ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 

อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙]อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 30อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 31อ่านอรรถกถา 25 / 32อ่านอรรถกถา 25 / 440
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปกิณณกวรรคที่ ๒๑

หน้าต่างที่ ๙ / ๙.

               ๙. เรื่องพระเถระชื่อเอกวิหารี [๒๒๒]               
               ข้อความเบื้องต้น               
               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถระชื่อเอกวิหารี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "เอกาสนํ" เป็นต้น.

               พวกภิกษุทูลเรื่องพระเถระแด่พระศาสดา               

               ได้ยินว่า พระเถระนั้นได้เป็นผู้ปรากฏในระหว่างแห่งบริษัท ๔ ว่า "นั่งอยู่แต่ผู้เดียว เดินแต่ผู้เดียว ยืนแต่ผู้เดียว." ต่อมา ภิกษุทั้งหลายกราบทูลพระเถระนั้นแด่พระตถาคตว่า "พระเถระนี้ ชื่อว่ามีรูปอย่างนี้ พระเจ้าข้า."

               ภิกษุพึงเป็นผู้สงัด               
               พระศาสดาประทานสาธุการว่า "สาธุ สาธุ" ดังนี้แล้วทรงสั่งสอนว่า "ธรรมดาภิกษุ พึงเป็นผู้สงัด" แล้วตรัสอานิสงส์ในวิเวก
               แล้วจึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
                         ๙.   เอกาสนํ เอกเสยฺยํ    เอโก จรมตนฺทิโต
                         เอโก ทมยมตฺตานํ    วนนฺเต รมิโต สิยา.
                                   ภิกษุพึงเสพที่นั่งคนเดียว ที่นอนคนเดียว,
                         พึงเป็นผู้เดียว ไม่เกียจคร้านเที่ยวไป เป็นผู้เดียว
                         ทรมานตน เป็นผู้ยินดียิ่งในราวป่า.

               แก้อรรถ               
               บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า เอกาสนํ เอกเสยฺยํ ความว่า ที่นั่งของภิกษุผู้ไม่ละมูลกัมมัฏฐาน นั่งแม้ในท่ามกลางแห่งภิกษุตั้งพัน ด้วยการทำไว้ในใจนั้นนั่นแล ชื่อว่าที่นั่งคนเดียว.
               ก็ที่นอนของภิกษุผู้เข้าไปตั้งสติไว้แล้วนอนเหนือที่นอนอันเขาปูไว้ ในปราสาทเช่นกับโลหปราสาทก็ดี ในท่ามกลางภิกษุตั้งพันรูปก็ดี เป็นที่รองผ้าลาดอันวิจิตร อันควรแก่ค่ามาก โดย (ตะแคง) ข้างขวา ด้วยมนสิการในมูลกัมมัฏฐาน ชื่อว่าที่นอนคนเดียว.
               ภิกษุพึงเสพที่นั่งคนเดียวและที่นอนคนเดียวเห็นปานนั้น.
               บทว่า อตนฺทิโต ความว่า ภิกษุเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน ด้วยการอาศัยกำลังแข้งเลี้ยงชีวิต เที่ยวไปแต่ผู้เดียวในทุกๆ อิริยาบถ.
               บาทพระคาถาว่า เอโก ทมยมตฺตานํ ความว่า เป็นผู้ๆ เดียวเท่านั้น ทรมานตนด้วยสามารถแห่งการตามประกอบกัมมัฏฐานในที่ทั้งหลายมีที่พักกลางคืนเป็นต้น แล้วบรรลุมรรคและผล.
               บาทพระคาถาว่า วนนฺเต รมิโต สิยา ความว่า ภิกษุเมื่อทรมานตนอย่างนั้น ชื่อว่าพึงเป็นผู้ยินดียิ่ง ในราวป่าอันสงัดจากเสียงทั้งหลาย มีเสียงสตรีและบุรุษเป็นต้นทีเดียว เพราะภิกษุผู้มีปกติอยู่พลุกพล่าน ไม่อาจทรมานตนอย่างนั้นได้.
               ในกาลจบเทศนา ภิกษุเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.
               ตั้งแต่นั้นมา มหาชนย่อมปรารถนาการอยู่คนเดียวเท่านั้นดังนี้แล.

               เรื่องพระเถระชื่อเอกวิหารี จบ.               
               ปกิณณกวรรควรรณนา จบ.               
               วรรคที่ ๒๑ จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปกิณณกวรรคที่ ๒๑ จบ.
อ่านอรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙]
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 30อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 31อ่านอรรถกถา 25 / 32อ่านอรรถกถา 25 / 440
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=1035&Z=1079
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=24&A=1721
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=24&A=1721
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๓  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๘
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :