![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() อรรถกถาอุทธตสูตร บทว่า กุสินารายํ ได้แก่ ใกล้นครของเจ้ามัลละ ชื่อว่ากุสินารา. บทว่า อุปวตฺตเน มลฺลานํ สาลวเน ความว่า อุทยานแห่งกุสินารานครมีอยู่ในทักษิณทิศและปัจฉิมทิศ เหมือนถูปารามแห่งอนุราธบุรี. ทางจากถูปารามเข้าไปยังนคร โดยประตูด้านทักษิณทิศ ตรงไปด้านปาจีนทิศ วกกลับทางด้านอุตรทิศ ฉันใด แนวไม้สาละจากอุทยานตรงไปด้านปาจีนทิศวกกลับทางด้านอุตรทิศ ก็ฉันนั้น เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่าอุปวัตตนะ เป็นที่แวะเวียน (ทางโค้ง). ในสาลวันของเจ้ามัลละอันเป็นที่แวะเวียนนั้น. บทว่า อรญฺญกุฏิกายํ ได้แก่ กระท่อมที่สร้างไว้ในที่อันดาดาษไปด้วยต้นไม้และกอไม้ ไม่ไกลจากแถวต้นสาละ ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า อรญฺญกุฏิกายํ วิหรนฺติ. ก็ภิกษุเหล่านั้นเว้นการพิจารณา มีความเพียรย่อหย่อน อยู่ด้วยความประมาท. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อุทฺธตา ดังนี้เป็นต้น. ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้ชื่อว่าอุทธตะ เพราะมีจิตไม่สงบ เหตุมากไปด้วยอุทธัจจะ. มานะชื่อว่านฬะ เพราะเป็นเหมือนไม้อ้อ โดยเป็นของเปล่า. ภิกษุชื่อว่าอุนนฬะ เพราะมีนฬะ กล่าวคือมานะสูง อธิบายว่า มีมานะสูงเปล่า. ชื่อว่าจปละ เพราะประกอบหรือมากไปด้วยความกวัดแกว่งมีประดับบาตรและจีวรเป็นต้น. ชื่อว่ามุขระ เพราะมี บทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบว่า ภิกษุเหล่านั้นอยู่ด้วยความประมาท ด้วยอำนาจอุทธัจจะเป็นต้นนี้. บทว่า อิมํ อุทานํ ความว่า ทรงเปล่งอุทานนี้อันประกาศโทษและอานิสงส์ตามลำดับ ในการอยู่ด้วยความประมาทและอยู่ด้วยความไม่ประมาท. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อรกฺขิเตน ความว่า ชื่อว่าไม่คุ้มครอง เพราะไม่มีสติเป็นอารักขา. บทว่า กาเยน ได้แก่ ด้วยกายวิญญาณ ๖. ก็เพราะเห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ แล้วไม่ใช้สติรักษาทวารแห่งวิญญาณ โดยให้อภิชฌาเป็นต้นเกิดด้วยการถือนิมิตและอนุพยัญชนะในรูปนั้น. แม้ในโสตวิญญาณก็นัยนี้เหมือนกัน. พระองค์ตรัสว่า อรกฺขิเตน กาเยน หมายถึงความที่ภิกษุไม่รักษาวิญญาณกาย ๖ ด้วยอาการอย่างนี้. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวอรรถว่า กาเยน ดังนี้. พึงประกอบสติด้วยอรรถโยชนาของอาจารย์บางพวกแม้เหล่านั้น โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า อรกฺขิเตน จิตฺเตน. อรรถของอาจารย์อีกพวกหนึ่งแม้นั้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิหเตน ได้แก่ ถูกความถือผิดว่าเที่ยงเป็นต้นประทุษร้ายแล้ว. บทว่า ถีนมิทฺธาภิภูเตน ความว่า ถูกถีนะอันมีความที่จิตไม่ควรแก่การงานเป็นลักษณะ และถูกมิทธะมีความที่กายไม่ควรแก่การงานเป็นลักษณะครอบงำแล้ว เชื่อมความว่าด้วยกายนั้น หรือว่าด้วยจิตนั้น. บทว่า วสํ มารสฺส คจฺฉติ ความว่า เข้าถึงอำนาจคือ ความที่ตนถูกมารทั้งหมดมีกิเลสมารเป็นต้นทำเอาตามปรารถนา อธิบายว่า ไม่ล่วงเลยวิสัยของมารเหล่านั้นไปได้. จริงอยู่ ด้วยพระคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงวัฏฏะโดยมุข คือทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้นผู้อยู่ด้วยความประมาทว่า ภิกษุเหล่าใดไม่รักษาจิตโดยประการทั้งปวง เพราะไม่มีสติเป็นอารักขา ผู้ยึดถือการแสวงหาผิดโดยนัยมีอาทิว่าเที่ยง โดย บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงวิวัฏฏะ (คือนิพพาน) จึงตรัสพระคาถาที่ ๒ ว่า ตสฺมา รกฺขิตจิตฺตสฺส ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺมา รกฺขิตจิตฺตสสฺส ความว่า ก็เพราะเหตุที่ภิกษุผู้ไม่รักษาจิต ถูกมารทำเอาตามประสงค์ จึงอยู่ในสงสารเท่านั้น ฉะนั้น ภิกษุพึงเป็นผู้ บทว่า สมฺมาสงฺกปฺปโคจโร ความว่า เพราะเหตุที่ภิกษุมีมิจฉาสังกัปปะเป็นอารมณ์ จึงตรึกโดยไม่แยบคาย ยึดถือมิจฉาทัสสนะต่างๆ มีจิตอันมิจฉาทิฎฐิขจัดแล้ว เป็นผู้ถูกมารทำเอาตามปรารถนา ฉะนั้นเมื่อจะทำกรรมโดยโยนิโสมนสิการ พึงเป็นผู้มีความดำริชอบ มีความดำริในการออกจากกามเป็นต้นเป็นอารมณ์ พึงกระทำความดำริชอบอันสัมปยุตด้วยฌานเป็นต้นเท่านั้น ให้เป็นฐานที่เป็นไปแห่งจิตของตน. บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิปุเรกฺขาโร ความว่า ภิกษุผู้กำจัดมิจฉาทัสสนะด้วยความเป็นผู้มีสัมมาสังกัปปะเป็นอารมณ์ พึงมุ่งกระทำสัมมาทิฏฐิอันมีความดี ที่สัตว์มีกรรมเป็นของตนเป็นเบื้องหน้าเป็นลักษณะ และต่อจากนั้นมียถาภูตญาณเป็นลักษณะ จึงขวนขวาย ต่อจากนั้น จึงบำเพ็ญวิปัสสนาด้วยอำนาจภังคานุปัสสนาญาณเป็นต้น ยึดเอาอริยมรรคได้โดยลำดับ ชื่อว่าเป็นภิกษุผู้ครอบงำถีนมิทธะ ละทุคติทั้งปวงได้ ด้วยอาการอย่างนี้ เธอชื่อว่าเป็นภิกษุผู้ขีณาสพทำลายกิเลสโดยประการทั้งปวง เพราะละกิเลสอันมรรคเบื้องต่ำ พึงฆ่าได้ก่อน เพราะตัดขาดถีนมิทธะอันเกิดในจิตตุปบาทที่เกิดพร้อมด้วยโลภะที่เป็นทิฎฐิวิปยุต ด้วยอรหัตมรรคที่ตนบรรลุ จากนั้นจึงละกิเลสมีมานะเป็นต้น อันรวมอยู่ในฐานเดียวกันกับโลภะนั้น เพราะตัดมูลแห่งภพได้เด็ดขาด จึงชื่อว่าละ คือละขาดคติทั้งปวง กล่าวคือทุคติ เพราะประกอบด้วยความเป็นทุกข์ ๓ ประการ อธิบายว่า พึงตั้งอยู่ในส่วนอื่นของคติเหล่านั้น คือในพระนิพพาน. จบอรรถกถาอุทธตสูตรที่ ๒ -------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย อุทาน เมฆิยวรรคที่ ๔ อุทธตสูตร จบ. |