บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] [๑๓] [๑๔] [๑๕] [๑๖] [๑๗] [๑๘] [๑๙] [๒๐] [๒๑] [๒๒] [๒๓] [๒๔] [๒๕] [๒๖] [๒๗] [๒๘] [๒๙] [๓๐] [๓๑] [๓๒] [๓๓] [๓๔] [๓๕] [๓๖] [๓๗] [๓๘] [๓๙] หน้าต่างที่ ๕ / ๓๙. ข้อความเบื้องต้น รัศมีของวัตถุ ๕ อย่างต่างกัน ในขณะนั้น พระกาฬุทายีเถระนั่งเข้าฌานอยู่ที่ท้ายบริษัท. ก็คำว่า 'กาฬุทายีเถระ' นั่น เป็นชื่อของท่านเอง. สรีระ (ของท่าน) มีสีเพียงดังทองคำ. ก็ในขณะนั้น พระจันทร์กำลังขึ้น พระอาทิตย์กำลังอัสดงคต. พระอานนทเถระแลดูรัศมีของพระอาทิตย์ซึ่งกำลังอัสดงคตและของพระจันทร์ซึ่งกำลังขึ้น แล้วมองดูพระสรีโรภาสของพระราชา สรีโรภาสของพระเถระ และพระสรีโรภาสของพระตถาคต. ในท่านเหล่านั้น พระศาสดาย่อมไพโรจน์ล่วงรัศมีทั้งปวง. พระเถระถวายบังคมพระศาสดาแล้ว กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ในวันนี้ เมื่อข้าพระองค์แลดูรัศมีเหล่านี้อยู่, พระรัศมีของพระองค์เท่านั้นข้าพระองค์ชอบใจ, เพราะว่า พระสรีระของพระองค์ ย่อมไพโรจน์ล่วงรัศมีทั้งปวง." ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะท่านว่า "อานนท์ ธรรมดาพระอาทิตย์ย่อมรุ่งเรืองในกลางวัน พระจันทร์ย่อมรุ่งเรืองในกลางคืน, พระราชาย่อมรุ่งเรืองในเวลาประดับแล้วเท่านั้น, พระ ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
แก้อรรถ บทว่า จนฺทิมา ความว่า แม้พระจันทร์ที่พ้นแล้วจากหมอกเป็นต้น ก็รุ่งเรืองเฉพาะในกลางคืน หารุ่งเรืองในกลางวันไม่. บทว่า สนฺนทฺโธ ความว่า พระราชาผู้ทรงประดับด้วยเครื่องอิสริยาภรณ์ทั้งปวง อันวิจิตรด้วยทองและแก้วมณี อันเสนามีองค์ ๔#- แวดล้อมแล้วเท่านั้น ย่อมรุ่งเรือง, ท้าวเธอประทับอยู่ด้วยเพศอันบุคคลไม่รู้ (ปลอมเพศ) หารุ่งเรืองไม่. ____________________________ #- พลช้าง พลม้า พลรถ พลเดินเท้า. บทว่า ฌายี ความว่า ฝ่ายพระขีณาสพ เปลื้องหมู่แล้ว เพ่งอยู่เทียว ชื่อว่าย่อมรุ่งเรือง. บทว่า เตชสา ความว่า ส่วนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงครอบงำเดชแห่งการทุศีลด้วยเดชแห่งศีล เดชแห่งคุณอันชั่วด้วยเดชแห่งคุณ เดชแห่งปัญญาทรามด้วยเดชแห่งปัญญา เดชแห่งสิ่งมิใช่บุญด้วยเดชแห่งบุญ เดชแห่งอธรรมด้วยเดชแห่งธรรม ย่อมรุ่งเรืองด้วยเดช ๕ อย่างนี้ตลอดกาลเป็นนิตย์ทีเดียว. ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล. เรื่องพระอานนทเถระ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖ |