บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร? แม้พระเถระนี้ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ เป็นผู้คุ้มครองในพระราชวังของพระราชาพระองค์หนึ่ง ในกาล ด้วยบุญกรรมนั้น เขาไปบังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวไปๆ มาๆ อยู่แต่ในสุคติภพเท่านั้น เกิดเป็นบุตรแห่งเศรษฐี ในสีลวดีนคร ในพุท เขาถึงความเป็นผู้รู้แล้ว ไปในกรุงสาวัตถีด้วยกรณียกิจบางอย่าง แล้วไปสู่พระวิหารพร้อมด้วยอุบาสกทั้งหลาย ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว ได้เป็นผู้มีศรัทธาจิต บวชแล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก เพราะเป็นผู้มีญาณแก่กล้าแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า๑- พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าสิทธัตถะ เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐ ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. ในกัปที่ ๘๗ แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีนามว่ามหิทธิกะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้. ____________________________ ๑- ขุ. อ. เล่ม ๓๒/ข้อ ๑๖๔ ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ตั้งอยู่ในความเป็นผู้มีกตัญญู ไปสู่พระนครสีลวดี เพื่อสนองพระคุณพระราชาผู้มีอุปการะแก่ตน เมื่อจะแสดงธรรมแก่พระราชา ประกาศสัจจะทั้งหลายแล้ว. ในเวลาจบสัจจะ พระราชาเป็นพระโสดาบัน ให้สร้างวิหารใหญ่ชื่อว่าสุทัสสนะ ในพระนครของพระองค์ มอบถวายแก่พระเถระ. พระเถระ ได้เป็นผู้มีลาภสักการะอย่างใหญ่หลวง. พระเถระมอบวิหารและลาภสักการะทั้งหมดแก่สงฆ์ (ส่วน) ตน ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงอยู่ในที่นี้แหละ ถ้าบกพร่องด้วยปัจจัยทั้งหลาย พวกข้าพเจ้าจักยังปัจจัยนั้นให้บริบูรณ์. พระเถระเมื่อจะแสดงความว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เราไม่มีความต้องการด้วยปัจจัยอันโอฬาร เรายังอัตภาพให้เป็นไปด้วยปัจจัยตามมีตามได้ เราเป็นผู้มีความพอใจด้วยรสพระธรรมอย่างเดียวเท่านั้น ดังนี้แล้วได้กล่าวคาถาว่า เราไม่มีความต้องการด้วยลาภคืออามิสนั้น มีความสุขพอแล้ว อิ่มเอิบแล้วด้วยรสพระธรรม ครั้นได้ดื่มรสอันล้ำเลิศเช่นนี้แล้ว จะไม่กระทำความสนิทสนมด้วยรสอื่นอีก ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาหํ เอเตน อตฺถิโก ความว่า ท่านทั้งหลายมีความประสงค์จะให้เราอิ่มหนำ ยินดีด้วยอามิสใด จึงกล่าวว่า พวกข้าพเจ้าจักทำปัจจัยให้บริบูรณ์ เราไม่มีความต้องการด้วยลาภคืออามิส นี้อันมีอามิสคือปัจจัยเป็นรส เราคำนึงอยู่ว่า เราไม่มีความต้องการด้วยลาภคือ อามิสนี้ (เพราะ) ความสันโดษเป็นสุขอย่างยิ่ง ดังนี้ จึงยังอัตภาพให้เป็นไป ด้วยปัจจัยตามมีตามได้. บัดนี้พระเถระเมื่อจะประกาศเหตุอันเป็นหลักในความไม่ต้องการด้วยลาภคืออามิสนั้น จึงกล่าวว่า เรามีความสุขพอเพียงแล้ว อิ่มเอิบแล้วด้วยรสพระธรรม ดังนี้. อธิบายว่า เราอิ่มเอิบแล้ว คือยินดีแล้ว คือถึงความสุข ได้แก่มีความพอใจโดยมีสุขด้วยรสแห่งโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ และด้วยรสแห่งโลกุตรธรรม ๙. บทว่า ปิตฺวา รสคฺคมุตฺตมํ ความว่า ดื่มรสแห่งพระธรรมอันสูงสุดตามที่ท่านกล่าวไว้ว่าเลิศ คือประเสริฐที่สุดในรสทั้งปวงเท่านั้นดำรงอยู่แล้ว. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า รสแห่งพระธรรมย่อมชนะรสทั้งปวงดังนี้. บทว่า น จ กาหามิ วิเสน สนฺถวํ ความว่า เราดื่มรสพระธรรมอันเป็นรสล้ำเลิศเห็นปานนี้ ตั้งอยู่แล้วจักไม่ทำความสนิทสนม คือการคลุกคลีด้วยรสอื่น คือรสอันเป็นพิษ เช่นกับยาพิษ. อธิบายว่า ไม่มีเหตุให้ต้องกระทำอย่างนั้น. จบอรรถกถาพันธุรเถรคาถา ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรคาถา เอกกนิบาต วรรคที่ ๑๑ ๓. พันธุรเถรคาถา จบ. |