![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |||||||||||||||||||||||||||||||
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() หน้าต่างที่ ๕ / ๑๒. ข้อความเบื้องต้น ภิกษุคบภิกษุพวกพระเทวทัตเพราะเห็นแก่ลาภ ภิกษุผู้เป็นฝักฝ่ายพระศาสดา. ผมไปสู่ที่ชื่อโน้นเพื่อเที่ยวบิณฑบาต. ภิกษุผู้เป็นฝักฝ่ายพระเทวทัต. ท่านได้บิณฑบาตแล้วหรือ? ภิกษุผู้เป็นฝักฝ่ายพระศาสดา. เออ เราได้แล้ว. ภิกษุผู้เป็นฝักฝ่ายพระเทวทัต. ในที่นี้แหละ พวกผมมีลาภและสักการะเป็นอันมาก ขอท่านจงอยู่ในที่นี้แหละสัก ๒-๓ วันเถิด. เธออยู่ในที่นั้น ๒-๓ วันตามคำของภิกษุนั้นแล้ว ก็ได้ไปสู่ที่อยู่ของตนตามเดิม. ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระตถาคตว่า "พระเจ้าข้า ภิกษุนี้บริโภคลาภและสักการะที่เกิดขึ้นแก่พระเทวทัต, เธอเป็นฝักฝ่ายของพระเทวทัต." พระศาสดารับสั่งให้เรียกภิกษุนั้นมาแล้ว ตรัสถามว่า "ได้ยินว่า เธอได้ทำอย่างนั้น จริงหรือ?." ภิกษุ. จริง พระเจ้าข้า, ข้าพระองค์อาศัยภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งอยู่ในที่นั้น ๒-๓ วัน ก็แต่ว่า ข้าพระองค์มิได้ชอบใจลัทธิของพระเทวทัต. ภิกษุควรยินดีในลาภของตนเท่านั้น อันภิกษุทั้งหลายทูลวิงวอนว่า "พระเจ้าข้า ในบัดนี้ พวกข้าพระองค์เห็นภิกษุนี้ด้วยตนเองก่อน แต่ในกาลก่อน ภิกษุนี่พอใจลัทธิของใครเที่ยวไป? ขอพระองค์โปรดตรัสบอกแก่พวกข้าพระองค์เถิด" จึงทรงนำอดีตนิทานมา ทรงยังมหิลามุขชาดก๑- นี้ให้พิสดารว่า :- ช้างชื่อมหิลามุข ฟังคำของพวกโจรก่อนแล้ว เที่ยวฟาดบุคคลผู้ไปตามอยู่, แต่พอฟังคำของสมณะ ผู้สำรวมดีแล้ว ก็เป็นช้างประเสริฐ ตั้งอยู่แล้วในคุณ ทั้งปวง. ____________________________ ๑- ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๒๖. อรรถกถา ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๒๖. แล้วตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาภิกษุเป็นผู้ยินดีด้วยลาภของตนเท่านั้น การ เมื่อจะทรงแสดงธรรม ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
แก้อรรถ จริงอยู่ ภิกษุผู้เว้นการเที่ยวไปตามตามลำดับตรอก เลี้ยงชีพอยู่ด้วยการแสวงหาอันไม่สมควร ชื่อว่าดูหมิ่น คือดูแคลน ได้แก่รังเกียจลาภของตน เพราะเหตุนั้น ภิกษุไม่ควรดูหมิ่นลาภของตน ด้วยการไม่ทำอย่างนั้น. สองบทว่า อญฺเญสํ ปิหยํ ความว่า ไม่ควรเที่ยวปรารถนาลาภของคนเหล่าอื่น. บาทพระคาถาว่า สมาธึ นาธิคจฺฉติ ความว่า ก็ภิกษุเมื่อปรารถนาลาภของชนเหล่าอื่นอยู่ ถึงความขวนขวายในการทำบริขารมีจีวรเป็นต้น แก่ชนเหล่านั้น ย่อมไม่บรรลุอัปปนาสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ. บาทพระคาถาว่า สลาภํ นาติมญฺญติ ความว่า ภิกษุแม้เป็นผู้มีลาภน้อย เมื่อเที่ยวไปตามลำดับตรอกโดยลำดับแห่งตระกูลสูงและต่ำ ชื่อว่าไม่ดูแคลนลาภของตน. บทว่า ตํ เว เป็นต้น ความว่า เทพดาทั้งหลายย่อมสรรเสริญ คือชมเชย ภิกษุนั้นคือผู้เห็นปานนั้น ผู้ชื่อว่ามีอาชีวะหมดจด เพราะความเป็นผู้มีชีวิตเป็นสาระ ชื่อว่าผู้ไม่เกียจคร้าน เพราะความเป็นผู้ไม่ย่อท้อด้วยอาศัยกำลังแข้งเลี้ยงชีพ. ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลายมีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล. เรื่องภิกษุคบภิกษุผู้เป็นฝักฝ่ายผิดรูปใดรูปหนึ่ง จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ภิกขุวรรคที่ ๒๕ |