|
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] [๑๓] [๑๔] [๑๕] [๑๖] [๑๗] [๑๘] [๑๙] [๒๐] [๒๑] [๒๒] [๒๓] [๒๔] [๒๕] [๒๖] [๒๗] [๒๘] [๒๙] [๓๐] [๓๑] [๓๒] [๓๓] [๓๔] [๓๕] [๓๖] [๓๗] [๓๘] [๓๙]อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖หน้าต่างที่ ๑๔ / ๓๙. ๑๔. เรื่องอุคคเสน [๒๗๗] ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภเศรษฐีบุตรชื่ออุคคเสน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "สพฺพสญฺโญชนํ"๑- เป็นต้น.
____________________________
๑- บาลี เป็น สพฺพสํโยชนํ
พระอรหันต์ย่อมไม่กลัว
เรื่องข้าพเจ้าให้พิสดารแล้ว ในอรรถแห่งพระคาถาว่า "มุญฺจ ปุเร มุญฺจ ปจฺฉโต" เป็นต้นนั้นแล.
ก็ในกาลนั้น พระศาสดา เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า "พระเจ้าข้า พระอุคคเสนย่อมกล่าวว่า 'เราไม่กลัว' ชะรอยว่าจะพยากรณ์พระอรหัตผลด้วยคำไม่จริง"
จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เช่นกับบุตรของเรา มีสังโยชน์อันตัดได้แล้ว ย่อมไม่กลัวเลย".
ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
๑๔. | สพฺพสํโยชนํ เฉตฺวา | โย เว น ปริตสฺสติ
| | สงฺคาติคํ วิสํยุตฺตํ | ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
| | ผู้ใดแล ตัดสังโยชน์ทั้งปวงได้แล้ว ย่อมไม่
| | สะดุ้ง, เราเรียกผู้นั้น ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องได้
| | ผู้หลุดพ้นแล้วว่า เป็นพราหมณ์. |
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพสญฺโญชนํ ได้แก่ สังโยชน์ ๑๐ อย่าง.
บทว่า น ปริตสฺสติ ได้แก่ ย่อมไม่กลัวเพราะตัณหา.
บทว่า ตมหํ ตัดบทเป็น ตํ อหํ ความว่า เราเรียกผู้นั้น ซึ่งชื่อว่าก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้อง เพราะความที่กิเลสเครื่องข้องทั้งหลายมีราคะเป็นต้น อันล่วงได้แล้ว ผู้ชื่อว่าพรากได้แล้ว เพราะไม่มีแห่งโยคะแม้ ๔ ว่า เป็นพราหมณ์.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องอุคคเสน จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖ อ่านอรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] [๑๓] [๑๔] [๑๕] [๑๖] [๑๗] [๑๘] [๑๙] [๒๐] [๒๑] [๒๒] [๒๓] [๒๔] [๒๕] [๒๖] [๒๗] [๒๘] [๒๙] [๓๐] [๓๑] [๓๒] [๓๓] [๓๔] [๓๕] [๓๖] [๓๗] [๓๘] [๓๙]
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=1301&Z=1424 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=25&A=2016 The Pali Atthakatha in Roman https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=25&A=2016 - -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]
|