![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |||||||||||||||
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() เหตุตั้งพระสูตร บรรดาเหตุทั้งสองนั้น ในที่นี้พึงทราบเหตุตั้งนิธิกัณฑสูตรนั้นก่อน. แท้จริง นิธิกัณฑสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้มิได้ตรัสไว้ตามลำดับนี้ เพราะเหตุที่เป็นสูตรคู่ของติโรกุฑฑสูตร โดยเป็นเรื่องอนุโมทนา ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงยกขึ้นตั้งไว้ในที่นี้. หรือว่า พึงทราบว่า ข้าพเจ้าครั้นแสดงวิบัติของหมู่ชนที่ปราศจากบุญด้วยติโร เหตุเกิดพระสูตร ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี กุฏุมพีคนหนึ่งมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก แต่เขาเป็นคนมีศรัทธาปสาทะ มีใจปราศจากมลทิน คือความตระหนี่ อยู่ครองเรือน. วันหนึ่ง เขาถวายทานแก่พระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธ นิธิกัณฑสูตรนั้นมีเหตุเกิดดังกล่าวมานี้. ข้าพเจ้ากล่าวเหตุตั้ง และแสดงเหตุเกิดของนิธิกัณฑ์สูตรไว้ในที่นี้แล้ว จักทำการพรรณนาความของนิธิกัณฑสูตรนั้น ดังต่อไปนี้. พรรณนาคาถาที่ ๑ บรรดานิธิ ๔ นั้น ทรัพย์ที่ติดพื้นดินก็ดี ทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในอากาศก็ดี เงินก็ดี ทองก็ดี นาก็ดี ที่ดิน [ปลูกบ้าน] ก็ดี ก็หรือทรัพย์เห็นปานนั้นแม้อื่นใดที่เว้นจากเคลื่อนที่ด้วยตัวเอง ชื่อว่าถาวร มั่นคง ขุมทรัพย์นี้ ชื่อว่าถาวรนิธิ. ทาสหญิง ทาสชาย ช้าง โค ม้า ลา แพะ แกะ ไก่ สุกร ก็หรือว่า ทรัพย์เห็นปานนั้นแม้อื่นใด ที่ประกอบด้วยเคลื่อนที่ได้ด้วยตัวเอง ชื่อว่าชังคมะ เคลื่อนที่ได้ ขุมทรัพย์นี้ ชื่อว่าชังคมนิธิ. พาหุสัจจะความเป็นพหูสูต อันเป็นบ่อเกิดการงาน บ่อเกิดศิลปะ ที่ตั้งแห่งวิทยาการ ก็หรือว่า พาหุสัจจะเห็นปานนั้น แม้อื่นใด ที่ศึกษาแล้วศึกษาอีกชำนาญติดตัวประหนึ่งอวัยวะใหญ่น้อย ชื่อว่าอังคสมะ เสมอด้วยอวัยวะ ขุมทรัพย์นี้ ชื่อว่าอังคสมนิธิ. บุญที่สำเร็จด้วยทาน ที่สำเร็จด้วยศีล ที่สำเร็จด้วยภาวนา ที่สำเร็จด้วยการฟังธรรม ที่สำเร็จด้วยการแสดงธรรม ก็หรือว่าบุญเห็นปานนั้น แม้อื่นใด ตามด้วยผลที่น่าปรารถนา ประดุจติดตามไปในที่นั้นๆ ชื่อว่าอนุคามิกะ ติดตามไปได้ ขุมทรัพย์นี้ ชื่อว่าอนุคามิกนิธิ. ส่วนในที่นี้ ทรงประสงค์เอา ถาวรนิธิ. บทว่า นิเธติ ได้แก่ ตั้งไว้ เก็บไว้ รักษาไว้. บทว่า ปุริโส ได้แก่ มนุษย์. บุรุษก็ดี สตรีก็ดี บัณเฑาะก์ก็ดี ย่อมฝังขุมทรัพย์ได้ก็จริง ถึงกระนั้น ในที่นี้ ก็ทรงทำเทศนาด้วยบุรุษเป็นสำคัญ แต่ว่าโดยอรรถพึงเห็นว่าทรงประมวลคนแม้เหล่านั้นไว้ในที่นี้. บทว่า คมฺภีเร โอทกนฺติเก ความว่า ที่ชื่อว่า คัมภีระ เพราะอรรถว่าหยั่งถึงได้ ชื่อว่า โอทกันติกะ เพราะเป็นที่มีน้ำเป็นที่สุด. ที่ลึกแต่ไม่มีน้ำเป็นที่สุดก็มีเช่นบ่อลึกชั่ว ๑๐๐ บุรุษ ณ พื้นที่ดอน. ที่มีน้ำเป็นที่สุด แต่ไม่ลึกก็มี เช่นบ่อลึกศอกสองศอก ณ ที่ลุ่มเป็นโคลนตม. ที่ทั้งลึก ทั้งมีน้ำเป็นที่สุดก็มี เช่นบ่อที่เขาขุด ณ พื้นที่ดอนจนกว่าน้ำจักไหลมา ณ บัดนี้. คำว่า คมฺภีเร โอทกนฺติเก นี้ ตรัสหมายถึงที่ลึก และมีน้ำเป็นที่สุดนั้น. บทว่า อตฺเถ กิจฺเจ สมุปฺปนฺเน ความว่า ชื่อว่า อัตถะ เพราะไม่ปราศจากประโยชน์. ท่านอธิบายว่า นำมาซึ่งประโยชน์ นำมาซึ่งประโยชน์เกื้อกูล. ชื่อว่า กิจ เพราะควรทำ. ท่านอธิบายว่า กรณียะบางอย่าง อันเกิดขึ้นแล้วนั่นแล ชื่อว่า สมุปปันนะ. ท่านอธิบายว่า อันตั้งขึ้นแล้วโดยความเป็นกิจควรทำ. คำนี้เป็นการแสดงถึงประโยชน์ของการฝังขุมทรัพย์ว่า เมื่อกิจที่เป็นประโยชน์นั้นเกิดขึ้นแล้ว ขุมทรัพย์จักเป็นประโยชน์แก่เรา ความจริง บุรุษนั้นฝังขุมทรัพย์ไว้ก็เพื่อประโยชน์อย่างนี้ว่า เมื่อกรณียะบางอย่างที่นำมาซึ่งประโยชน์เกิดขึ้น ขุมทรัพย์จักเป็นประโยชน์แก่เรา จักมีเพื่อความสำเร็จแห่งกิจของเรานั้น. เป็นความจริง ความสำเร็จแห่งกิจนั่นแล พึงทราบว่าเป็นประโยชน์ของขุมทรัพย์นั้น เมื่อกิจเกิดขึ้น. พรรณนาคาถาที่ ๒ จึงตรัสว่า ขุมทรัพย์นี้ จักเป็นประโยชน์แก่เราเพื่อเปลื้องตน จากราชภัยบ้าง เพื่อช่วยตนให้พ้นจากโจรภัยบ้าง เปลื้อง หนี้บ้าง ในคราวทุพภิกขภัยบ้าง ในคราวคับขันบ้าง. คาถานั้น พึงประกอบข้อความตามกำเนิดศัพท์กับบทว่า ภวิสฺสติ ปโมกฺขาย ที่ตรัสในคำนี้ว่า อตฺถาย เม ภวิสฺสติ และว่า อิณสฺส วา ปโมกฺขาย จึงจะทราบความได้. ในข้อนั้นประกอบความอย่างนี้ว่า บุรุษฝังขุมทรัพย์ มิใช่ด้วยประสงค์ว่า จะเป็นประโยชน์แก่เราอย่างเดียวเท่านั้นดอก. ก็คืออะไรอีกเล่า. ก็คือบุรุษฝังขุมทรัพย์ ก็ด้วยประสงค์ว่า จักช่วยเปลื้องเราให้พ้นจากราชภัยที่ต้องถูกพวกศัตรูหมู่ปัจจามิตรกล่าวร้าย โดยนัยอย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นโจรบ้าง เป็นชายชู้บ้าง หลบหนีภาษีบ้าง ดังนี้เป็นต้นบ้าง จักช่วยปล่อยเราพ้นจากโจรภัย ที่ถูกพวกโจรเบียดเบียน ด้วยการลักทรัพย์โดยวิธีตัดช่องเป็นต้นบ้าง โดยการจับเป็นเรียกค่าไถ่ว่าเจ้าจงให้เงินทองเท่านี้ๆ บ้าง เจ้าหนี้จักทวงให้เราชำระหนี้ ก็จักช่วยปลดเราพ้นจากหนี้ที่เจ้าหนี้เหล่านั้นทวงอยู่บ้าง สมัยที่เกิดทุพภิกขภัย ข้าวกล้าเสีย อาหารหายาก ในสมัยนั้น จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยทรัพย์เล็กน้อย ทำไม่ได้ง่ายๆ ขุมทรัพย์นั้นก็จักช่วยได้ในคราวทุพภิกขภัยเช่นนั้นมาถึงเข้า ดังนี้บ้าง จักช่วยได้ในคราวคับขันที่เกิดจากอัคคีภัย อุทกภัย ทายาทที่ไม่เป็นที่รัก ดังนี้บ้าง. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงประโยชน์แห่งการเก็บทรัพย์ ๒ อย่างด้วย ๒ คาถา คือ ความประสงค์ที่จะพบประโยชน์ และความประสงค์ที่จะหลีกจากสิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะตรัสย้ำประโยชน์แม้ทั้ง ๒ นั้นนั่นแลแก่กุฏุมพีนั้น จึงตรัสว่า เอตทตฺถาย โลกสฺมึ นิธิ นาม นิธิยฺยติ ขุมทรัพย์เขาฝังไว้ในโลกก็เพื่อประโยชน์อย่างนี้. คาถานั้นมีความว่า ประโยชน์นี้ใด คือการพบประโยชน์และการหลีกจากสิ่งที่มิใช่ประโยชน์ ทรงแสดงไว้โดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่าจักเป็นประโยชน์แก่เรา และว่าจักเปลื้องเราซึ่งถูกกล่าวร้ายให้พ้นจากราชภัย. ธรรมดาขุมทรัพย์ต่างโดยเงินทองเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เขาฝังไว้ตั้งไว้ เก็บงำไว้ในโอกาสโลกนี้ ก็เพื่อประโยชน์นั้น คือเพื่อทำกิจเหล่านั้นให้สำเร็จไป. พรรณนาคาถาที่ ๓ ขุมทรัพย์ที่เขาฝังไว้เป็นอันดีในที่ลึกมีน้ำเป็นที่ สุดเพียงนั้น ขุมทรัพย์นั้นหาสำเร็จประโยชน์แก่เขาได้ ทั้งหมดในกาลทุกเมื่อทีเดียวไม่. คาถานั้น มีความว่า แม้ขุมทรัพย์นั้นเขาฝังไว้ดีถึงเพียงนั้น ท่านอธิบายว่า แม้เขาขุดหลุมเก็บไว้อย่างดีเพียงนั้น เขาฝังไว้ดีอย่างไร. เขาฝังไว้ในที่ลึกมีน้ำเป็นที่สุด ท่านอธิบายว่าดีตราบเท่าที่นับได้ว่าฝังไว้ในที่ลึกมีน้ำเป็นที่สุด. บทว่า น สพฺโพ สพฺพทาเยว ตสฺส ตํ อุปกปฺปติ ความว่า ขุมทรัพย์ย่อมไม่สำเร็จประโยชน์ ไม่สำเร็จผลแม้ทั้งหมด. ท่านอธิบายว่า ไม่สามารถทำกิจตามที่กล่าวมาแล้ว แก่บุรุษที่ฝังไว้ได้ทุกเวลา. คืออะไรเล่า คือว่าบางครั้งก็สำเร็จประโยชน์ บางครั้งก็ไม่สำเร็จประโยชน์เลย. ศัพท์ว่า ตํ ในคาถานั้น พึงเห็นว่าเป็นนิบาต ลงในอรรถว่าปทปูรณะทำบทให้เต็ม เช่นในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ยถา ตํ อปฺปมตฺตสฺส อาจาปิโน. หรือว่าท่านทำลิงค์ [เพศศัพท์] ให้ต่างกัน เมื่อควรจะกล่าวว่า โส ก็กลายเสียว่า ตํ จริงอยู่ เมื่อกล่าวอย่างนั้น ความนั้น ก็รู้ได้สะดวก. พรรณนาคาถาที่ ๔ และที่ ๕ บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงเหตุที่ไม่สำเร็จประโยชน์ จึงตรัสว่า เพราะขุมทรัพย์เคลื่อนย้ายจากที่ไปเสียบ้าง ความจำของเขา คลาดเคลื่อนไปเสียบ้าง พวกนาค ลักไปเสียบ้าง พวกยักษ์ลักไปเสียบ้าง ทายาทผู้รับ มรดกที่ไม่เป็นที่รัก ขุดเอาไป เมื่อเขาไม่เห็นบ้าง. คาถานั้นมีความว่า ขุมทรัพย์นั้นเคลื่อนย้ายออกไปจากที่ๆ เขาฝังไว้ดีแล้ว คือแม้ไม่มีเจตนาก็ไปที่อื่นได้ โดยเจ้าของสิ้นบุญบ้าง. ความจำของเขาคลาดเคลื่อน คือเขาจำไม่ได้ถึงที่ๆ ฝังขุมทรัพย์ไว้บ้าง พวกนาค ที่ความสิ้นบุญของเขาเตือนแล้ว ยักย้ายขุมทรัพย์นั้น