ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 

อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘]อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 24อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 25อ่านอรรถกถา 25 / 26อ่านอรรถกถา 25 / 440
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท สุขวรรคที่ ๑๕

หน้าต่างที่ ๔ / ๘.

               ๔. เรื่องเด็กหญิงแห่งตระกูลคนใดคนหนึ่ง [๑๖๐]               
               ข้อความเบื้องต้น               
               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภกุมาริกาคนใดคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ" เป็นต้น.

               พระศาสดาเสด็จในงานอาวาหมงคล               
               ได้ยินว่า มารดาของกุมาริกานั้นกระทำอาวาหมงคล นิมนต์พระศาสดาในวันมงคล. พระศาสดาอันหมู่แห่งภิกษุแวดล้อมเสด็จไปในที่นั้น ประทับนั่งแล้ว. หญิงสาวแม้คนนั้นแล กระทำการกรองน้ำเป็นต้น เพื่อหมู่แห่งภิกษุ เที่ยวไปๆ มาๆ อยู่.
               ฝ่ายสามีของนางได้ยืนแลดูนางอยู่แล้ว. เมื่อเขาแลดูอยู่ด้วยอำนาจแห่งราคะ กิเลสในภายในย่อมฟุ้งซ่าน. เขาถูกความไม่รู้ (ไม่รู้สึก) ครอบงำแล้ว จึงไม่บำรุงพระพุทธเจ้า ไม่บำรุงพระมหาเถระ ๘๐ แต่ได้กระทำจิตไว้ว่า "เราจักเหยียดมือออกจับ (หญิงสาว) นั้น."
               พระศาสดาทรงเล็งเห็นอัชฌาสัยของเขาแล้ว ได้ทรงกระทำอย่างที่เขาไม่เห็น (หญิง) นั้น. เขาไม่เห็นหญิงนั้นแล้ว จึงได้ยืนแลดูพระศาสดา. ในกาลที่เขายืนแลอยู่ พระศาสดาตรัสว่า "แน่ะกุมาร ก็ชื่อว่าไฟ เช่นกับไฟคือราคะ ไม่มี, ชื่อว่าโทษ เช่นกับโทษคือโทสะ ไม่มี, ชื่อว่าทุกข์ เช่นกับทุกข์เพราะการบริหารขันธ์ ไม่มี, แม้สุขเช่นกับนิพพานสุข ไม่มีเหมือนกัน"
               ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
                         ๔. นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ    นตฺถิ โทสสโม กลิ
                         นตฺถิ ขนฺธาทิสา ทุกฺขา    นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ.
                         ไฟเสมอด้วยราคะ ย่อมไม่มี, โทษเสมอด้วยโทสะ ย่อมไม่มี,
                         ทุกข์ทั้งหลายเสมอด้วยขันธ์ ย่อมไม่มี, สุขอื่นจากความสงบ
                         ย่อมไม่มี.

               แก้อรรถ               
               บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า นตฺถิ ราคสโม ความว่า ชื่อว่าไฟอื่นเสมอด้วยราคะ ซึ่งสามารถเพื่อจะไม่แสดงควัน เปลว หรือถ่านไหม้ในภายในเท่านั้น แล้วจึงกระทำกองเถ้า ย่อมไม่มี.
               บทว่า กลิ ความว่า แม้โทษ เสมอด้วยโทสะ ย่อมไม่มี.
               บทว่า ขนฺธสมา๑- ได้แก่ เสมอด้วยขันธ์ทั้งหลาย. อธิบายว่า ชื่อว่าทุกข์อย่างอื่น เหมือนอย่างขันธ์ทั้งหลายที่บุคคลบริหารอยู่เป็นทุกข์ ย่อมไม่มี.
               สองบทว่า สนฺติปรํ สุขํ ความว่า แม้สุขอื่นยิ่งกว่าพระนิพพาน ย่อมไม่มี. อธิบายว่า ความจริง สุขอย่างอื่นก็เป็นสุขเหมือนกัน แต่พระนิพพานเป็นบรมสุข.
               ในกาลจบเทศนา กุมาริกาและกุมารตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว.
               ในขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำอาการ คืออันเห็นซึ่งกันและกันแก่คนทั้งสองนั้นดังนี้แล.
____________________________
๑- บาลีเป็น ขนุธาทิสา.

               เรื่องเด็กหญิงแห่งตระกูลคนใดคนหนึ่ง จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท สุขวรรคที่ ๑๕
อ่านอรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘]
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 24อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 25อ่านอรรถกถา 25 / 26อ่านอรรถกถา 25 / 440
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=799&Z=829
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=23&A=2392
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=23&A=2392
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๓๐  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๔๘
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :