ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 

อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] [๑๓] [๑๔] [๑๕] [๑๖] [๑๗] [๑๘] [๑๙] [๒๐] [๒๑] [๒๒] [๒๓] [๒๔] [๒๕] [๒๖] [๒๗] [๒๘] [๒๙] [๓๐] [๓๑] [๓๒] [๓๓] [๓๔] [๓๕] [๓๖] [๓๗] [๓๘] [๓๙]อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 35อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 36อ่านอรรถกถา 25 / 38อ่านอรรถกถา 25 / 440
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖

หน้าต่างที่ ๒ / ๓๙.

               ๒. เรื่องภิกษุมากรูป [๒๖๕]               
               ข้อความเบื้องต้น               
               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุมากรูป
               ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ยทา ทฺวเยสุ ธมฺเมสุ" เป็นต้น.

               พระสารีบุตรทูลถามปัญหาเพื่อพวกภิกษุ               
               ในวันหนึ่ง ภิกษุผู้อยู่ในทิศประมาณ ๓๐ รูป มาถวายบังคมพระศาสดาแล้วนั่ง. พระสารีบุตรเถระเล็งเห็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัตของภิกษุเหล่านั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ยืนอยู่เทียว ทูลถามปัญหานี้ว่า "พระเจ้าข้า ธรรมทั้งหลายที่พระองค์ตรัสเรียกว่า ‘ธรรม ๒ ประการๆ ดังนี้’ ธรรม ๒ ประการนี้เป็นไฉนหนอแล?"
               ทีนั้น พระศาสดาตรัสกะท่านว่า "สารีบุตร สมถะและวิปัสสนา เรียกว่าธรรม ๒ ประการแล."
               ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
                         ๒.  ยทา ทฺวเยสุ ธมฺเมสุ    ปารคู โหติ พรฺาหฺมโณ
                         อถสฺส สพฺเพ สํโยคา    อตฺถํ คจฺฉนฺติ ชานโต.
                                   ในกาลใด พราหมณ์เป็นผู้ถึงฝั่งในธรรมสอง
                         ในกาลนั้น กิเลสเครื่องประกอบทั้งปวงของพราหมณ์
                         ผู้รู้อยู่ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้.

               แก้อรรถ               
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทา เป็นต้น ความว่า ในกาลใด พระขีณาสพนี้เป็นผู้ถึงฝั่งในธรรม คือสมถะและวิปัสสนา อันตั้งอยู่โดยส่วน ๒ ด้วยอำนาจแห่งการถึงฝั่งคืออภิญญาเป็นต้น ในกาลนั้น กิเลสเครื่องประกอบทั้งหลาย มีกิเลสเครื่องประกอบคือกามเป็นต้นทั้งปวง ซึ่งสามารถเพื่อประกอบไว้ในวัฏฏะของพระขีณาสพนั้นผู้รู้อยู่อย่างนี้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ คือความสิ้นไป.
               ในกาลจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้นแม้ทั้งหมดตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว ดังนี้แล.

               เรื่องภิกษุมากรูป จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖
อ่านอรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] [๑๓] [๑๔] [๑๕] [๑๖] [๑๗] [๑๘] [๑๙] [๒๐] [๒๑] [๒๒] [๒๓] [๒๔] [๒๕] [๒๖] [๒๗] [๒๘] [๒๙] [๓๐] [๓๑] [๓๒] [๓๓] [๓๔] [๓๕] [๓๖] [๓๗] [๓๘] [๓๙]
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 35อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 36อ่านอรรถกถา 25 / 38อ่านอรรถกถา 25 / 440
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=1301&Z=1424
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=25&A=2016
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=25&A=2016
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๓  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๘
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :