเธอประชุมกันแล้ว เถียงกันว่า "ผมย่อมรักษาทวารที่รักษาได้ยาก, ผมย่อมรักษาทวารที่รักษาได้ยาก" แล้วกล่าวว่า "พวกเราทูลถามพระศาสดาแล้ว จักรู้เนื้อความนี้" จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา กราบทูลถามว่า "พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์รักษาทวารมีจักษุทวารเป็นต้นอยู่ ย่อมสำคัญว่า ทวารที่ตนๆ รักษานั่นแล เป็นสิ่งที่รักษาได้โดยยาก บรรดาพวกข้าพระองค์ ใครหนอแล? ย่อมรักษาทวารที่รักษาได้โดยยาก." พระศาสดาทรงแก้ความเข้าใจผิดของภิกษุ ๕ รูป อันภิกษุเหล่านั้นทูลวิงวอนว่า "เมื่อไร? พระเจ้าข้า" จึงทรงยังเรื่องตักกสิลชาดก๑- ให้พิสดาร แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :- "เราทั้งหลาย ไม่ได้ถึงอำนาจแห่งรากษสทั้งหลายเลย เพราะความเป็นผู้ตั้งมั่น ด้วยความเพียรอันมั่นในอุบายเครื่อง แนะนำของท่านผู้ฉลาด และเพราะความเป็นผู้ขลาดต่อภัย ความสวัสดีจากภัยใหญ่นั้น ได้มีแล้วแก่เรา." ____________________________ ๑- ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๑๓๒. ปัญจภีรุกชาดก. อรรถกถาปัญจภีรุกชาดก. ซึ่งพระมหาสัตว์ผู้ได้รับอภิเษกแล้ว ในเมื่อราชตระกูลถึงความสิ้นไปแห่งชีวิต เพราะอำนาจแห่งรากษสทั้งหลาย ประทับนั่งเหนือราชอาสน์ ณ ภายใต้เศวตฉัตร ทอดพระเนตรดูสิริสมบัติของพระองค์แล้ว ตรัสว่า "ชื่อว่าความเพียรนี่ สัตว์ทั้งหลายควรทำแท้" แล้วทรงเปล่งด้วยอำนาจแห่งความเบิกบาน ทรงประชุมชาดกว่า "แม้กาลนั้น เธอทั้งหลายเป็นชน ๕ คน มีอาวุธในมือ แวดล้อมพระมหาสัตว์ซึ่งเสด็จออกไปเพื่อประโยชน์จะยึดเอาราชสมบัติในเมืองตักกสิลา เดินทางไปไม่สำรวมแล้วในอารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้น ที่รากษสทั้งหลายนำเข้ามา ด้วยอำนาจแห่งทวารมีจักษุทวารเป็นต้น ในระหว่างทาง ไม่ประพฤติในโอวาทของบัณฑิต แลดูอยู่ ถูกรากษสทั้งหลายเคี้ยวกิน ถึงความสิ้นไปแห่งชีวิต, ส่วนพระราชาผู้ทรงสำรวมในอารมณ์เหล่านั้น ไม่เอื้อเฟื้อถึงนางยักษิณีผู้มีเพศดุจเทพยดา แม้ติดตามไปอยู่ข้างหลังๆ เสด็จถึงเมืองตักกสิลาโดยสวัสดิภาพ แล้วถึงความเป็นพระราชา คือเราแล" แล้วตรัสว่า "ธรรมดาภิกษุ ควรสำรวมทวารแม้ทั้งหมด เพราะว่า ภิกษุสำรวมทวารเหล่านั้นนั่นแล ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรม ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
แก้อรรถ ก็ในกาลใด รูปารมณ์มาสู่คลองในจักษุทวารของภิกษุ ในกาลนั้น เมื่อภิกษุไม่ยินดีในอารมณ์ที่น่าปรารถนา ไม่ยินร้ายในอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา ไม่ยังความหลงให้เกิดขึ้นในเพราะความเพ่งเล็งอันไม่สม่ำเสมอ, ความสำรวม คือความกั้น ได้แก่ความปิด หมายถึงความคุ้มครอง ชื่อว่าเป็นกิริยาอันภิกษุทำแล้วในทวารนั้น ความสำรวมทางจักษุนั้นเห็นปานนั้นของภิกษุนั้น เป็นคุณยังประโยชน์ให้สำเร็จ. นัยแม้ในทวารอื่นมีโสตทวารเป็นต้น ก็เหมือนกับนัยนี้. ก็ความสำรวมหรือความไม่สำรวม ย่อมไม่เกิดในทวารทั้งหลายมีจักษุทวารเป็นต้นเลย แต่ จริงอยู่ ในคราวนั้น ความไม่สำรวมเมื่อเกิดขึ้นเป็นอกุศลธรรม ๕ อย่างนี้ คือ "ความไม่เชื่อ ความไม่อดทน ความเกียจคร้าน ความหลงลืมสติ ความไม่รู้" ย่อมได้ในอกุศลวิถี. ความสำรวมเมื่อเกิดขึ้นเป็นกุศลธรรม ๕ อย่างนี้ คือ "ความเชื่อ ความอดทน ความเพียร ความระลึกได้ ความรู้" ย่อมได้ในกุศลวิถี. ก็ปสาทกายก็ดี โจปนกายก็ดี ย่อมได้ในสองบทนี้ว่า "กาเยน สํวโร" ก็คำว่าปสาทกายและโจปนกาย แม้ทั้งสองนั่น คือกายทวารนั่นเอง. ในกายทวารทั้งสองนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความสำรวมและความไม่สำรวมไว้ในปสาททวารเทียว. ตรัสปาณาติบาต อทินนาทาน และมิจฉา โจปนวาจา ตรัสไว้แม้ในสองบทนี้ว่า "สาธุ วาจาย" ทวารนั้น ชื่อว่าอันภิกษุไม่สำรวมแล้ว เพราะวจีทุจริตทั้งหลายมีมุสาวาทเป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นอยู่ พร้อมด้วยโจปนวาจานั้น, ชื่อว่าอันภิกษุสำรวมแล้ว เพราะวิรัติทั้งหลาย มีเจตนาเป็นเครื่องเว้นจากมุสาวาทเป็นต้น. มโนทุจริตทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้น กับด้วยใจอื่นจากใจที่แล่นไป ย่อมไม่มีแม้ในสองบทนี้ว่า "มนสา สํวโร" แต่ทวารนั้น ชื่อว่าอันภิกษุไม่สำรวมแล้ว เพราะมโนทุจริตทั้งหลายมี สองบทว่า สาธุ สพฺพตฺถ ความว่า ความสำรวมแม้ในทวารทั้งปวงมีจักษุทวารเป็นต้นเหล่านั้น เป็นคุณยังประโยชน์ให้สำเร็จ. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงทวารที่ภิกษุสำรวม ๘ อย่าง และทวารที่ภิกษุไม่สำรวม ๘ อย่าง ด้วยพระพุทธพจน์เพียงเท่านี้. ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในทวารที่ไม่สำรวม ๘ อย่างนั้น ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ซึ่งมีวัฏฏะเป็นมูลทั้งสิ้น, ส่วนภิกษุผู้ตั้งอยู่ในทวารที่สำรวม ย่อมพ้นจากทุกข์ซึ่งมีวัฏฏะเป็นมูลแม้ทั้งสิ้น; เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "สพฺพตฺถ สํวุโต ภิกฺขุ สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ." ในกาลจบเทศนา ภิกษุ ๕ รูปตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่มหาชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล. เรื่องภิกษุ ๕ รูป จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ภิกขุวรรคที่ ๒๕ |