![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร? ได้ยินว่า ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ ท่านเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าวิปัสสี มีใจเลื่อมใส บูชาด้วยดอกไม้ต่างๆ ด้วยบุญกรรมนั้น บังเกิดในเทวโลก กระทำบุญแล้วท่องเที่ยวไปๆ มาๆ อยู่ในเทวโลกนั่นเองอีก บวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ แล้วบำเพ็ญ ก็โดยสมัยนั้น เมื่อพระบรมศาสดาตรัสภัทเทกรัตตปฏิปทาแล้ว ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งสนทนากับท่านด้วยเรื่องภัทเทกรัตต ในบรรดาภิกษุ ๒ รูปนี้ รูปแรกท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายตลอดพุทธันดรหนึ่ง แล้วเกิดในตระกูลแห่งศากยราช ในกรุงกบิลพัสดุ์ ในกาลแห่งพระผู้มี โดยความเป็นสุขุมาลชาติของท่าน จึงมีขนเกิดที่ฝ่าเท้าดุจพระโสณะ ด้วยเหตุนั้น เขาจึงขนานนามท่านว่า โลมสกังคิยะ. อีกรูปหนึ่ง เกิดในเทวโลก ปรากฏนามว่า จันทนะ เมื่อศากยกุมารทั้งหลายมีเจ้าอนุรุทธะเป็นต้นบวชอยู่. ส่วนโลมสกังคิยะไม่ปรารถนาจะบวช. ลำดับนั้น เทพบุตรชื่อว่าจันทนะ เข้าไปหาเขาแล้วถามถึงภัทเทกรัตตปฏิปทา เพื่อจะให้เขาสลดใจ. เขาตอบว่า ไม่รู้. เทพบุตรจึงท้วงขึ้นอีกว่า ถ้าอย่างนั้น เหตุไฉน ท่านจึงทำความผัดเพี้ยนไว้ว่า เราพึงกล่าวภัทเทกรัตตปฏิปทา (ในอนาคต) แต่บัดนี้ แม้แต่ชื่อก็จำไม่ได้. โลมสกังคิยมาณพจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมกับจันทนเทพบุตรนั้น แล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ยินว่า ข้าพระองค์กระทำความผัดเพี้ยนไว้ในภพก่อนว่า เราจักกล่าวภัทเทกรัตตปฏิปทาแก่เทพบุตรนี้ หรือพระเจ้าข้า? พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ใช่แล้วกุลบุตร ท่านทำความผัดเพี้ยนไว้อย่างนี้ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ. ความเรื่องนี้นั้น บัณฑิตพึงทราบโดยพิสดาร โดยนัยอันมาแล้วในอุปริปัณณาสก์. ลำดับนั้น โลมสกังคิยมาณพทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ขอพระองค์จงทรงยังข้าพระองค์ให้บวชเถิด ดังนี้. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสห้ามว่า พระตถาคตทั้งหลายจะไม่ยังบุตรที่ เมื่อจะประกาศความที่ตนอดกลั้นอันตรายได้ จึงกล่าวคาถาว่า เราจักเอาอุระแหวกป่าหญ้าแพรก หญ้าคา หญ้าดอกเลา แฝก หญ้าปล้อง หญ้ามุงกระต่าย พอกพูน วิเวกดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น ท่านเรียกหญ้าแพรกว่าทัพพะ ซึ่งบางท่านก็เรียกว่าสัททุละ. บทว่า กุสํ ได้แก่ หญ้าคา ซึ่งบางท่านเรียกว่า กาส. บทว่า โปฏกิลํ ได้แก่ กอหญ้าทั้งที่มีหนามและไม่มีหนาม. แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาเฉพาะที่มีหนามเท่านั้น ติณชาติมีหญ้าคมบางเป็นต้น รู้ได้ง่าย. หญ้าทั้งหลายมีหญ้าแพรกเป็นต้นจัดเป็นหญ้าคมบาง แม้เมื่อเหยียบด้วยเท้าทั้งสองก็จะยังทุกข์ให้เกิด ทั้งจะกระทำอันตรายในเวลาเดินไป ก็แต่ว่า ตัวเราจะเอาอกต้านหญ้าเหล่านั้น คือแหวกหญ้าเหล่านั้นไปด้วยอุระ. ท่านแสดงถึงว่า เมื่อต้องเอาอกแหวกหญ้า ต้องอดกลั้นทุกข์ อันมีหญ้านั้นเป็นเหตุได้อย่างนี้ ก็จักสามารถเข้าไปสู่พุ่มไม้ในราวป่า บำเพ็ญสมณธรรมได้. บทว่า วิเวกมนุพฺรูหยํ ความว่า เพิ่มพูนกายวิเวก จิตตวิเวกและอุปธิวิเวก. อธิบายว่า จิตตวิเวกย่อมมีแก่ผู้ที่ละการคลุกคลีด้วยหมู่ แล้วเพิ่มพูนกายวิเวกอยู่อย่างเดียว ยังจิตให้ตั้งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ในบรรดาอารมณ์ ๓๘ ประการไม่มีแก่ผู้ที่ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่. การบรรลุอุปธิวิเวกด้วยการยังกิเลสให้สิ้นไป ย่อมมีแก่ผู้มีจิตเป็นสมาธินั่นแหละ ผู้บำเพ็ญวิปัสสนา กระทำสมถะและวิปัสสนาให้เป็นคู่ๆ ไม่มีแก่ผู้ที่ไม่มีจิตเป็นสมาธิ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า บทว่า วิเวกมนุพฺรูหยํ ได้แก่ เพิ่นพูนกายวิเวก จิตตวิเวกและอุปธิวิเวก. ก็เมื่อโลมสกังคิยมาณพผู้เป็นบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว มารดาจึงยอมอนุญาตว่า ถ้าเช่นนั้น เจ้าจงบวชเถิด พ่อคุณ ดังนี้. เขาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลขอบรรพชาแล้ว พระศาสดาให้เขาบวชแล้ว. ภิกษุทั้งหลายกล่าวกะท่านพระโลมสกังคิยะผู้บวชแล้ว กระทำบุรพกิจเสร็จแล้ว เรียนกรรมฐานแล้ว จะเข้าไปสู่ป่าว่า ดูก่อนอาวุโส ท่านเป็นกษัตริย์สุขุมาลชาติจะสามารถเข้าไปอยู่ในป่าได้อย่างไร? ท่านกล่าวคาถานั้นแหละแม้แก่ภิกษุเหล่านั้น เข้าไปสู่ป่า หมั่นประกอบภาวนา ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ต่อกาลไม่นานนัก. สมด้วยคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า เราได้เอาดอก (กากะทิง) บูชาพระสัมพุทธเจ้าผู้มีพระฉวีวรรณเปล่งปลั่งดังทองคำ ผู้สมควรรับเครื่องบูชา กำลังเสด็จดำเนินไปในถนน ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ ด้วยการที่เราได้เอาดอกไม้บูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้. ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผลก็ได้กล่าวคาถานั้นแหละ ฉะนี้แล. จบอรรถกถาโลมสกังคิยเถรคาถา ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรคาถา เอกกนิบาต ตติยวรรค ๗. โลมสกังคิยเถรคาถา จบ. |