บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] [๑๓] [๑๔] [๑๕] [๑๖] [๑๗] [๑๘] [๑๙] [๒๐] [๒๑] [๒๒] [๒๓] [๒๔] [๒๕] [๒๖] [๒๗] [๒๘] [๒๙] [๓๐] [๓๑] [๓๒] [๓๓] [๓๔] [๓๕] [๓๖] [๓๗] [๓๘] [๓๙] หน้าต่างที่ ๓๗ / ๓๙. ข้อความเบื้องต้น วิสาขอุบาสกบรรลุอนาคามิผล นางคิดว่า นี้เรื่องอะไรกันหนอ? คิดว่า ข้อนั้นจงยกไว้ เราจักรู้ในเวลาบริโภค แล้วนำภัตเข้าไปในเวลาบริโภค. ในวันอื่นๆ อุบาสกนั้นพูดว่า "มาเถิด, เราบริโภคด้วยกัน." แต่ในวันนั้น เป็นผู้นิ่งเฉย บริโภคแล้ว. นางคิดว่า "สามีคงจักโกรธ ด้วยเหตุอะไรๆ แน่นอน." ครั้งนั้น วิสาขอุบาสกเรียกนางในเวลานั่งตามสบายมาแล้ว กล่าวกะนางว่า "ธรรมทินนา หล่อนจงรับทรัพย์สมบัติทั้งปวงในเรือนนี้เถิด." นางคิดว่า "ธรรมดาว่า คนทั้งหลายโกรธแล้วย่อมไม่ให้ใครรับทรัพย์สมบัติ นี่เรื่องอะไรกันหนอ?" จึงกล่าวว่า "นาย ก็ท่านเล่า?" อุบาสก. จำเดิมแต่นี้ ฉันจักไม่จัดแจงอะไรๆ. ธรรมทินนา. ใครจักรับน้ำลายที่ท่านบ้วนทิ้ง เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านก็จงอนุญาตการบวชแก่ดิฉันเถิด. อุบาสกนั้นรับว่า "ดีละ นางผู้เจริญ" แล้วนำนางไปสู่สำนักภิกษุณีด้วยสักการะเป็นอันมาก ให้บวชแล้ว. นางได้อุปสมบทแล้ว ได้มีชื่อว่าธรรมทินนาเถรี. วิสาขอุบาสกถามปัญหาในมรรคกะพระเถรี อุบาสกได้ทราบความที่พระเถรีมาแล้ว คิดว่า "พระเถรีมาเพราะเหตุไรหนอ?" จึงไปสู่สำนักภิกษุณี ไหว้พระเถรีแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง คิดว่า "การที่เราจะพูดว่า แม่เจ้า ท่านกระสันหรือหนอ ดังนี้ ก็เป็นการไม่สมควร, เราจักถามปัญหาสักข้อหนึ่งกะพระเถรีนั้น" แล้วถามปัญหาในโสดาปัตติมรรค. พระเถรีเฉลยปัญหาข้อนั้นได้. อุบาสกจึงถามปัญหาแม้ในมรรคที่เหลือ โดยอุบายนั้นนั่นแล เมื่อพระเถรีนั้นกล่าวในเวลาปัญหาอันอุบาสกนั้นถามก้าวล่วง (วิสัย) ว่า "วิสาขะผู้มีอายุ ท่านแล่นเลย (วิสัย) ไปแล" แล้วกล่าวว่า "เมื่อท่านจำนง ก็พึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้วทูลถามปัญหานี้" ไหว้พระเถรีแล้ว ลุกจากอาสนะ ไปสู่สำนักพระศาสดา กราบทูลการสนทนาปราศรัยนั้นทั้งหมด แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระศาสดาทรงยกย่องพระธรรมทินนาเถรี เมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
แก้อรรถ บทว่า ปจฺฉา คือ ในขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนาคต. บทว่า มชฺเฌ ได้แก่ ในขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน. สองบทว่า นตฺถิ กิญฺจนํ เป็นต้น ความว่า ความกังวล กล่าวคือความยึดถือด้วยตัณหาในฐานะ ๓ เหล่านั้น ของผู้ใดไม่มี, เราเรียกผู้นั้นซึ่งไม่มีความกังวลด้วยกิเลสเครื่องกังวลคือราคะเป็นต้น ผู้ชื่อว่าไม่มีความยึดมั่น เพราะไม่มีความยึดถืออะไรๆ ว่า เป็นพราหมณ์. ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล. เรื่องพระธรรมทินนาเถรี จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖ |