บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร? แม้พระเถระนี้ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ เป็นพรานป่าเลี้ยงชีพ ใน ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของนายบ้าน ชื่อว่าโปฏิริยะ ในเมืองกบิลพัสดุ์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่าโสณะ. เขาเจริญวัยแล้วได้เป็นเสนาบดีของพระราชาพระนามว่า ภัททิยะ สากิยะ. ครั้นต่อมา เมื่อพระเจ้าภัททิยะทรงผนวชแล้วโดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง เสนาบดีก็บวชตามด้วยคิดว่า ขึ้นชื่อว่าแม้พระราชาก็ยังทรงออกผนวช การอยู่ครองเรือนของเราจะมีประโยชน์อะไร? ก็ครั้นบวชแล้วเป็นผู้มีการนอนหลับเป็นที่มายินดี ไม่หมั่นประกอบภาวนา. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับอยู่ในอนุปิยอัมพวันวิหาร ทรงแผ่โอภาสของพระองค์ไป ยังสติให้เกิดแก่พระโสณโปฏิริยเถระ ด้วยพระโอภาสนั้น เมื่อจะทรงโอวาทพระเถระด้วยพระคาถานี้ ได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถาความว่า ราตรีอันประดับด้วยฤกษ์มาลินีเช่นนี้ ย่อมไม่เป็นราตรี เพื่อจะหลับโดยแท้ ราตรีเช่นนี้ย่อมเป็นราตรีอันผู้รู้แจ้ง ปรารถนาแล้ว เพื่อประกอบความเพียร. ถ้าช้างพึงเหยียบเรา ผู้ตกลงจากคอช้าง เราตายเสียใน สงคราม ประเสริฐกว่าแพ้แล้ว เป็นอยู่จะประเสริฐอะไร ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ตาว สุปิตุํ โหติ รตฺติ นกฺขตฺตมาลินี ความว่า เมื่อภิกษุผู้มีชาติแห่งวิญญูชน ได้ขณะที่ ๙ อันเว้นจากขณะที่ไม่ใช่กาล ๘ อย่าง ตั้งอยู่แล้ว ยังทำพระอรหัตให้อยู่ในเงื้อมมือไม่ได้ตราบใด ตราบนั้นราตรีอันประกอบด้วยฤกษ์มาลินีเช่นนี้ ย่อมไม่เป็นราตรีเพื่อจะหลับโดยแท้ คือไม่ใช่เวลาจะมามัวนอนหลับ. อีกประการหนึ่งแล ราตรีเช่นนี้ย่อมเป็นราตรีอันผู้รู้แจ้งปรารถนาแล้ว เพื่อจะประกอบความเพียร โดยอรรถได้แก่ ขึ้นชื่อว่าราตรีเช่นนี้เป็นเวลาที่มีเสียงสงัดเงียบเป็นพิเศษ เพราะเป็นเวลาที่พวกมนุษย์เหล่ามฤคและปักษีทั้งหลาย ย่างเข้าสู่ความหลับ จึงเป็นเวลาอันวิญญูชนผู้รู้แจ้ง ปรารถนาเพื่อเอาใจใส่ดูแลข้อปฏิบัติในตน คือเพื่อจะขวนขวายบำเพ็ญความเพียรของผู้มีธรรมเป็นเครื่องตื่นอยู่นั่นเอง. พระโสณเถระฟังพระโอวาทนั้นแล้ว เป็นผู้มีใจสลดแล้ว เริ่มตั้งหิริโอตตัปปะ อธิษ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวปติตํ ได้แก่ ตกคว่ำหน้า คือมีเท้าขึ้นเบื้องบน มีหน้าลงเบื้องล่าง ตกไปแล้ว. บทว่า กุญฺชโร เจ อนุกฺกเม ความว่า ถ้าช้างพึงเหยียบเรา. ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ว่า ถ้าในเวลาที่เราขึ้นคอช้างเข้าสู่สงคราม ตกจากคอช้าง ได้ถูกช้างนั้นเหยียบตายในสงคราม ความตายนั้นของเราประเสริฐกว่า พ่ายจากกิเลสทั้งหลายในบัดนี้แล้วเป็นอยู่ จะประเสริฐอะไร คือความเป็นอยู่นั้นไม่ประเสริฐเลย. เมื่อพระเถระกล่าวคาถานี้อยู่นั่นแล ขวนขวายวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า๑- เมื่อก่อนเราเป็นพรานเนื้อ ครั้งนั้น เราเที่ยวอยู่ในป่าใหญ่ ได้เห็นพระ ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำ ____________________________ ๑- ขุ. อ. เล่ม ๓๓/ข้อ ๙๐ ก็พระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว กล่าวทบทวนคาถาทั้งสองนั่นแล คือ (คาถาที่ ๑) อันพระศาสดาตรัสแล้ว (และคาถาที่ ๒) อันตนกล่าวแล้วโดยนัยมีอาทิว่า หตฺถิกฺ ด้วยการกล่าวซ้ำคาถานั้น เป็นอันพระเถระพยากรณ์พระอรหัตผลนี้แล้วทีเดียว. จบอรรถกถาโสณโปฏิริยปุตตเถรคาถา ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรคาถา ทุกนิบาต วรรคที่ ๔ ๗. โสณโปฏิริยปุตตเถรคาถา จบ. |