บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] หน้าต่างที่ ๒ / ๑๑. ข้อความเบื้องต้น ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อุตฺติฏฺเฐ นปฺปมชฺเชยฺย" เป็นต้น. พระศาสดาเสด็จไปกรุงกบิลพัสดุ์ครั้งแรก พระญาติทั้งหลายมีจิตเลื่อมใสแล้ว ถวายบังคมตั้งต้นแต่พระเจ้าสุทโธทนมหาราช. ฝนโบกขรพรรษตกในสมาคมแห่งพระญาตินั้น. เมื่อมหาชนปรารภฝนนั้น สนทนากันแล้ว. พระศาสดาตรัสว่า "ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นหามิได้ ภิกษุทั้งหลาย ถึงในกาลก่อน ฝนโบกขรพรรษก็ตกในสมาคมแห่งญาติของเราเหมือนกัน" ดังนี้แล้ว จึงตรัสเวสสันดรชาดก๑- ____________________________ ๑- ขุ. ชา. มหา. เล่ม ๒๘/ข้อ ๑๐๔๕ อรรถกถา ขุ. ชา. มหา. เล่ม ๒๘/ข้อ ๑๐๔๕ บรรดาพระญาติซึ่งฟังพระธรรมเทศนาแล้วหลีกไปอยู่ แม้องค์หนึ่งก็ไม่นิมนต์พระศาสดาแล้ว. แม้พระราชาก็ไม่ทรงนิมนต์เลย ด้วยทรงดำริว่า "บุตรเราไม่มาสู่เรือนของเรา จักไปไหน?" ดังนี้แล้ว ได้เสด็จไป ก็แลครั้นเสด็จไปแล้ว รับสั่งให้คนตกแต่งข้าวต้มเป็นต้น ให้ปูลาดอาสนะทั้งหลายไว้ เพื่อภิกษุมีประมาณสองหมื่น ในพระราชมนเทียร. วันรุ่งขึ้น พระศาสดาเมื่อเสด็จเข้าไปสู่พระนครเพื่อบิณฑบาต ทรงใคร่ครวญว่า "พระพุทธเจ้าในอดีตทั้งหลายเสด็จถึงพระนครแห่งพระบิดาแล้ว เสด็จตรงไปสู่ตระกูล พระมารดาของพระราหุลประทับนั่งบนพื้นปราสาทแลเห็นแล้ว จึงกราบทูลประพฤติเหตุนั้นแด่พระราชา พระราชาทรงจัดแจงผ้าสาฎกรีบเสด็จออกไป ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ตรัสว่า "ลูก เพราะเหตุไร? ท่านจึงให้ข้าพเจ้าฉิบหาย ท่านเที่ยวไปเพื่อภิกษา ให้ความละอายเกิดขึ้นแล้วแก่ข้าพเจ้าเหลือเกิน ขึ้นชื่อว่ากรรมไม่ควรอันท่านทำแล้ว, การที่ท่านเที่ยวไปด้วยวอทองคำเป็นต้น เที่ยวไปเพื่อภิกษา ในนครนี้นั้นแหละ จึงควร ท่านให้ข้าพเจ้าละอายทำไม?" การบิณฑบาตเป็นวงศ์ของพระพุทธเจ้า พระราชา. พ่อ ก็การเที่ยวไปเพื่อภิกษาแล้วเป็นอยู่ เป็นวงศ์ของข้าพเจ้าหรือ? พระศาสดาตรัสว่า "มหาบพิตร นั่นมิใช่เป็นวงศ์ของพระองค์, แต่นั่นเป็นวงศ์ของอาตมภาพ เพราะพระพุทธเจ้าไม่ใช่พันหนึ่ง เสด็จเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตแล้วเป็นอยู่เหมือนกัน" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรม ได้ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
แก้อรรถ บทว่า นปฺปมชฺเชยฺย ความว่า ก็ภิกษุเมื่อให้ธรรมเนียมของผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นปกติเสื่อมแล้ว แสวงหาโภชนะอันประณีต ชื่อว่าย่อมประมาท ในก้อนข้าวอันตนพึงลุกขึ้นยืนรับ, แต่ว่าเมื่อเที่ยวไปตามลำดับตรอกเพื่อบิณฑบาต ชื่อว่าย่อมไม่ประมาท. ทำอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าไม่พึงประมาท ในก้อนข้าวที่ตนพึงลุกขึ้นยืนรับ. บทว่า ธมฺมํ ความว่า เมื่อละการแสวงหาอันไม่ควรแล้วเที่ยวไปตามลำดับตรอก ชื่อว่าพึงประพฤติธรรม คือการเที่ยวไปเพื่อภิกษานั้นนั่นแลให้เป็นสุจริต. คำว่า สุขํ เสติ นั่น สักว่าเป็นเทศนา. อธิบายว่า เมื่อประพฤติธรรมคือการเที่ยวไปเพื่อภิกษา ชื่อว่าประพฤติธรรมเป็นปกติ ย่อมอยู่เป็นสุขโดยอิริยาบถแม้ทั้ง ๔ ในโลกนี้และโลกหน้า. สองบทว่า น ตํ ทุจฺจริตํ ความว่า เมื่อเที่ยวไปในอโคจร ต่างด้วยอโคจรมีหญิงแพศยาเป็นต้น ชื่อว่าย่อมประพฤติธรรม คือการเที่ยวไปเพื่อภิกษาให้เป็นทุจริต. ไม่ประพฤติอย่างนั้น พึงประพฤติธรรมนั้นให้เป็นสุจริต ไม่พึงประพฤติธรรมนั้นให้เป็นทุจริต. คำที่เหลือ มีเนื้อความดังกล่าวแล้วเหมือนกัน. ในเวลาจบเทศนา พระราชาทรงดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผลแล้ว. เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่ชนทั้งหลายผู้ประชุมกัน ดังนี้แล. เรื่องพระเจ้าสุทโธทนะ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท โลกวรรคที่ ๑๓ |