บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] หน้าต่างที่ ๒ / ๑๒. ข้อความเบื้องต้น พระศาสดาตรัสบุรพกรรมของนางลูกสุกร ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพระอานนท์นั้นว่า "อานนท์ เธอเห็นนางลูกสุกรนั่นไหม?" พระอานนท์. เห็น พระเจ้าข้า. พระศาสดา. นางลูกสุกรนั้นได้เกิดเป็นแม่ไก่ อยู่ในที่ใกล้โรงฉันแห่งหนึ่ง ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากกุสันธะ นางไก่นั้นฟังเสียงประกาศธรรมของภิกษุผู้เป็นโยคาวจรรูปหนึ่ง สาธยายวิปัสสนากัมมัฏฐานอยู่ จุติจากอัตภาพนั้นแล้วได้เกิดในราชตระกูล เป็นราชธิดาพระนามว่า อุพพรี ในกาลต่อมา พระนางเสด็จเข้าไปยังสถานเป็นที่ถ่ายอุจจาระ ทอดพระเนตรเห็นหมู่หนอนแล้วยังปุฬวกสัญญาให้เกิดขึ้นในที่นั้น ได้ปฐมฌานแล้ว พระนางดำรงอยู่ในอัตภาพนั้นจนสิ้นอายุ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดในพรหมโลก ก็แล พระนางครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว สับสนอยู่ด้วยอำนาจคติ จึงเกิดแล้วในกำเนิดสุกรในบัดนี้ เราเห็นเหตุนี้ จึงได้ทำการแย้มให้ปรากฏ. ภิกษุทั้งหลายมีพระอานนทเถระเป็นประมุข สดับเรื่องนั้นแล้วได้ความสังเวชเป็นอันมาก. ราคตัณหาให้โทษมาก
๑- โดยพยัญชนะแปลว่า เป็นไปแล้วกับด้วยตัณหาดุจยางเหนียว. แก้อรรถ เมื่อรากทั้ง ๕ (ของต้นไม้ใด) ซึ่งทอดตรงแน่วไปใน ๔ ทิศ และในภายใต้ ชื่อว่าไม่มีอันตราย เพราะอันตรายชนิดใดชนิดหนึ่ง บรรดาอันตรายมีการตัด การผ่า และการเจาะเป็นต้น ชื่อว่ามั่นคง เพราะถึงความเป็นของมั่นคง ต้นไม้ (นั้น) แม้ถูกบุคคลรานแล้ว ณ เบื้องบน ย่อมงอกขึ้นได้อีกทีเดียว ด้วยอำนาจกิ่งใหญ่น้อย ฉันใด, ทุกข์นี้ ที่ต่างด้วยทุกข์มีชาติทุกข์เป็นต้น เมื่ออนุสัย คือความนอนเนื่องแห่งตัณหาอันเป็นไปทางทวาร ๖ อันพระอรหัตมรรคญาณยังไม่ขจัด คือยังตัดไม่ขาดแล้ว ย่อมเกิดร่ำไปในภพนั้นๆ จนได้ ฉันนั้นนั่นแล. บทว่า ยสฺส เป็นต้น ความว่า ตัณหาประกอบด้วยกระแส ๓๖ ด้วยสามารถแห่งตัณหาวิจริตเหล่านี้ คือตัณหาวิจริตอิงอายตนะภายใน ๑๘#- ตัณหาวิจริตอิงอายตนะภายนอก ๑๘##- ด้วยประการฉะนี้ ชื่อว่าไหลไปในอารมณ์เป็นที่ชอบใจ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ย่อมไหลไป คือเป็นไปในอารมณ์มีรูปเป็นต้น อันเป็นที่ชอบใจ เป็นธรรมชาติกล้า คือมีกำลัง ย่อมมีแก่บุคคลใด, ความดำริทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นธรรมชาติใหญ่ เพราะความเป็นของใหญ่ โดยอันเกิดขึ้นบ่อยๆ ไม่อาศัยฌานหรือวิปัสสนา อาศัยราคะ ย่อมนำบุคคลนั้นผู้ชื่อว่ามีทิฏฐิชั่ว เพราะความเป็นผู้มีญาณวิบัติไป. ____________________________ #- ##- ดูความพิสดารใน อภิ.วิ. เล่ม ๓๕/ข้อ ๑๐๓๓; บาทพระคาถาว่า สวนฺติ สพฺพธี โสตา ความว่า กระแสตัณหาเหล่านี้ ชื่อว่าย่อมไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง เพราะไหลไปในอารมณ์ทั้งปวงมีรูปเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งทวารมีจักษุทวารเป็นต้น หรือเพราะตัณหาทั้งหมด คือรูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏ บทว่า ลตา ความว่า ตัณหาได้ชื่อว่าลตา เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า เป็นเหมือนเครือเถา โดยอรรถว่า เป็นเครื่องพัวพัน และโดยอรรถว่า เป็นเครื่องรึงรัดไว้. สองบทว่า อุพฺภิชฺช ติฏฺฐติ ความว่า ตัณหาดุจเถาวัลย์เกิดขึ้นโดยทวาร ๖ แล้ว ย่อมตั้งอยู่ในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น. สองบทว่า ตญฺจ ทิสฺวา ความว่า ก็ท่านเห็นตัณหาดังเครือเถานั้น ด้วยอำนาจแห่งที่มันเกิดแล้วว่า "ตัณหานี้ เมื่อจะเกิดย่อมเกิดขึ้นในปิยรูปและสาตรูปนี้." บทว่า ปญฺญาย ความว่า ท่านทั้งหลายจงตัดที่ราก ด้วยมรรคปัญญา ดุจบุคคลตัดซึ่งเครือเถาที่เกิดในป่าด้วยมีดฉะนั้น. บทว่า สริตานิ คือ แผ่ซ่านไป ได้แก่ซึมซาบไป. บทว่า สิเนหิตานิ จ ความว่า และเปื้อนตัณหาเพียงดังยางเหนียว ด้วยอำนาจตัณหาเพียงดังยางเหนียว อันเป็นไปในบริขารมีจีวรเป็นต้น. อธิบายว่า อันยางเหนียว คือตัณหาฉาบทาแล้ว. บทว่า โสมนสฺสานิ ความว่า โสมนัสทั้งหลายเห็นปานนั้น ย่อมมีแก่สัตว์ผู้เป็นไปในอำนาจตัณหา. สองบทว่า เต สาตสิตา ความว่า บุคคลเหล่านั้น คือผู้เป็นไปในอำนาจแห่งตัณหา เป็นผู้อาศัยความสำราญ คืออาศัยความสุขนั่นเอง จึงเป็นผู้แสวงหาความสุข คือเป็นผู้เสาะหาความสุข. บทว่า เต เว เป็นต้น ความว่า เหล่านระผู้เห็นปานนี้ ย่อมเข้าถึงความเกิด ความแก่ ความเจ็บ และความตายแท้ ฉะนั้น จึงเป็นผู้ชื่อว่าเข้าถึงชาติและชรา. บทว่า ปชา เป็นต้น ความว่า สัตว์เหล่านี้เป็นผู้อันตัณหาที่ถึงซึ่งอันนับว่า "ตสิณา" (ความดิ้นรน) เพราะทำซึ่งความสะดุ้งแวดล้อม คือห้อมล้อมแล้ว. บทว่า พาธิโต ความว่า (สัตว์เหล่านั้น) ย่อมกระเสือกกระสน คือหวาดกลัว ดุจกระต่ายตัวที่นายพรานดักได้ในป่าฉะนั้น. บทว่า สํโยชนสงฺคสตฺตา ความว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้อันสังโยชน์ ๑๐ อย่าง และกิเลสเครื่องข้อง คือราคะเป็นต้นผูกไว้แล้ว หรือเป็นผู้ติดแล้วในสังโยชน์เป็นต้นนั้น. บทว่า จิราย ความว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้าถึงทุกข์มีชาติเป็นต้น ร่ำไปสิ้นกาลนาน คือตลอดระยะกาลยืดยาว. บทว่า ตสฺมา เป็นต้น ความว่า เพราะสัตว์ทั้งหลายผู้อันตัณหา ซึ่งทำความสะดุ้งล้อมไว้ คือรึงรัดไว้แล้ว. ฉะนั้น เมื่อภิกษุปรารถนาหวังอยู่ซึ่งธรรมที่สิ้นกำหนัด คือพระนิพพาน อันเป็นที่ไปปราศกิเลสมีราคะเป็นต้นเพื่อตน พึงบรรเทา คือพึงขับไล่นำออกทิ้งเสียซึ่งตัณหาผู้ทำความสะดุ้งนั้น ด้วยพระอรหัตมรรคนั่นเทียว. ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น. นางลูกสุกรแม้นั้นแล จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดในราชตระกูล ในสุวรรณภูมิ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดในกรุงพาราณสีเหมือนอย่างนั้นแหละ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดในเรือนพ่อค้าม้าที่ท่าสุปปารกะ, จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดในเรือนของนายเรือที่ท่าคาวิระ, จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดในเรือนของอิสรชน ในเมืองอนุราธบุรี, จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดเป็นธิดาในเรือนของกุฎุมพีชื่อสุมนะ ในเภกกันต ต่อมา บิดาของนาง เมื่อชนทั้งหลายทิ้งบ้านนั้นแล้ว ได้ไปสู่แคว้นทีฆวาปีอยู่ในบ้านชื่อมหามุนีคาม. อำมาตย์ของพระเจ้าทุฏฐคามณี นามว่าลกุณฏกอติมพระ ไปที่บ้านนั้นด้วยกรณียกิจบางอย่าง เห็นนางแล้ว ทำการมงคลอย่างใหญ่ พา ครั้งนั้น พระมหาอตุลเถระผู้อยู่ในมหาวิหารชื่อโกฏิบรรพต เที่ยวไปในบ้านนั้น เพื่อบิณฑบาต ยืนอยู่ที่ประตูเรือนของนาง เห็นนางแล้ว จึงกล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า "ผู้มีอายุทั้งหลาย ชื่อว่านางลูกสุกร ถึงความเป็นภรรยาของมหาอำมาตย์ชื่อลกุณฏกอติมพระแล้ว, โอ! น่าอัศจรรย์จริง." นางฟังคำนั้นแล้วเพิกภพในอดีตขึ้นได้ กลับได้ญาณอันเป็นเหตุระลึกชาติ. ในขณะนั้นนั่นเอง นางมีความสังเวชเกิดขึ้นแล้ว อ้อนวอนสามีบวชในสำนักพระเถรีผู้ประกอบด้วยพละ ๕ ด้วยอิสริยยศอย่างใหญ่ ได้ฟังกถาพรรณนามหาสติปัฏฐานสูตร ใน ภายหลัง เมื่อพระเจ้าทุฏฐคามณีทรง ในวันปรินิพพาน นางถูกพวกภิกษุณีซักถามแล้ว ได้เล่าประวัติทั้งหมดนี้อย่างละเอียด๑- แก่ภิกษุณีสงฆ์ แล้วสนทนากับพระมหาติสสเถระผู้กล่าวบทแห่งธรรม ผู้มีปกติอยู่ในมณฑลาราม ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ผู้ประชุมกันแล้ว กล่าวว่า "ในกาลก่อน ข้าพเจ้าจุติจากกำเนิดมนุษย์แล้ว เป็นแม่ไก่ ถึงการตัดศีรษะจากสำนักเหยี่ยวในอัตภาพนั้นแล้ว (ไป) เกิดในกรุงราชคฤห์ แล้วบวชในสำนักนางปริพาชิกาทั้งหลาย แล้วเกิดในภูมิปฐมฌาน จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดในตระกูลเศรษฐี ต่อกาลไม่นานนัก จุติแล้ว ไปสู่กำเนิดสุกร จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ไปสู่สุวรรณภูมิ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ไปสู่ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ไปสู่ท่า จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ไปสู่ท่า จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ไปสู่เมือง จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ไปสู่บ้านเภกกันตคาม, ข้าพเจ้าได้ถึงอัตภาพ ๑๓ อันสูงๆ ต่ำๆ อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ บัดนี้ เกิดในอัตภาพอันอุกฤษฏ์แล้ว ขอให้ท่านทั้งหลายแม้ทั้งหมด จงยังธรรมเป็นกุศลทั้งหลายให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด." ดังนี้แล้ว ยังบริษัท ๔ ให้สังเวชแล้ว ปรินิพพาน ดังนี้แล. ____________________________ ๑- นิรนฺตรํ แปลว่า หาระหว่างมิได้ ถือความแปลตามนั้น. เรื่องนางลูกสุกร จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ตัณหาวรรคที่ ๒๔ |