บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร? แม้พระเถระนี้ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้นๆ เกิดในตระกูลพราหมณ์ ใน พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงประกาศสมบัติอันจะพึงได้ เพราะถวายอาสนะที่ประทับนั่ง ทรงกระทำอนุโมทนาแก่ดาบสแล้วเสด็จหลีกไป. ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในพระนครไพศาลี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่ากัณหมิตร เจริญวัยแล้วเห็นพุทธานุภาพในคราวที่พระศาสดาเสด็จไปพระนครไพศาลี ได้มีจิตศรัทธาบวชในสำนักของพระมหากัจจานเถระ ท่านเป็นผู้มีปัญญาอ่อนและย่อหย่อนในความเพียร อาศัยเพื่อนส ภิกษุทั้งหลายก็เรียกท่านตามลักษณนิสัยว่า วัลลิยะ นั้นเทียว เพราะเหตุที่ท่านไม่อาศัยภิกษุผู้เป็นบัณฑิตบางรูป ก็ไม่สามารถจะเจริญงอกงามได้ เหมือนเถาวัลย์ถ้าไม่อาศัยบรรดาพฤกษชาติมีต้นไม้เป็นต้นบางชนิด ก็ไม่สามารถจะเจริญเติบโตได้ฉะนั้น. แต่ในเวลาต่อมา ท่านเข้าไปหาพระเวณุทัตตเถระ ตั้งอยู่ในโอวาทของพระเถระแล้ว เป็นผู้มีสติ เมื่อจะถามพระเถระถึงลำดับแห่งข้อปฏิบัติ เพราะมีญาณแก่กล้า จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาความว่า สิ่งใดอันบุคคลผู้มีความเพียรมั่นพึงทำ กิจใดอัน บุคคลผู้ปรารถนาจะตรัสรู้พึงทำ เราจักทำกิจนั้นๆ ไม่ให้ผิดพลาด ตามคำพร่ำสอนของท่าน จงดู ความเพียรความบากบั่นของเรา อนึ่ง ขอท่านจง บอกหนทางอันหยั่งลงสู่อมตมหานิพพานให้เรา เราจักรู้ด้วยปัญญา เหมือนกระแสแห่งแม่น้ำคงคา ไหลไปสู่สาครฉะนั้น ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํ กิจฺจํ ทฬฺหวิริเยน ความว่า สิ่งใดอันบุคคลผู้มีความเพียรมั่น คือมีความขยันขันแข็งพึงทำ ได้แก่กิจใดอันบุคคลพึงทำ คือพึงปฏิบัติด้วยความเพียรมั่น หรือด้วยการเอาใจใส่ธุระของบุรุษ. บทว่า ยํ กิจฺจํ โพทฺธุมิจฺฉตา ความว่า กิจใดอันบุคคลผู้ปรารถนาเพื่อจะรู้คือตรัสรู้ คือใคร่จะแทงตลอดอริยสัจ ๔ หรือพระนิพพานนั่นแหละพึงกระทำ. บทว่า กริสฺสํ นาวรชฺฌิสฺสํ ความว่า บัดนี้ เราจักทำกิจนั้นๆ ไม่ให้ผิดพลาด คือจักปฏิบัติตามคำสั่งสอน. บทว่า ปสฺส วิริยํ ปรกฺกมํ ความว่า พระเถระแสดงความเป็นผู้ใคร่ เพื่อจะทำของตน ด้วยคำว่า ท่านจงดูความพยายามชอบอันได้นามว่า "วิริยะ" เพราะกระทำถูกต้องตามวิธี ในธรรมตามที่ปฏิบัติอยู่ และได้นามว่าปรักกมะ เพราะก้าวไปข้างหน้า ไม่ใช่แต่เพียงเชื่อเท่านั้น. พระเถระเรียกพระเวณุทัตตเถระผู้ให้กรรมฐาน ผู้เป็นกัลยาณมิตรว่า ตวํ (ท่าน). บทว่า มคฺคมกฺขาหิ ความว่า ท่านจงบอกอริยมรรค. อธิบายว่า จง บทว่า อญฺชสํ ได้แก่ ทางตรง โดยเป็นทางสายกลาง เพราะไม่จดทางอันเป็นส่วนสุด ๒ อย่าง. บทว่า โมเนน ได้แก่ ญาณ คือมรรคปัญญา. บทว่า โมนิสฺสํ ความว่า จักรู้ คือจักแทงตลอด ได้แก่จักบรรลุพระนิพพาน. บทว่า คงฺคาโสโตว สาครํ ความว่า กระแสแห่งแม่น้ำคงคาไม่เบื่อหน่ายไหลลงสู่สาครคือสมุทรโดยส่วนเดียวฉันใด พระวัลลิยเถระก็ฉันนั้น ขอกรรมฐานกะพระเถระว่า ข้าพเจ้าประกอบเนืองๆ ซึ่ง พระเวณุทัตตเถระฟังคำขอนั้นแล้ว ได้ให้กรรมฐานแก่ท่านพระวัลลิยเถระ. แม้ท่านพระวัลลิยเถระหมั่นประกอบเนืองๆ ซึ่ง สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า๑- เราละเบญจกามคุณอันน่ารัก น่ารื่นรมย์ใจ และละทรัพย์ประมาณ ๘๐ โกฎิแล้ว บวชเป็นบรรพชิต ครั้นบวชแล้วได้เว้นการทำความชั่วด้วยกาย ละความประพฤติชั่วด้วยวาจา อยู่แทบฝั่งแม่น้ำ. พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ได้เสด็จมาหาเราผู้อยู่คนเดียว เราไม่รู้จักว่าเป็นพระพุทธเจ้า เราได้ทำปฏิสันถาร ครั้นทำปฏิสันถารแล้ว จึงได้ทูลถามถึงพระนามและพระโคตรว่า ท่านเป็นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักกปุรินททะ ท่านเป็นใคร หรือเป็นบุตรของใคร หรือเป็นท้าวมหาพรหมมาในที่นี้ ย่อมสว่างไสวไปทั่วทิศ เหมือนพระอาทิตย์อุทัยฉะนั้น ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ จักรมีกำพันหนึ่งปรากฎที่เท้าของท่าน ท่านเป็นใคร เป็นบุตรของใคร เราจักรู้จักท่านอย่างไร ขอท่านจงบอกชื่อและโคตร บรรเทาความสงสัยของเราเถิด พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า เราไม่ใช่เทวดา ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่ท้าวสักกปุรินท เราได้สดับพระดำรัสของพระองค์แล้ว จึงได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหามุนี ถ้าพระองค์เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ขอเชิญพระองค์ประทับนั่งเถิด ข้าพระองค์จะขอบูชาพระองค์ ขอพระองค์จงทำที่สุดทุกข์แก่ข้าพระองค์เถิด. เราได้ลาดหนังเสือถวายพระศาสดาแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเหนือหนังเสือนั้น ดังสีหราชนั่งอยู่ที่ซอกภูเขาฉะนั้น เราขึ้นภูเขาเก็บเอาผลมะม่วง ดอกรังอันสวยงามและแก่นจันทน์อันมีค่ามาก เราถือประคองของทั้งหมดเข้าไปเฝ้าพระผู้นำของโลก ถวายผลไม้แด่พระพุทธเจ้า แล้วเอาดอกรังบูชา ก็เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส มีปีติอันไพบูลย์ ได้เอาแก่นจันทน์ลูบไล้แล้ว ถวายบังคมพระศาสดาผู้นำของโลกพระนามว่าสุเมธะ ประทับนั่งบนหนังเสือ. เมื่อจะยังเราให้ร่าเริง ได้ทรงพยากรณ์กรรมของเราในครั้งนั้นว่า ด้วยการถวายผลไม้กับของหอมและดอกไม้ทั้งสองอย่างนี้ ผู้นี้จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ๒,๕๐๐ กัป เขาจักเป็นผู้มีความดำริทางใจไม่บกพร่อง ยังอำนาจให้เป็นไป. ในกัปที่ ๒,๖๐๐ จักไปสู่ความเป็นมนุษย์ จักได้เป็นพระเจ้า เมื่อถึงภพสุดท้าย เขาจักเป็นบุตรพราหมณ์ จักออกบวชเป็นบรรพชิต จักเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งอภิญญา ไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน. พระสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าสุเมธะ ผู้นำของโลก ครั้นตรัสดังนี้ เมื่อเรากำลังเพ่งดูอยู่ ได้เสด็จเหาะไปในอากาศ. ด้วยกรรมที่ทำไว้ดีแล้วนั้นและด้วยความตั้งเจตนาไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้เข้าถึงสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากดุสิตแล้วไปเกิดในครรภ์ของมารดา ในครรภ์ที่เราอยู่ ไม่มีความบกพร่องด้วยโภคทรัพย์แก่เราเลย เมื่อเรายังอยู่ในครรภ์ของมารดา ข้าว น้ำ โภช เราออกบวชเป็นบรรพชิตแต่อายุ ๕ ขวบ เมื่อปลงผมเสร็จเราก็ได้บรรลุพระอรหัต เราค้นหาบุรพกรรมอยู่ ก็มิได้เห็นโดยกัปที่ใกล้ๆ (แต่) เราระลึกถึงกรรมของเราได้ถึง ๓๐,๐๐๐ กัป ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพระองค์ขอนอบน้อมแด่พระองค์ ข้าพระองค์อาศัยคำสอนของพระองค์ จึงได้บรรลุบทอันไม่หวั่นไหว ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ เราบูชาพระสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอน ____________________________ ๑- ขุ. อ. เล่ม ๓๓/ข้อ ๗๕ จันทนมาลิยเถราปทานที่ ๕ ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผลก็ได้กล่าวคาถาเหล่านี้แหละ ฉะนี้แล. จบอรรถกถาวัลลิยเถรคาถา๒- ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรคาถา ทุกนิบาต วรรคที่ ๓ ๔. วัลลิยเถรคาถา จบ. |