|
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] [๑๓] [๑๔] [๑๕] [๑๖] [๑๗] [๑๘] [๑๙] [๒๐] [๒๑] [๒๒] [๒๓] [๒๔] [๒๕] [๒๖] [๒๗] [๒๘] [๒๙] [๓๐] [๓๑] [๓๒] [๓๓] [๓๔] [๓๕] [๓๖] [๓๗] [๓๘] [๓๙]อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖หน้าต่างที่ ๑๓ / ๓๙. ๑๓. เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง [๒๗๖] ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพราหมณ์คนหนึ่ง
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น จาหํ" เป็นต้น.
พราหมณ์เข้าเฝ้าพระศาสดา
ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นคิดว่า "พระสมณโคดม ตรัสเรียกสาวกทั้งหลายของพระองค์ว่า พราหมณ์
ส่วนเราก็เป็นผู้เกิดในกำเนิดพราหมณ์, การที่พระองค์ตรัสเรียกเราอย่างนั้นบ้าง ย่อมควร" ดังนี้แล้ว เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลถามเนื้อความนั้น.
ลักษณะแห่งพราหมณ์
ลำดับนั้น พระศาสดาจึงตรัสกะเขาว่า "พราหมณ์ เราย่อมไม่เรียกว่า พราหมณ์ ด้วยเหตุสักว่าเกิดในกำเนิดพราหมณ์เท่านั้น, ส่วนผู้ใดไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่ถือมั่น, เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์"
ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
๑๓. | น จาหํ พฺราหฺมณํ พฺรูมิ | โยนิชํ มตฺติสมฺภวํ
| | โภวาที นาม โส โหติ | ส เว โหติ สกิญฺจโน
| | อกิญฺจนํ อนาทานํ | ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
| | เราไม่เรียกบุคคลผู้เกิดแต่กำเนิด ผู้มีมารดาเป็น
| | แดนเกิดว่าเป็นพราหมณ์, เขาย่อมเป็นผู้ชื่อว่า โภวาที,
| | เขาย่อมเป็นผู้มีกิเลสเครื่องกังวล, เราเรียกผู้ไม่มีกิเลส
| | เครื่องกังวล ผู้ไม่ถือมั่นนั้นว่า เป็นพราหมณ์. |
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โยนิชํ ได้แก่ ผู้เกิดแล้วแต่กำเนิด.
บทว่า มตฺติสมฺภวํ ความว่า ผู้เกิดแล้วในท้องอันเป็นของมีอยู่แห่งมารดาผู้เป็นพราหมณี.
บทว่า โภวาที ความว่า ก็เขาเที่ยวกล่าวอยู่ว่า "ผู้เจริญ ผู้เจริญ" ในคำที่ร้องเรียกกันเป็นต้น ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าโภวาที
เขาแลยังเป็นผู้มีกิเลสเครื่องกังวล ด้วยกิเลสเครื่องกังวลทั้งหลายมีราคะเป็นต้น แต่เราเรียกผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ด้วยกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นอาทิ ผู้ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ๔ ว่าเป็นพราหมณ์.
ในกาลจบเทศนา พราหมณ์นั้นตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว.
เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่มหาชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖ อ่านอรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] [๑๓] [๑๔] [๑๕] [๑๖] [๑๗] [๑๘] [๑๙] [๒๐] [๒๑] [๒๒] [๒๓] [๒๔] [๒๕] [๒๖] [๒๗] [๒๘] [๒๙] [๓๐] [๓๑] [๓๒] [๓๓] [๓๔] [๓๕] [๓๖] [๓๗] [๓๘] [๓๙]
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=1301&Z=1424 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=25&A=2016 The Pali Atthakatha in Roman https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=25&A=2016 - -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]
|