บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] หน้าต่างที่ ๘ / ๙. ข้อความเบื้องต้น สองเศรษฐีทำกติกาต่อกัน สมัยหนึ่ง อุคคเศรษฐีประกอบการค้าขาย ได้ไปยังกรุงสาวัตถีด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม. อนาถบิณฑิกเศรษฐีเรียกนางจูฬสุภัททาธิดาของตนมา สั่งว่า "แม่ บิดาของเจ้าชื่ออุคคเศรษฐีมา, กิจที่ควรทำแก่เขา จงเป็นภาระของเจ้า." อุคคเศรษฐีขอนางจูฬสุภัททาเพื่อบุตร อุคคเศรษฐีเห็นอาจารสมบัติของนางสุภัททานั้นแล้ว มีจิตเลื่อมใส ในวันหนึ่ง นั่งอยู่กับ๑- อนาถบิณฑิกเศรษฐี ด้วยกถาอันปรารภความสุขแล้ว นึกได้ว่า "ในเวลายังเป็นหนุ่ม เราทั้งสองทำกติกาชื่ออย่างนี้ไว้แล้ว" จึงขอนางจูฬสุภัททา เพื่อประโยชน์แก่บุตรของตน. ____________________________ ๑- นั่งสนทนากันตามสบายกับอนาถบิณฑิกเศรษฐี. แต่อุคคเศรษฐีนั้นโดยปกติเป็นมิจฉาทิฏฐิ เพราะฉะนั้น อนาถ เรียกนางสุภัททามาแล้ว ให้โอวาท ๑๐ ข้อ เป็นต้นว่า "แม่ ธรรมดาสตรีผู้อยู่ในตระกูลพ่อผัว ไม่ควรนำไฟภายในออกไปภายนอก" โดยนัยที่ธนญชัยเศรษฐีให้แก่นางวิสาขานั่นแล เมื่อจะส่งไป ยึดเอากุฎุมพี ๘ คนให้เป็นผู้รับรองว่า "ถ้าโทษของธิดาข้าพเจ้าเกิดขึ้นในที่ไปแล้ว พวกท่านต้องชำระ" ในวันเป็นที่ส่งธิดานั้นไป ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์ มี ฝ่ายนางจูฬสุภัททานั่นแสดงตนแก่ชาวนครทั้งสิ้น เหมือนนางวิสาขา เพื่อทำสิริสมบัติของตนให้ปรากฏ ยืนอยู่บนรถเข้าไปสู่นคร รับเครื่องบรรณาการที่ชาวนครส่งมาแล้ว ส่งไป [ตอบแทน] แก่ชนเหล่านั้นๆ ด้วยสามารถแห่งวัตถุตามสมควร ได้ทำชาวนครทั้งสิ้นให้เนื่องเป็นอันเดียวกับด้วยคุณของตน. พ่อผัวให้นางจูฬสุภัททาไหว้ชีเปลือย นางคิดว่า "พ่อผัวไม่อาจยกโทษแก่เรา เพราะเหตุไม่สมควรได้" ให้คนเรียกกุฎุมพีมาแล้ว บอกความนั้น. กุฎุมพี ภรรยาเศรษฐีนั้นคิดว่า "พวกสมณะของลูกสะใภ้นี้ เป็นเช่นไรหนอแล? นางสรรเสริญพระสมณะเหล่านั้นเหลือเกิน" ให้คนเรียกนางมาแล้ว พูดว่า :- "พวกพระสมณะของเจ้า เป็นเช่นไร? เจ้าจึง สรรเสริญพระสมณะเหล่านั้นนักหนา. พระสมณะ เหล่านั้น มีปกติอย่างไร? มีสมาจารอย่างไร? เจ้า อันเราถามแล้ว จงบอกเรื่องนั้นแก่เรา." ลำดับนั้น นางสุภัททาประกาศคุณทั้งหลายของพระพุทธเจ้า และพระสาวกของพระพุทธเจ้า แก่แม่ผัวนั้นอยู่ ให้แม่ผัวยินดีแล้วด้วยคำทั้งหลายมีเป็นต้นอย่างนี้ว่า :- ลูกสะใภ้บอกสมณภาพแก่แม่ผัว เรียบร้อย, มีจักษุทอดลง พูดพอประมาณ, พวกสมณะของฉันเป็นเช่นนั้น. กายกรรมของท่านสะอาด. วจีกรรมไม่มัวหมอง, มโนกรรมหมดจดดี. พวกสมณะของฉันเป็นเช่นนั้น. ท่านไม่มีมลทิน มีรัศมีดุจสังข์และมุกดา บริสุทธิ์ ทั้งภายในภายนอก เต็มแล้วด้วยธรรมอันหมดจดทั้งหลาย, พวกสมณะของฉันเป็นเช่นนั้น. โลกฟูขึ้นเพราะลาภ และฟุบลงเพราะเสื่อมลาภ, ท่านผู้ตั้งอยู่อย่างเดียวเพราะลาภและเสื่อมลาภ. พวกสมณะของฉันเป็นเช่นนั้น. โลกฟูขึ้นเพราะยศ และฟุบลงเพราะเสื่อมยศ, ท่านผู้ตั้งอยู่อย่างเดียวเพราะยศและเสื่อมยศ, พวกสมณะของฉันเป็นเช่นนั้น. โลกฟูขึ้นเพราะสรรเสริญ และฟุบลงแม้เพราะนินทา, ท่านผู้สม่ำเสมอในเพราะนินทาและสรรเสริญ, พวกสมณะของฉันเป็นเช่นนั้น. โลกฟูขึ้นเพราะสุข และฟุบลงแม้เพราะทุกข์, ท่านไม่หวั่นไหวในเพราะสุขและทุกข์, พวกสมณะของฉันเป็นเช่นนั้น." นางจูฬสุภัททานิมนต์ภิกษุสงฆ์ฉันอาหาร นางรับว่า "ดีละ" ตระเตรียมมหาทานเพื่อภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขแล้ว ยืนอยู่บนพื้นปราสาทชั้นบน ผินหน้าไปเฉพาะพระเชตวัน ไหว้โดยเคารพ ด้วยเบญ ดังนี้แล้ว จึงซัดดอกมะลิ ๘ กำไปในอากาศ. ดอกไม้ทั้งหลายลอยไปเป็นเพดานอันสำเร็จด้วยระเบียบดอกไม้ ได้คงที่อยู่เบื้องบนพระศาสดาผู้ทรงแสดงธรรมอยู่ในท่ามกลางบริษัท ๔. สัตบุรุษย่อมปรากฏในที่ไกล เมื่ออนาถบิณฑิกเศรษฐีกราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนอื่นมาก่อน ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
แก้อรรถ บทว่า ปกาเสนฺติ ความว่า แม้ยืนอยู่ที่ไกล เมื่อมาสู่คลองพระญาณแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าย่อมปรากฏได้. บทว่า หิมวนฺโตว ความว่า เหมือนอย่างว่า ภูเขาหิมพานต์กว้าง ๓,๐๐๐ โยชน์ สูง ๕๐๐ โยชน์ ประดับด้วยยอด ๘๔,๐๐๐ ย่อมปรากฏ แม้แก่ชนทั้งหลายผู้ยืนอยู่ในที่ไกล เหมือนตั้งอยู่เฉพาะหน้าฉันใด สัตบุรุษทั้งหลายย่อมปรากฏฉันนั้น. บทว่า อสนฺเตตฺถ ความว่า บุคคลพาล หนักในทิฏฐธรรม มีปรโลกอันผ่านไปแล้ว เห็นแก่อามิส บวชเพื่อประโยชน์แก่ชีวิต ชื่อว่า อสัตบุรุษ, อสัตบุรุษเหล่านั้น แม้นั่งในที่นี้ คือในที่ใกล้มณฑลแห่งพระชานุเบื้องขวาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏ คือย่อมไม่ทราบ. สองบทว่า รตฺตึ ขิตฺตา คือเหมือนลูกศรที่ยิงไปในราตรี คือในที่มืดประกอบด้วยองค์ ๔.#- อธิบายว่า อสัตบุรุษเหล่านั้น ย่อมไม่ปรากฏเพราะความไม่มีแห่งบุรพเหตุ ซึ่งเป็นอุปนิสัยเห็นปานนั้น. ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น. ____________________________ #- วันแรม ๑๔-๑๕ ค่ำ ๑ เที่ยงคืน ๑ ดงทึบ ๑ ก้อนเมฆ ๑. วิสสุกรรมนิรมิตเรือนยอด ๕๐๐ หลัง ในวันรุ่งขึ้น วิสสุกรรมเทพบุตรนั้นนิรมิตเรือนยอด ๕๐๐ หลังแล้ว ได้ยืนอยู่ที่ อุคคเศรษฐีกลับเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา แม้พระศาสดาทรงกำหนดธรรมเป็นที่สบายของเศรษฐีนั้น แล้วทรงแสดงธรรม. สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ทำเศรษฐีนั้นให้เป็นต้น ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว. พระศาสดา เพื่อทรงอนุเคราะห์นางสุภัททา จึงรับสั่งให้พระอนุรุทธเถระกลับ ด้วยพระดำรัสว่า "เธอจงพักอยู่ในที่นี่แหละ" แล้วได้เสด็จไปยังกรุงสาวัตถีทีเดียว. ตั้งแต่นั้นมา ชาวนครนั้นได้มีศรัทธาเลื่อมใสดังนี้แล. เรื่องนางจูฬสุภัททา จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปกิณณกวรรคที่ ๒๑ |