![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() เรื่องนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร? ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระเวฬุวันมหาวิหาร หญิง ๔ คนในกรุงราชคฤห์ ทำการค้าขายด้วยเนยใส น้ำผึ้ง น้ำมันและข้าวเปลือกเป็นต้นด้วยเครื่องนับโกงเป็นต้น รวบรวมโภคะเลี้ยงชีพโดยไม่แยบคาย. เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก หญิงเหล่านั้นไปบังเกิดเป็นนางเปรต อยู่ที่หลังคูนอกเมือง. ในเวลากลางคืน นางเปรตเหล่านั้นถูกความทุกข์เข้าครอบงำ ร้องบ่นเพ้อด้วยเสียงขรมน่าสะพึงกลัว ด้วยคาถาว่า :- พวกเรารวบรวมโภคทรัพย์ไว้โดยชอบธรรมบ้าง โดยไม่ชอบธรรมบ้าง แต่คนอื่นๆ พากันใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้น แต่พวกเรากลับมีส่วนแห่งทุกข์. มนุษย์ทั้งหลายฟังเสียงนั้นแล้วกลัวสะดุ้งตกใจ เมื่อราตรีสว่าง ตระ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า อุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย เสียงนั้นไม่มีอันตรายอะไรๆ แก่ท่านทั้งหลาย ส่วนเปรตทั้ง ๔ ตนนั้นถูกความทุกข์ครอบงำ กล่าวถึงกรรมที่ตนทำชั่ว ร้องไห้เสียงร่ำไร พลางกล่าวคาถานี้ว่า:- พวกเรารวบรวมโภคทรัพย์ไว้ โดยชอบธรรมบ้าง โดยไม่ชอบธรรมบ้าง คนอื่นๆ พากันใช้สอยโภคทรัพย์ เหล่านั้น แต่พวกเรากลับเป็นผู้มีส่วนแห่งทุกข์. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โภเค ได้แก่ อุปกรณ์พิเศษแห่งทรัพย์เครื่องปลื้มใจ มีผ้าและอาภรณ์เป็นต้น อันได้ชื่อว่าโภคะ เพราะอรรถว่าเป็นบุคคลพึงใช้สอย. บทว่า สํหริมฺหา ความว่า ผู้มีจิตอันมลทินคือความตระหนี่ครอบงำ รวบรวมไว้ไม่ให้อะไรๆ แก่ใครๆ. บทว่า สเมน วิสเมน จ ได้แก่ โดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรม. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า บัดนี้ คนอื่นๆ ใช้สอยโภคะเหล่านั้นที่เรารวบรวม โดยไม่ชอบธรรม อันเป็นของเทียมกับความชอบธรรม. บทว่า มยํ ทุกฺขสฺส ภาคินี ความว่า ฝ่ายพวกเรา บัดนี้เป็นผู้มีส่วนแห่งทุกข์ใหญ่ อันนับเนื่องในกำเนิดเปรต คือเสวยทุกข์ใหญ่ เพราะตนไม่ได้ทำสุจริตอะไรๆ ไว้ และทำแต่ทุจริต. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาที่นางเปรตนั้นกล่าวแล้วอย่างนี้ จึงตรัสประวัติของนางเปรตเหล่านั้น แล้วทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุแล้ว ทรงแสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว ทรงประกาศสัจจะสูงๆ ขึ้นไป. ในเวลาจบสัจจะ ชนเป็นอันมากบรรลุโสดาปัตติผลเป็นต้น ฉะนี้แล. จบอรรถกถาโภคสังหรณเปติวัตถุที่ ๑๔ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย เปตวัตถุ มหาวรรคที่ ๔ ๑๔. โภคสังหรเปตวัตถุ จบ. |