เอาไปที่อื่นเสียบ้าง พวกยักษ์ลักพาเอาไปตามชอบใจเสียบ้าง พวกทายาทผู้รับมรดกที่ไม่ชอบกัน ขุดพื้นดินยกเอาขุมทรัพย์นั้นไป เมื่อเขาไม่เห็นบ้าง. ขุมทรัพย์นั้นไม่สำเร็จ พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสเหตุที่ไม่สำเร็จประโยชน์ ซึ่งโลกสมมติ มีการทำให้เคลื่อนที่เป็นต้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อทรงแสดงเหตุ ที่เข้าใจกันว่า ความสิ้นบุญอย่างหนึ่งอย่างเดียวที่เป็นมูลแห่งเหตุแม้เหล่านั้น จึงตรัสว่า ยทา ปุญฺญกฺขโย โหติ สพฺพเมตํ วินสฺสติ. คาถานั้นมีความว่า สมัยใด บุญที่ทำโภคสมบัติให้สำเร็จสิ้นไป ก็จะทำสิ่งที่มิใช่บุญ ที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมแห่งโภคสมบัติ มีโอกาสตั้งอยู่ สมัยนั้น ธนชาตใดมีเงินและทองเป็นต้น ซึ่งผู้ฝังขุมทรัพย์ฝังไว้แล้ว ธนชาตนั้นทั้งหมด ก็พินาศหมดสิ้นไป. พรรณนาคาถาที่ ๖ ขุมทรัพย์ ของผู้ใด จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ชื่อว่าฝังไว้ดีแล้ว ก็ด้วยทาน ศีล สัญญมะ และทมะ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทานํ พึงถือเอาตามนัยที่กล่าวไว้แล้วในมงคลข้อที่ว่า ทานญฺจ ธมฺมจริยา นั้น. บทว่า สีลํ ได้แก่ การไม่ล่วงละเมิดทางกายและวาจา คือ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และปาฏิโมกข์สังวรศีลเป็นต้น. ศีลทุกอย่างท่านประสงค์ว่าศีลในที่นี้. บทว่า สญฺญโม ได้แก่ ความสำรวม ท่านอธิบายว่า การห้ามใจไปในอารมณ์ต่างๆ คำนี้เป็นชื่อของสมาธิ ที่บุคคลประกอบแล้ว ท่านเรียกว่า ผู้สำรวมสูงสุด ในบาลีนี้ว่า หตฺถสญฺญโต ปาทสญฺญโต วาจาสญฺญโต สญฺญตุตฺตโม ผู้สำรวจมือ สำรวมเท้า สำรวมวาจา ชื่อว่าผู้สำรวมสูงสุด. อาจารย์อีกพวกกล่าวว่า ความสำรวม ท่านอธิบายว่า ความระวัง ความสังวร คำนี้เป็นชื่อของอินทรีย์สังวร. ความฝึกฝน ชื่อว่า ทมะ ท่านอธิบายว่า การระงับกิเลส คำนี้เป็นชื่อของปัญญา. จริงอยู่ ปัญญา ในบาลีบางแห่งเรียกว่า ปัญญา ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ ผู้ฟังด้วยดี ย่อมได้ปัญญา บางแห่งท่านเรียกว่า ธรรมะ ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า สจฺจํ ธมฺโม ธิติ จาโค สัจจะ ธรรมะ ธิติ จาคะ บางแห่งท่านเรียกว่า ทมะ ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ยทิ สจฺจา ทมา จาคา ขนฺตยาภิยฺโย น วิชฺชติ ผิว่า ธรรมยิ่งกว่าสัจจะ ทมะ จาคะ ขันติ ไม่มีไซร้.๑- บัณฑิตรู้จักทานเป็นต้นอย่างนี้แล้ว พึงประมวลมาทราบความแห่งคาถานี้ อย่างนี้ว่า ขุมทรัพย์ที่สำเร็จด้วยบุญของผู้ใด เป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เขาจะเอาธรรมะ ๔ เหล่านี้ คือ ทาน ศีล สัญญมะ ทมะที่ฝังไว้ดีแล้ว ด้วยการทำธรรมทั้ง ๔ มีทานเป็นต้นเหล่านั้นไว้ด้วยดี ในจิตสันดานเดียว หรือในวัตถุมีเจดีย์เป็นต้น เหมือนขุมทรัพย์ที่สำเร็จด้วยธนชาต เขาก็เอาเงินทอง มุกดา มณี ฝังไว้ด้วยการใส่เงินทองเป็นต้นเหล่านั้น ลงในที่เดียวกัน ฉะนั้น. ____________________________ ๑- ขุ. สุ. ๒๕/๓๑๑/๓๖๑ พรรณนาคาถาที่ ๗ ด้วยคาถานี้ว่า ยสฺส ทาเนน เป็นต้นอย่างนี้แล้ว เมื่อทรงแสดงวัตถุที่ขุมทรัพย์อันบุคคลฝังแล้ว ชื่อว่าฝังไว้อย่างดี จึงตรัสว่า ในเจดีย์ก็ดี ในสงฆ์ก็ดี ในบุคคลก็ดี ในแขกก็ดี ในมารดาก็ดี ในบิดาก็ดี ในพี่ชายก็ดี. ในคาถานั้น ชื่อว่า เจติยะ เพราะควรก่อ ท่านอธิบายว่า ควรบูชา. ชื่อว่า เจติยะ เพราะวิจิตรแล้ว. เจดีย์นั้นมี ๓ อย่าง คือ บริโภคเจดีย์ อุทิสสกเจดีย์ ธาตุกเจดีย์. บรรดาเจดีย์ทั้ง ๓ นั้น โพธิพฤกษ์ ชื่อว่าบริโภคเจดีย์ พระพุทธปฏิมา ชื่อว่าอุทิสสกเจดีย์ พระสถูปที่มีห้องบรรจุพระธาตุ ชื่อว่าธาตุกเจดีย์. บทว่า สงฺโฆ ได้แก่ ผู้ใดผู้หนึ่ง ในหมู่สงฆ์ที่มีพระพุทธ บทว่า ปุคฺคโล ได้แก่ ผู้ใดผู้หนึ่ง ในหมู่คฤหัสถ์และบรรพชิตเป็นต้น. ชื่อว่า อติถิ [แขก] เพราะเขาไม่มีดิถี คือมาในวันไหนก็ได้ คำนี้เป็นชื่อของแขกผู้มาในขณะนั้น. คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวไว้แล้วทั้งนั้น. บัณฑิตรู้จักเจดีย์เป็นต้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ พึงทราบความแห่งคาถานี้อย่างนี้ ขุมทรัพย์นั้นใดตรัสว่า เป็นอันฝังดีแล้ว ขุมทรัพย์นั้นที่เขาฝังไว้ในวัตถุเหล่านี้ ย่อมชื่อว่าฝังไว้ดีแล้ว. เพราะเหตุไร เพราะสามารถอำนวยผลที่น่าปรารถนาได้ตลอดกาลนาน. จริงอย่างนั้น ชนทั้งหลายถวายในพระเจดีย์แม้เล็กน้อย ย่อมเป็นผู้ได้ผลที่ปรารถนาตลอดกาลนาน เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
๑- ขุ. ธ. ๒๕/๓๑/๕๓ พึงทราบการจำแนกผลทาน แม้ในวัตถุมีพระสงฆ์เป็นต้น ตามนัยที่กล่าวไว้แล้วในทักขิณาวิสุทธิสูตรและเวลามสูตร เป็นต้น ด้วยประการฉะนี้. อนึ่ง ทรงแสดงความเป็นไปและความเจริญผลแห่งทาน ในวัตถุมีเจดีย์เป็นต้น โดยประการใด ก็พึงปรารภคุณนั้นๆ ในที่ทั้งปวง ตามความประกอบแล้ว จึงทราบความเป็นไปและความเจริญผลแห่งศีล ส่วนที่เป็นจารีตศีลวาริตศีล สัญญมะ ส่วนที่เป็นพุทธานุสสติเป็นต้น และทมะ ส่วนที่เป็นวิปัสสนา มนสิการและการพิจารณาวัตถุนั้น โดยประการนั้น. พรรณนาคาถาที่ ๘ ขุมทรัพย์ ที่เขาฝังไว้ดีแล้วนั้น ใครๆ ก็ผจญ ไม่ได้ ติดตามไปได้ ในเมื่อบรรดาโภคะที่จำต้องละ ไป เขาก็พาขุมทรัพย์คือบุญไปด้วยได้. ในคาถานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ดีแล้วด้วยทานเป็นต้นนั้น ด้วยบทต้นว่า ขุมทรัพย์ที่เขาฝังไว้แล้วนั้น. บทว่า อเชยฺโย ได้แก่ คนอื่นๆ ไม่อาจผจญแล้วเอาไปได้. ปาฐะว่า อชยฺโย ก็มี. อธิบายว่า อันใครๆ ไม่พึงชนะ ไม่ควรชนะ คือผู้ต้องการประโยชน์สุข ควรก่อสร้างเอง. ก็ในปาฐะนี้ ประกอบความว่า ขุมทรัพย์นี้ ใครๆ ผจญไม่ได้ แล้วแสดงคำถามอีกว่า เพราะเหตุไร จึงสัมพันธ์ ได้ยินว่า บทว่า ปหาย คมนีเยสุ เอตํ อาทาย คจฺฉติ นี้มีความอย่างนี้ว่า เมื่อมรณกาล ปรากฎขึ้น บรรดาโภคะทั้งหลายที่จำต้องละไป เขาก็พาไปได้แต่ขุมทรัพย์คือบุญนี้. ความนี้ไม่ถูก. เพราะเหตุไร. เพราะโภคะทั้งหลายไปไม่ได้ ความจริง โภคะนั้นๆ อันมัจจะผู้ต้องตาย พึงละไปเท่านั้น ไปไม่ได้เลย แต่คติวิเศษนั้นๆ ต่างหาก จำต้องไป. เพราะเหตุที่ถ้าความพึงมีอย่างนี้ไซร้ ก็พึงกล่าวได้ว่า บรรดาคติวิเศษทั้งหลายที่จำต้องละโภคะทั้งหลายไป ฉะนั้น จึงควรทราบความในข้อนี้อย่างนี้ว่า เมื่อโภคะทั้งหลาย ในคาถานั้น ผู้ทักท้วงกล่าวว่า ในบทว่า คมนีเยสุ นี้จะพึงมีความว่า คนฺตพฺเพสุ ก็ไม่ใช่ความว่า คจฺฉนฺเตสุ คำนั้นไม่พึงถือเอาแต่แง่เดียว. เหมือนอย่างว่าในคำว่า อริยา นิยฺยานิกา นี้มีความว่า นิยฺยนฺตา ไม่ใช่มีความว่า นิยฺยาตพฺพา ฉันใด แม้ในที่นี้ก็มีความว่า คจฺฉนฺเตสุ ไม่ใช่มีความว่า คนฺตพฺเพสุ ฉันนั้น. อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่ผู้นี้ประสงค์จะให้แก่ใครๆ ในเวลาจะตาย ก็จับต้องโภคะให้ไม่ได้ ฉะนั้น โภคะเหล่านั้นอันเขาจำต้องละไปทางกายก่อน ภายหลัง จึงจำต้องจากไปทางใจที่หมดหวัง. ท่านอธิบายว่า พึงล่วงเลยไป. เพราะฉะนั้น จึงควรเห็นความในข้อนี้อย่างนี้ว่า บรรดาโภคะทั้งหลายที่จำต้องละไปทางกายก่อน ภายหลังจึงต้องละไปทางใจ. ในความข้อต้น สัตตมีวิภัตติ ลงในนิทธารณะว่า บรรดาโภคะทั้งหลายที่จำต้องละไป เขาก็นำโภคะ คือบุญนิธินั้นอย่างเดียวเท่านั้นออกจากโภคะทั้งหลาย พาไป. ในความข้อหลัง สัตตมีวิภัตติลงในภาวลักขณะ โดยภาวะว่า ก็โดยภาวะที่โภคะทั้งหลายติดตามไป ก็ย่อมกำหนดภาวะคือขุมทรัพย์นั้นพาไปด้วยได้. พรรณนาคาถาที่ ๙ บุญนิธิคือขุมทรัพย์ ไม่สาธารณะแก่ชนเหล่าอื่น โจรก็ลักไปไม่ได้ บุญนิธิอันใด ติดตามตนไปได้ ปราชญ์ พึงทำบุญนิธิอันนั้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสาธารณมญฺเญสํ แปลว่า ไม่ทั่วไปแก่ชนเหล่าอื่น. ม อักษร ทำบทสนธิ เหมือนในประโยคเป็นต้นว่า อทุกฺขมสุขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตา ประกอบด้วยเวทนาที่ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข. นิธิ อันโจรทั้งหลายลักไปไม่ได้ ชื่อว่า อโจราหรโณ. อธิบายว่า ย่อมเป็นนิธิ ที่โจรทั้งหลายลักพาไปไม่ได้. ชื่อว่า นิธิ เพราะเขาฝังไว้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงพรรณนาคุณของบุญนิธิ ด้วยสองบทต้นอย่างนี้แล้ว จากนั้นก็ทรงยังอุตสาหะให้เกิดในบุญนิธินั้น ด้วยสองบทหลังจึงตรัสว่า บุญนิธิอันใด ติดตามตนไปได้ ปราชญ์พึงทำบุญนิธิอันนั้น. คาถานั้นมีความว่า เพราะเหตุที่ธรรมดาบุญนิธิไม่สาธารณะแก่ชนเหล่าอื่น และเป็นนิธิที่โจรลักไปไม่ได้. แต่ก็มิใช่นิธิที่ไม่สาธารณะ และโจรลักไปไม่ได้อย่างเดียวดอก แท้จริง ยังเป็นนิธิที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า นิธินั้น ฝังไว้ดีแล้ว อันใครๆ ผจญไม่ได้ ติดตามตนไปได้. นิธิใดติดตามตนไปได้ เพราะเหตุที่นิธินั้นเป็นบุญนิธิอย่างเดียว ฉะนั้น ปราชญ์คือบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยพุทธิความรู้ ถึงพร้อมด้วยธิติคือปัญญา พึงทำบำเพ็ญบุญทั้งหลาย. พรรณนาคาถาที่ ๑๐ เมื่อทรงแสดงผลอันนั้นโดยสังเขป จึงตรัสว่า นิธินั้นให้ผลที่น่าใคร่ทุกอย่างแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. บัดนี้ เพราะเหตุที่บุญนิธิ เนื่องอยู่ด้วยความปรารถนาเป็นเครื่องให้สิ่งตามปรารถนา จึงจะเว้นความปรารถนาเสียมิได้ เหมือนที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย ผู้ประพฤติธรรม ประพฤติ สม่ำเสมอ พึงหวังว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกาย แตก. เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่ากษัตริย์มหา ศาลไซร้ ข้อที่เขาหวังว่า เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่ากษัตริย์มหาศาล ก็เป็นฐานะเป็นไปได้. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร. ก็เพราะ ผู้นั้นเป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ อย่างนั้น.๑- ฯลฯ เขากระทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ด้วยปัญญายิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึง อยู่. ข้อนั้นเพราะเหตุไร.ก็เพราะเขาเป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ.๒- จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า๓- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม เป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ภิกษุนั้นปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้า แต่ตาย เพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหาย ของเหล่ากษัตริย์มหาศาล. ภิกษุนั้นตั้งจิตนั้นอธิษฐาน จิตนั้น เจริญจิตนั้น. สังขารปัจจัย เครื่องปรุงแต่ง และ วิหารธรรมเครื่องอยู่เหล่านั้น อันภิกษุนั้นเจริญให้มาก อย่างนี้ ทำให้มากอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น อย่างนี้เป็นต้น. ____________________________ ๑- ม. มู. ๑๒/๔๘๕/๕๒๕ ๒- ม. มู. ๑๒/๔๘๖/๕๒๗ ๓- ม. อุ. ๑๔/๓๑๙/๒๑๗ เพราะฉะนั้น เมื่อทรงแสดงปริยายแห่งความหวังอย่างนั้นๆ ความปรารถนาที่มีอธิษฐานภาวนาด้วยการตั้งจิตเป็นบริขาร เหตุในความที่บุญนิธินั้น ให้ผลที่น่าใคร่ทุกอย่างนั้น จึงตรัสว่า เทวดาและมนุษย์ปรารถนานักซึ่งอิฐผลใดๆ อิฐผลทุกอย่างนั้น อันบุคคลย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้. พรรณนาคาถาที่ ๑๑ บรรดาคาถาเหล่านั้น จะวินิจฉัยในคาถาที่ ๑ ก่อน ความมีฉวีวรรณงาม ความมีผิวหนังคล้ายทอง ชื่อว่าความมีวรรณะงามนั้น บุคคลย่อมได้ด้วยบุญนิธินั้น. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชาติก่อน ภพก่อน กำเนิด ก่อน ตถาคตเกิดเป็นมนุษย์แต่ก่อน เป็นคนไม่โกรธ ไม่มากด้วยความคับแค้นใจ ถึงถูกเขาว่ากล่าวมากๆ ก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่ใช้กำลัง ไม่ทำ ความกำเริบ โทสะ และความไม่มีเหตุปัจจัยให้ปรากฏ ทั้งเป็นผู้ให้ผ้าปูลาด ผ้านุ่งห่มเนื้อละเอียดอ่อน ผ้า เปลือกไม้เนื้อละเอียด ผ้าฝ้ายเนื้อละเอียด ผ้ากัมพล เนื้อละเอียดแม้อันใด ตถาคตนั้น เพราะทำสร้างสม กรรมนั้น ฯลฯ จุติจากภพนั้นแล้ว มาสู่ความเป็นอย่าง นี้ ย่อมได้มหาปุริสลักษณะนี้คือ เป็นผู้มีวรรณะดังทอง มีผิวคล้ายทอง. ____________________________ ๑- ที. ปา. ๑๑/๑๔๘/๑๗๔ ความเป็นผู้มีเสียงดังพรหม ความเป็นผู้พูดเสียงดังนกการะเวก ชื่อว่า ความเป็นผู้มีเสียงเพราะ ความเป็นผู้มีเสียงเพราะแม้นั้น อันบุคคลย่อมได้ก็ด้วยบุญนิธินี้ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า๒- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชาติก่อน ภพก่อน กำเนิดก่อน ตถาคตเกิดเป็นมนุษย์แต่ก่อน ละวาจาหยาบ เว้นขาดจาก วาจาหยาบ กล่าวแต่วาจาไม่มีโทษ เป็นสุขหู น่ารัก จับใจ วาจาชาวเมือง ชนเป็นอันมากรักใคร่พอใจ แม้อันใด เพราะทำสร้างสมกรรมนั้น ตถาคตนั้นจุติจากภพนั้นมาสู่ ความเป็นอย่างนี้ ย่อมได้มหาปุริสลักษณะนี้ คือเป็นผู้มี ชิวหาใหญ่ มีเสียงดังพรหม พูดเสียงดังนกการะเวก. ____________________________ ๒- ที. ปา. ๑๑/๑๖๖/๑๘๘ บทว่า สุสณฺฐานา ได้แก่ ความมีทรวงทรงดี. ท่านอธิบายว่า ความตั้งอยู่แห่งอวัยวะใหญ่น้อย ในอันที่ควรอิ่มเต็มและกลม โดยความเป็นอวัยวะอันอิ่มเต็มและกลม เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า๓- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชาติก่อน ภพก่อน กำเนิดก่อน ตถาคตเกิดเป็นมนุษย์แต่ก่อน หวังประโยชน์เกื้อกูล หวัง ความผาสุก หวังความเกษมปลอดจากโยคะแก่ชนเป็นอัน มาก พึงยังชนเหล่านี้ให้เจริญด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา พึงให้เจริญด้วยไร่นาที่ดิน ด้วยสัตว์สองเท้าสี่เท้า ด้วยบุตรภรรยา ด้วยทาสกรรมกรชาย ด้วยญาติมิตรพวก พ้องแม้อันใด เพราะทำสร้างสมกรรมนั้น ฯลฯ ตถาคตนั้น จุติจากภพนั้นมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ย่อมได้มหาปุริสลักษณะ ๓ เหล่านี้คือ มีพระกายครึ่งบนดังสีหะ มีระหว่างพระอังสะ [คือพระอุระ] งาม และมีพระองค์กลมเสมอ อย่างนี้เป็นต้น. ____________________________ ๓- ที. ปา. ๑๑/๑๕๔/๑๗๘ บทแห่งพระสูตรทั้งหลาย ที่ทำให้การได้สำเร็จด้วยบุญนิธินี้ แม้ในที่อื่นจากนี้ ก็พึงนำมาจากที่นั้นๆ กล่าวโดยนัยนี้. แต่เพราะกลัวพิศดารเกินไป จึงได้แต่สังเขปไว้ บัดนี้ ข้าพเจ้าจักทำการพรรณนาบทที่เหลือ. ทั่วทั้งเรือนร่าง พึงทราบว่า รูป ในคำว่า สุรูปตา นี้. เหมือนในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า สภาพอันอากาศห้อมล้อม ย่อมนับว่ารูปทั้งนั้น. ความที่รูปนั้นดี ชื่อว่าความมีรูปสวย ท่านอธิบายว่า ไม่ยาวนัก ไม่สั้นนัก ไม่ผอมนัก ไม่อ้วนนัก ไม่ดำนัก ไม่ขาวนัก. บทว่า อาธิปจฺจํ ได้แก่ ความเป็นใหญ่ อธิบายว่า ความเป็นนาย โดยเป็นกษัตริย์มหาศาลเป็นต้น. บทว่า ปริวาโร ได้แก่ สำหรับคฤหัสถ์ สมบัติคือชนของตนและชนโดยรอบ สำหรับบรรพชิต สมบัติคือบริษัท. ความเป็นใหญ่และความมีบริวาร ชื่อว่าความเป็นใหญ่และมีบริวาร. ก็บรรดาอิฐผลเหล่านั้น พึงทราบว่า สมบัติคือโภคะ ตรัสด้วยความเป็นใหญ่ สมบัติคือชนของตนและชนโดยรอบ ตรัสด้วยความมีบริวาร. ด้วยคำว่า สพฺพเมเตน ลพฺภติ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงว่า คำนั้นได้ตรัสว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายปรารถนาผลใดๆ ผลนั้นๆ ทั้งหมดอันบุคคลย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้ ในคำนั้นอิฐผลมีความมีวรรณะงามเป็นต้น ที่ตรัสไว้ส่วนแรกก่อนแม้นี้ พึงทราบว่า ผลทั้งหมดนั้น บุคคลได้ด้วยบุญนิธินี้. พรรณนาคาถาที่ ๑๒ บัดนี้ เมื่อทรงแสดงสมบัติคือความเป็นพระราชาทั้งสองนั้น จึงตรัสคาถานี้ว่า ความเป็นพระราชาเฉพาะประเทศ ความเป็นพระ ราชาผู้ใหญ่ สุขในความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิอันน่ารัก แม้ความเป็นพระราชาแห่งเทวดาในหมู่ทิพย์ อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคลย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปเทสรชฺชํ ได้แก่ ความเป็นพระราชาแห่งประเทศ ในประเทศหนึ่งๆ แม้แต่ทวีปเดียวไม่ถึงทั้งหมด. ความเป็นพระราชาผู้เป็นใหญ่ ชื่อว่าอิสสริยะ. ทรงแสดงความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิด้วยบทนี้. สุขของจักรพรรดิ ชื่อว่าจักกวัตติสุข. บทว่า ปิยํ ได้แก่ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ. ทรงแสดงความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีมหาสมุทรทั้งสี่เป็นขอบเขตด้วยบทนี้. ความเป็นพระราชาในหมู่เทวดา ชื่อว่าความเป็นพระราชาในหมู่เทพ. เป็นอันทรงแสดงความเป็นพระราชาของเทวดาแห่งมนุษย์ทั้งหลายมีพระเจ้ามันธาตุราชาเป็นต้นด้วยบทนี้. ด้วย บทว่า อปิ ทิพฺเพสุ นี้ ทรงแสดงความเป็นพระราชาของเทวดาแห่งมนุษย์ทั้งหลาย แม้ที่เกิดในหมู่ทิพย์ทั้งหลาย ที่เรียกกันว่าทิพย์ เพราะมีในภพทิพย์. ด้วยบทว่า สพฺพเมเตน ลพฺภติ ทรงแสดงว่า ในคำที่ตรัสไว้ว่า ยํ ยํ เทวาภิปตฺเถนฺติ สพฺพเมเตน ลพฺภติ อิฐผลมีความเป็นพระราชาเฉพาะประเทศ ที่ตรัสเป็นส่วนที่สองแม้นี้ พึงทราบว่า อิฐผลทั้งหมดนั้นอันบุคคลย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้. พรรณนาคาถาที่ ๑๓ สมบัติของมนุษย์ ความยินดีอันใดในเทวโลก และ สมบัติคือพระนิพพานใด อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคลย่อม ได้ด้วยบุญนิธินี้. พรรณนาบทของคาถานั้น มีดังนี้ ชื่อว่า มานุสี เพราะเป็นของมนุษย์ทั้งหลาย มานุสีนั่นแล ชื่อว่า มานุสิกา. ความถึงพร้อมชื่อว่าสมบัติ. โลกของเทวดาทั้งหลาย ชื่อว่า เทวโลก.ในเทวโลกนั้น. บทว่า ยา เป็นการถือเอาไม่มีเหลือเลย. ชื่อว่า รติ เพราะยินดีด้วยสมบัติที่เกิดภายในหรือเป็นเครื่องอุปกรณ์ภายนอก. คำนี้เป็นชื่อของสุข และวัตถุเครื่องให้มีสุข. คำว่า ยา เป็นคำแสดงความที่ไม่แน่นอน. จ ศัพท์ มีความว่ารวมกับสมบัติทั้งปวง. พระนิพพานนั่นแล ชื่อว่า สมบัติคือพระนิพพาน. ก็การพรรณนาความมีดังนี้ ด้วยบทว่า สุวณฺณตา เป็นต้น สมบัติและความยินดีนั้นใด ตรัสไว้ว่า มานุสิกา จ สมฺปตฺติ เทวโลเก จ ยา รติ สมบัติของมนุษย์ และความยินดีใดในเทวโลก. สมบัติและความยินดีนั้นทั้งหมด และสมบัติคือพระนิพพาน ที่บุคคลพึงบรรลุโดยเป็นพระอริยบุคคลที่เป็นสัทธานุสารีเป็นต้นอื่นๆ อิฐผลดังกล่าวมานี้ที่ตรัสเป็นที่สาม พึงทราบว่า อิฐผลทั้งหมดนั้นอันบุคคลย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้. อีกนัยหนึ่ง สมบัติของมนุษย์อันใด ที่มิได้ตรัสไว้ก่อนด้วยอิฐผลมีความมีวรรณะงามเป็นต้น และต่างโดยความรู้ความฉลาดเป็นต้น ซึ่งท่านแสดงไว้โดยนัยอย่างนี้ว่า ผู้กล้า มีสติ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระธรรมวินัยนี้ เป็นต้น๑- ความยินดีในฌานเป็นต้น ในเทวโลกอย่างอื่นใดอีก และนิพพานสมบัติ ตามที่กล่าวแล้วอันใด อิฐผลดังว่ามาแม้นี้ ตรัสไว้เป็นส่วนที่สาม พึงทราบว่า อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคลย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้. พึงทราบการ ____________________________ ๑- องฺ. นวก. ๒๓/๒๒๕/๔๐๙ พรรณนาคาถาที่ ๑๔ จึงตรัสคาถานี้ว่า ความที่บุคคลถ้าอาศัยมิตตสัมปทา ประกอบความ เพียรโดยอุบายแยบคาย เป็นผู้ชำนาญในวิชชาและวิมุตติ อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคลย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้. พรรณนาบทของคาถานั้นมีดังนี้ว่า ชื่อว่าสัมปทา เพราะเป็นเครื่องสำเร็จผล คือถึงความเจริญแห่งคุณสัมปทา คือมิตร ชื่อว่ามิตรสัมปทา ซึ่งมิตรสัมปทานั้น. บทว่า อาคมฺม แปลว่า อาศัย. บทว่า โยนิโส ได้แก่ โดยอุบาย. บทว่า ปยุญฺชโต ได้แก่ ทำความขยันประกอบ. ชื่อว่า วิชชา เพราะเป็นเครื่องรู้แจ้ง. ชื่อว่า วิมุตติ เพราะเป็นเครื่องหลุดพ้น หรือหลุดพ้นเอง. ทั้งวิชชาทั้งวิมุตติ ชื่อว่าวิชชาและวิมุตติ. ความเป็นผู้ชำนาญในวิชชาและวิมุตติ ชื่อว่าวิชชาวิมุตติวสีภาวะ. ส่วนการพรรณนาความ มีดังต่อไปนี้ ความที่บุคคลอาศัยมิตรสัมปทา คืออาศัยพระศาสดาหรือสพรหมจารีผู้เป็นที่ตั้งแห่งความเคารพท่านใดท่านหนึ่ง รับโอวาทและอนุศาสนีจากท่านแล้วประกอบโดยอุบายแยบคาย ด้วยการปฏิบัติตามที่ท่านสอน เป็นผู้ชำนาญในวิชชา ๓ มีบุพเพนิวาสญาณเป็นต้น และในวิมุตติที่ต่างโดยสมาบัติ ๘ และพระนิพพาน๑- ที่มาอย่างนี้ว่า ในธรรมเหล่านั้น วิมุตติคืออะไร คือความหลุดพ้นอันยิ่งแห่งจิตและนิพพาน โดยอรรถว่า ไม่ชักช้าโดยประการนั้นๆ นี้ใด ผลที่ตรัสเป็นส่วนที่ ๔ แม้นี้ พึงทราบว่า อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคลย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้. ____________________________ ๑- อภิ. สงฺ. ๓๔/๘๗๖/๓๓๙ พรรณนาคาถาที่ ๑๕ บัดนี้ เพราะเหตุที่ท่านถึงความเป็นผู้บรรลุความเป็นผู้ชำนาญในวิชชาและวิมุตติ แม้เป็นผู้มีวิชชา ๓ และหลุดพ้นแล้วโดยส่วน ๒ [คือเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ] ท่านเหล่านั้น มิใช่ได้ความเจริญแห่งคุณมีปฏิสัมภิทาเป็นต้นไปทั้งหมด แต่ความเจริญแห่งคุณ อันบุคคลย่อมได้ด้วยบุญสัมปทานี้ แม้ที่ทำแล้วโดยประการนั้นๆ โดยเป็นปทัฏฐานแห่งวิมุตตินั้น ฉะนั้น เมื่อทรงแสดงความเจริญแห่งคุณแม้นั้น จึงตรัสคาถานี้ว่า ปฏิสัมภิทา วิโมกข์ สาวกบารมี ปัจเจกโพธิ และพุทธภูมิอันใด อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคลย่อม ได้ด้วยบุญนิธินี้. เพราะเหตุว่า ปัญญานี้ใดที่ถึงความแตกฉานในธรรม อรรถ นิรุตติและปฏิภาณ ท่านเรียกว่า ปฏิสัมภิทา วิโมกข์ ๘ เหล่านี้ใด โดยนัยว่า ผู้มีรูปย่อมเห็นรูป เป็นต้น.๑- สาวกบารมีนี้ใด ที่ให้สำเร็จสาวกสมบัติ อันพระสาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้า พึงบรรลุ. ปัจเจกพุทธโพธิใด ที่ให้สำเร็จความเป็นพระสยัมภู และพุทธภูมิใด ที่ให้สำเร็จความเป็นผู้สูงสุด ____________________________ ๑- ที. มหา. ๑๐/๖๖/๘๓; ที. ปา. ๑๑/๔๕๓/๓๒๘ พรรณนาคาถาที่ ๑๖ บัดนี้ เมื่อทรงสรรเสริญบุญสัมปทา ที่เข้าใจกันว่าเป็นนิธิที่อำนวยผลที่น่าปรารถนาทุกอย่างนี้ทั้งหมด จึงทรงจบเทศนาด้วยคาถานี้ว่า บุญสัมปทานนี้มีประโยชน์มากอย่างนี้ เพราะฉะนั้น บัณฑิตผู้มีปัญญา จึงสรรเสริญความเป็นผู้ทำบุญไว้แล้ว. พรรณนาบทแห่งคาถานั้นดังนี้. บทว่า เอวํ เป็นคำแสดงความที่ล่วงแล้ว. ชื่อว่ามหัตถิกา เพราะมี บทว่า เอสา เป็นคำอุเทศ [กระทู้] ยกบุญสัมปทาที่ตรัสตั้งต้นแต่บทนี้ว่า ยสฺส ทาเนน สีเลน จนถึงบทว่า กยิราถ ธีโร ปุญฺญานิ ด้วยคำอุเทศนั้น. ศัพท์ว่า ยทิทํ เป็นนิบาต ลงในอรรถทำให้พร้อมหน้ากัน. เพื่อทรงอธิบายบทอุเทศที่ทรงยกขึ้นว่า เอสา จึงทรงทำให้พร้อมหน้ากันว่า ยา เอสา ด้วยศัพท์นิบาตว่า ยทิทํ นั้น. ความถึงพร้อมแห่งบุญทั้งหลาย ชื่อว่าบุญสัมปทา. บทว่า ตสฺมา เป็นคำแสดงเหตุ. บทว่า ธีรา ได้แก่ ผู้มีปัญญา. บทว่า ปสํสนฺติ แปลว่า สรรเสริญ. บทว่า ปณฺฑิตา ได้แก่ ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา. บทว่า กตปุญฺญตํ แปลว่า ความเป็นผู้ทำบุญไว้แล้ว. ส่วนการพรรณนาความมีดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงสรรเสริญบุญนิธิมีความเป็นผู้มีพรรณะงามเป็นต้น มีพุทธภูมิเป็นที่สุด ซึ่งพอที่บุคคลจะพึงบรรลุได้ด้วยอานุภาพแห่งบุญสัมปทา ดังนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อทรงประมวลแสดงตามข้อนั้นนั่นแล เมื่อทรงยกความที่บุญสัมปทาตามที่กล่าวแล้วมีประโยชน์มาก ด้วยความนั้นนั่นแหละ จึงตรัสว่า ข้อที่บุญสัมปทาซึ่งเราแสดงโดยนัยว่า ยสฺส ทาเนน สีเลน อย่างนี้ เพราะฉะนั้น บัณฑิตผู้มีปัญญาเช่นเรา จึงสรรเสริญความเป็นผู้ทำบุญไว้แล้ว ซึ่งมีอาการและโวการคือขันธ์มาก ด้วยคำที่กล่าวในที่นี้มีว่า นิธิไม่สาธารณะแก่คนอื่นๆ อันโจรลักไปไม่ได้เป็นต้น และที่ไม่ได้กล่าวไว้ [ในที่นี้] มีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่ากลัวบุญเลย คำว่าบุญเป็นชื่อของความสุข๑- ดังนี้เป็นต้น ด้วยคุณตามที่เป็นจริง เพราะไม่คร้านในการแสดงธรรม อันนำมาซึ่งประโยชน์สุขแก่สัตว์ทั้งหลาย มิใช่สรรเสริญด้วยเข้าข้างพรรคพวกตน. ____________________________ ๑- องฺ. สตฺตก. ๒๓/๕๙/๙๐; ขุ. อิติ. ๒๕/๒๐๐/๒๔๐ จบเทศนา อุบาสกนั้นก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลพร้อมด้วยชนเป็นอันมาก และเขาก็เข้าเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลความข้อนั้น. พระราชาทรงยินดีอย่างเหลือเกิน ทรงชมว่า ดีจริง คฤหบดี ดีจริงแล คฤหบดี ท่านฝังขุมทรัพย์ ที่แม้เราก็นำไปไม่ได้ ได้ทรงทำการบูชาเป็นอย่างมากแก่อุบาสกผู้นั้นแล. จบอรรถกถานิธิกัณฑสูตร แห่ง อรรถกถาขุททกปาฐะ ชื่อปรมัตถโชติกา ------------------------ .. อรรถกถา ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ นิธิกัณฑ์ในขุททกปาฐะ จบ. |