บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] หน้าต่างที่ ๒ / ๑๐. ข้อความเบื้องต้น ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อตฺตานเมว ปฐมํ" เป็นต้น. พระเถระออกอุบายหาลาภ เมื่อภายในกาลฝนหนึ่งใกล้เข้ามา พระอุปนันทะนั้นได้ไปสู่ชนบทแล้ว. ลำดับนั้น ภิกษุหนุ่มและสามเณรในวิหารแห่งหนึ่ง กล่าวกะท่านด้วยความรักในธรรมกถึกว่า "ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงเข้าพรรษาในที่นี้เถิด." พระอุปนันทะถามว่า "ในวิหารนี้ ได้ผ้าจำนำพรรษากี่ผืน?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นตอบว่า "ได้ผ้าสาฎกองค์ละผืน" จึงวางรองเท้าไว้ในวิหารนั้น ได้ไปวิหารอื่น, ถึงวิหารที่ ๒ แล้วถามว่า "ในวิหารนี้ ภิกษุทั้งหลายได้อะไร?" เมื่อพวกภิกษุตอบว่า "ได้ผ้าสาฎก ๒ ผืน" จึงวางไม้เท้าไว้, ถึงวิหารที่ ๓ ถามว่า "ในวิหารนี้ ภิกษุทั้งหลายได้อะไร?" เมื่อพวกภิกษุตอบว่า "ได้ผ้าสาฎก ๓ ผืน" จึงวางลักจั่นน้ำไว้, ถึงวิหารที่ ๔ ถามว่า "ในวิหารนี้ ภิกษุทั้งหลายได้อะไร?" เมื่อพวกภิกษุตอบว่า "ได้ผ้าสาฎก ๔ ผืน" จึงกล่าวว่า "ดีละ เราจักอยู่ในที่นี้" ดังนี้แล้ว เข้าพรรษาในวิหารนั้น กล่าวธรรมกถาแก่คฤหัสถ์และภิกษุทั้งหลายนั่นแล. คฤหัสถ์และภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น บูชาพระอุปนันทะนั้นด้วยผ้าและจีวรเป็นอันมากทีเดียว. พระอุปนันทะนั้นออกพรรษาแล้ว ส่งข่าวไปในวิหารแม้นอกนี้ว่า "เราควรได้ผ้าจำนำพรรษา เพราะเราวางบริขารไว้, ภิกษุทั้งหลายจงส่งผ้าจำนำพรรษาให้เรา" ให้นำผ้าจำนำพรรษาทั้งหมดมาแล้ว บรรทุกยานน้อยขับไป. พระอุปนันทะตัดสินข้อพิพาท ภิกษุหนุ่ม ๒ รูปนั้นเห็นพระเถระนั้นเดินมา จึงกล่าวว่า "ขอท่านจงช่วยแบ่งให้แก่พวกผมเถิด ขอรับ." เถระ. พวกคุณจงแบ่งกันเองเถิด. ภิกษุ. พวกผมไม่สามารถ ขอรับ ขอท่านจงแบ่งให้พวกผมเถิด. เถระ. พวกคุณจักตั้งอยู่ในคำของเราหรือ? ภิกษุ. ขอรับ พวกผมจักตั้งอยู่. พระเถระนั้นกล่าวว่า "ถ้ากระนั้น ดีละ" ให้ผ้าสาฎก ๒ ผืนแก่ภิกษุหนุ่ม ๒ รูปนั้นแล้ว กล่าวว่า "ผ้ากัมพลผืนนี้ จงเป็นผ้าห่มของเราผู้กล่าวธรรมกถา" ดังนี้แล้ว ก็ถือเอาผ้ากัมพลมีค่ามากหลีกไป. พวกภิกษุหนุ่มเป็นผู้เดือดร้อน ไปสู่สำนักพระศาสดา กราบทูลเนื้อความนั้นแล้ว. บุรพกรรมของพระอุปนันทะ ดังนี้แล้ว ทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัส) ว่า :- "ก็ในอดีตกาล นาก ๒ ตัว คือนากเที่ยวหากินตามริมฝั่ง ๑ นากเที่ยวหากินทางน้ำลึก ๑ ได้ปลาตะเพียนตัวใหญ่ ถึงความทะเลาะกันว่า "ศีรษะจงเป็นของเรา, หางจงเป็นของท่าน." ไม่อาจจะแบ่งกันได้ เห็นสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่ง จึงกล่าวว่า "ลุง ขอท่านจงช่วยแบ่งปลานี้ให้แก่พวกข้าพเจ้า." สุนัขจิ้งจอก. เราอันพระราชาตั้งไว้ในตำแหน่งผู้พิพากษา เรานั่งในที่วินิจฉัยนั้นนานแล้ว จึงมาเสียเพื่อต้องการเดินเที่ยวเล่น๑- เดี๋ยวนี้ โอกาสของเราไม่มี. นาก. ลุง ท่านอย่าทำอย่างนี้เลย, โปรดช่วยแบ่งให้พวกข้าพเจ้าเถิด. สุนัขจิ้งจอก. พวกเจ้าจักตั้งอยู่ในคำของเราหรือ? นาก. พวกข้าพเจ้าจักตั้งอยู่ ลุง. สุนัขจิ้งจอกนั้นกล่าวว่า "ถ้าเช่นนั้น ดีละ" จึงได้ตัดทำหัวไว้ข้างหนึ่ง หางไว้ข้างหนึ่ง; ก็แลครั้นทำแล้ว จึงกล่าวว่า "พ่อทั้งสอง บรรดาพวกเจ้าทั้งสอง ตัวใดเที่ยวไปริมฝั่ง ตัวนั้นจึงถือทางหาง, ตัวใดเที่ยวไปในน้ำลึก ศีรษะจงเป็นของตัวนั้น, ส่วน เมื่อจะให้นากเหล่านั้นยินยอม จึงกล่าวคาถา๒- นี้ว่า :- หางเป็นของนาก ผู้เที่ยวหากินตามริมฝั่ง, ศีรษะเป็นของนาก ผู้เที่ยวหากินในน้ำลึก, ส่วนท่อนกลางนี้ จักเป็นของเรา ผู้ตั้งอยู่ ในธรรม. ดังนี้แล้ว คาบเอาท่อนกลางหลีกไป. แม้นาคทั้งสองนั้นเดือดร้อน ได้ยืนแลดูสุนัขจิ้งจอกนั้นแล้ว. ____________________________ ๑- ชงฺฆวิหาร ศัพท์นี้ แปลว่า เดินเที่ยวเล่นหรือพักแข้ง. ๒- ขุ. ชา. สัตตก. เล่ม ๒๗/ข้อ ๑๐๐๑; อรรถกถา ขุ. ชา. สัตตก. เล่ม ๒๗/ข้อ ๑๐๐๑. พระศาสดา ครั้นทรงแสดงเรื่องอดีตนี้แล้ว ตรัสว่า แม้ในอดีตกาล อุปนันทะนี้ได้กระทำพวกเธอให้เดือดร้อนอย่างนี้เหมือนกัน" ให้ภิกษุเหล่านั้นยินยอมแล้ว เมื่อจะทรงติเตียนพระอุปนันทะ จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาผู้จะสั่งสอนผู้อื่น พึงให้ตนตั้งอยู่ในคุณอันสมควรเสียก่อนทีเดียว" ดังนี้แล้ว ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
แก้อรรถ พระศาสดาตรัสคำนี้ว่า "บุคคลใด ประสงค์จะสั่งสอนผู้อื่น ด้วยคุณมีความปรารถนาน้อยเป็นต้น หรือด้วยปฏิปทาของอริยวงศ์เป็นต้น บุคคลนั้นพึงยังตนนั่นแลให้ตั้งอยู่ในคุณนั้นก่อน; ครั้นตั้งตนไว้อย่างนั้นแล้ว พึงสั่งสอนผู้อื่น ด้วยคุณนั้นในภายหลัง ด้วยว่าบุคคล เมื่อไม่ยังตนให้ตั้งอยู่ในคุณนั้น สอนผู้อื่นอย่างเดียวเท่านั้น ได้ความนินทาจากผู้อื่นแล้ว ชื่อว่าย่อมเศร้าหมอง. บุคคล เมื่อยังตนให้ตั้งอยู่ในคุณนั้นแล้ว สั่งสอนผู้อื่นอยู่ ย่อมได้รับความสรรเสริญจากผู้อื่น เพราะฉะนั้น ชื่อว่าย่อมไม่เศร้าหมอง. บัณฑิต เมื่อทำอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าไม่พึงเศร้าหมอง." ในกาลจบเทศนา ภิกษุสองรูปนั้นดำรงอยู่แล้วในโสดาปัตติผล. เทศนาได้เป็นไปกับด้วยประโยชน์ แม้แก่มหาชน ดังนี้แล. เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑๒ |