บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] [๑๓] [๑๔] [๑๕] [๑๖] [๑๗] [๑๘] [๑๙] [๒๐] [๒๑] [๒๒] [๒๓] [๒๔] [๒๕] [๒๖] [๒๗] [๒๘] [๒๙] [๓๐] [๓๑] [๓๒] [๓๓] [๓๔] [๓๕] [๓๖] [๓๗] [๓๘] [๓๙] หน้าต่างที่ ๒๖ / ๓๙. ข้อความเบื้องต้น พระขีณาสพถือเอาของคนอื่นด้วยบังสุกุลสัญญา ลำดับนั้น พระขีณาสพรูปหนึ่งทำภัตกิจแล้ว กำลังเดินไปสู่วิหาร เห็นผ้าสาฎกนั้นแล้ว เหลียวดูข้างโน้นและข้างนี้ เมื่อไม่เห็นใครๆ จึงคิดว่า "ผ้าสาฎกนี้หาเจ้าของมิได้" แล้วอธิษฐานเป็นผ้าบังสุกุล ถือเอาแล้ว. ขณะนั้น พราหมณ์เห็นท่านแล้ว ด่าพลางเข้าไปหา กล่าวว่า "สมณะโล้น ท่านถือเอาผ้าสาฎกของข้าพเจ้าทำไม?" พระขีณาสพ. พราหมณ์ นั่นผ้าสาฎกของท่านหรือ? พราหมณ์. เออ สมณะ. พระขีณาสพกล่าวว่า "ฉันไม่เห็นใครๆ จึงถือเอาผ้าสาฎกนั้น ด้วยสัญญาว่าเป็นผ้าบังสุกุล, ท่านจงรับเอาผ้านั้นเถิด" ให้ (ผ้าสาฎก) แก่พราหมณ์นั้นแล้วไปสู่วิหาร บอกเนื้อความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายฟังคำของท่านแล้ว เมื่อจะทำการเยาะเย้ยกับด้วยท่าน จึงกล่าวว่า "ผู้มีอายุ ผ้าสาฎกยาวหรือสั้น หยาบหรือละเอียด" พระขีณาสพกล่าวว่า "ผู้มีอายุทั้งหลาย ผ้าสาฎกยาวหรือสั้น หยาบหรือละเอียดก็ช่างเถิด, ความอาลัยในผ้าสาฎกนั้นของผมไม่มี ผมถือเอาด้วยความสำคัญว่าผ้าบังสุกุล (ต่างหาก)." ภิกษุทั้งหลายฟังคำนั้นแล้ว กราบทูลแด่พระตถาคตว่า "พระเจ้าข้า ภิกษุนั่นกล่าวคำไม่จริง พยากรณ์พระอรหัตผล." พระขีณาสพไม่ถือเอาของคนอื่นด้วยเจตนาขโมย ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
แก้อรรถ ความว่า บุคคลใด ย่อมไม่ถือเอาสิ่งของยาวหรือสั้น บรรดาวัตถุทั้งหลายมีผ้าสาฎกและเครื่องประดับเป็นต้น น้อยหรือใหญ่ บรรดาวัตถุทั้งหลายมีแก้วมณีและแก้วมุกดาเป็นต้น งามหรือไม่งาม ด้วยอำนาจแห่งวัตถุอันมีค่ามากและมีค่าน้อย อันบุคคลอื่นหวงแหนแล้วในโลกนี้, เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์. ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล. ____________________________ ๑- ตสฺสตฺโถ ... อตฺโถ นี้อาจจะแปลได้อีกนัยหนึ่งว่า เนื้อความว่า ... ดังนี้ เป็นเนื้อความแห่งคำอันเป็นพระคาถานั้น. เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖ |