ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 

อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘]อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 26อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 27อ่านอรรถกถา 25 / 28อ่านอรรถกถา 25 / 440
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท โกธวรรคที่ ๑๗

หน้าต่างที่ ๘ / ๘.

               ๘. เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์ [๑๘๑]               
               ข้อความเบื้องต้น               
               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภภิกษุฉัพพัคคีย์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "กายปฺปโกปํ" เป็นต้น.

               มูลบัญญัติการสวมเขียงเท้า               
               ความพิสดารว่า วันหนึ่ง พระศาสดาทรงสดับเสียง "ขฏะขฏะ ก๊อกๆ" แห่งภิกษุเหล่านั้นผู้ถือไม้เท้าทั้งสองมือ สวมเขียงเท้าไม้ จงกรมอยู่บนหลังแผ่นหิน ตรัสถามว่า "อานนท์ นั่นชื่อเสียงอะไรกัน?" ทรงสดับว่า "เป็นเสียงขฏะขฏะแห่งพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ผู้สวมเขียงเท้าไม้จงกรมอยู่" จึงทรงบัญญัติสิกขาบท
               แล้วตรัสว่า "ธรรมดาภิกษุ ควรรักษาทวารมีกายทวาร เป็นต้น" ดังนี้แล้ว
               เมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
               ๗. กายปฺปโกปํ รกฺเขยฺย    กาเยน สํวุโต สิยา
               กายทุจฺจริตํ หิตฺวา    กาเยน สุจริตํ จเร
               วจีปโกปํ รกฺเขยฺย    วาจาย สํวุโต สิยา
               วจีทุจฺจริตํ หิตฺวา    วาจาย สุจริตํ จเร
               มโนปโกปํ รกฺเขยฺย    มนสา สํวุโต สิยา
               มโนทุจฺจริตํ หิตฺวา    มนสา สุจริตํ จเร
               กาเยน สํวุตา ธีรา    อโถ วาจาย สํวุตา
               มนสา สํวุตา ธีรา    เต เว สุปริสํวุตา.
               พึงรักษาความกำเริบทางกาย, พึงเป็นผู้สำรวมทางกาย,
               พึงละกายทุจริตแล้ว ประพฤติสุจริตทางกาย;
               พึงรักษาความกำเริบทางวาจา, พึงเป็นผู้สำรวมทางวาจา
               พึงละวจีทุจริตแล้ว ประพฤติสุจริตทางวาจา;
               พึงละความกำเริบทางใจ, พึงเป็นผู้สำรวมทางใจ,
               พึงละมโนทุจริตแล้ว ประพฤติสุจริตทางใจ,
               ธีรชนทั้งหลายสำรวมทางกาย อนึ่ง สำรวมทางวาจา,
               สำรวมทางใจ, ธีรชนเหล่านั้นแล ชื่อว่าสำรวมรอบคอบดีแล้ว.

               แก้อรรถ               
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กายปฺปโกปํ ได้แก่ พึงรักษากายทุจริตสามอย่าง.
               สองบทว่า กาเยน สํวุโต ความว่า พึงห้ามการเข้าไปแห่งทุจริตในกายทวาร สำรวมไว้แล้ว คือมีทวารปิดแล้ว; ก็เพราะบุคคลละกายทุจริตอยู่ ประพฤติกายสุจริต ชื่อว่า ย่อมกระทำกรรมนั้น แม้ทั้งสองอย่าง ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า "กายทุจฺจริตํ หิตฺวา กาเยน สุจริตํ จเร."
               แม้ในคาถาเป็นลำดับไป ก็นัยนี้เหมือนกัน.
               บาทพระคาถาว่า กาเยน สํวุตา ธีรา ความว่า บัณฑิตเหล่าใด เมื่อไม่ทำกายทุจริตมีปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่าสำรวมแล้วทางกาย, เมื่อไม่ทำวจีทุจริตมีมุสาวาทเป็นต้น ชื่อว่าสำรวมแล้วทางวาจา, เมื่อไม่ให้มโนทุจริต มีอภิชฌาเป็นต้นตั้งขึ้น ชื่อว่าสำรวมแล้วทางใจ; บัณฑิตเหล่านั้น ชื่อว่าสำรวมรอบคอบดีแล้ว คือรักษาดีแล้ว คุ้มครองดีแล้ว มีทวารอันปิดดีแล้ว ในโลกนี้.
               ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

               เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์ จบ.               
               โกธวรรควรรณนา จบ.               
               วรรคที่ ๑๗ จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท โกธวรรคที่ ๑๗ จบ.
อ่านอรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘]
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 26อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 27อ่านอรรถกถา 25 / 28อ่านอรรถกถา 25 / 440
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=862&Z=894
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=23&A=3173
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=23&A=3173
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๓๐  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๔๘
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :