บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร? แม้ท่านพระอภิภูตเถระนี้ก็มีบุญญาธิการได้ทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ เมื่อสั่งสมบุญในภพนั้น ได้เกิดในคฤหาสน์ของผู้มีตระกูล ใน เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว มหาชนพากันทำความอุตสาหะเพื่อจะรับเอาพระธาตุของพระ ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปมาในเทวโลกและมนุษยโลกมาในพุท ครั้งนั้น พระราชานั้นได้ทรงสดับว่า ได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาถึงพระนคร แล้วได้เสด็จไปยังสำนักของพระศาสดา สดับพระธรรมเทศนาแล้ว ในวันที่ ๒ ได้ทรงถวายมหาทาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเสร็จภัตกิจแล้ว เมื่อจะทรงทำการอนุโมทนาที่เหมาะ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้กล่าวไว้ในอปทานว่า๑- เมื่อมหาชนถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระมหาฤาษีสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าเวสสภู ข้าพเจ้าได้ดับไฟเชิงตะกอน ในกัปที่ ๓๑ นับถอยหลังแต่กัปนี้ไป เพราะเหตุที่ข้าพเจ้าได้ดับไฟเชิงตะกอน จึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลของน้ำหอมที่ข้าพเจ้าได้ดับไฟเชิงตะกอน. กิเลสทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้เผาแล้ว ฯลฯ คำสั่งสอนของพระ ____________________________ ๑- ขุ. อ. เล่ม ๓๓/ข้อ ๕๓ อนึ่ง เมื่อพระองค์ทรงบรรลุพระอรหัตผลแล้ว ประทับอยู่ด้วยวิมุตติสุข อาณาประชาราษฏร์ของพระ พระเถระเจ้าเห็นคนเหล่านั้นมีพระญาติเป็นหัวหน้า พากันโอดครวญอยู่. เมื่อจะกล่าวธรรมกถา (ปลอบ) คนเหล่านั้น ด้วยการประกาศเหตุแห่งการบรรพชาของตน จึงได้ภาษิตคาถา ๓ คาถาไว้ว่า ข้าแต่พระญาติทั้งหลาย เท่าที่มาประชุมกัน ณ ที่นี้ทั้งหมด ขอจงทรงสดับ อาตมภาพจักแสดงธรรม แก่ท่านทั้งหลาย การเกิดแล้วเกิดอีกเป็นทุกข์ ขอท่าน ทั้งหลายจงเริ่มลงมือ จงออกบวชประกอบความเพียร ในพระพุทธศาสนา จงกำจัดเสนาของพญามัจจุราช เหมือนกุญชรทำลายเรือนไม้อ้อฉะนั้น. ผู้ใดจักเป็นผู้ ไม่ประมาทอยู่ในพระธรรมวินัย (ศาสนา) นี้ ผู้นั้นจัก ละการเวียนเกิด ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุณาถ ความว่า จงสงบใจฟัง. อธิบายว่า จงทรงจำเอาถ้อยคำที่อาตมภาพกำลังกล่าวอยู่เดี๋ยวนี้ตามแนวทางของโสตทวารที่ได้เงี่ยลงฟังแล้ว. คำว่า ญาตโย เป็นคำร้องเรียกคนเหล่านั้นทั้งหมดมีพระญาติเป็นหัวหน้า. ด้วยคำนี้ พระเถระเจ้าได้กล่าวว่า ขอพระญาติทั้งหมดมีจำนวนเท่าที่มาพร้อมกัน ณ ที่นี้. อธิบายว่า ข้าแต่พระญาติวงศ์ทั้งหลายมีจำนวนเท่าใด คือมีประมาณเท่าใด พระญาติวงศ์ทั้งหลายมีประมาณเท่านั้นที่มาพร้อมเพรียงกันแล้วในสมาคมนี้ หรือที่มาพร้อมเพรียงกันในการบวชของอาตมภาพนี้. บัดนี้ พระเถระเจ้ากล่าวรับคำที่ตนหมายเอาแล้ว กล่าวคำเป็นเชิงบังคับให้ฟังว่า ท่านทั้งหลายจงฟังดังนี้ว่า อาตมภาพจักแสดงธรรมแก่ท่านทั้งหลายดังนี้แล้ว ได้ปรารภเพื่อแสดงโดยนัยมีอาทิว่า การเกิดแล้วเกิดอีกเป็นทุกข์. พึงทราบวินิจฉัยในบทเหล่านั้นต่อไป ขึ้นชื่อว่าความเกิด ในคำว่า ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ นี้ ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะเป็นที่ตั้งแห่ง แต่พระเถระเจ้า เมื่อจะแสดงว่า ความพยายามเพื่อจะระงับความเกิดนั้น เป็นกิจที่ควรทำ จึงได้กล่าวคำมีอาทิว่า อารมฺภถ ไว้. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อารมฺภถ ความว่า จงทำความเพียร ได้แก่ อารัมภธาตุ (ความริเริ่ม). บทว่า นิกฺกมถ ความว่า จงทำความเพียรให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ได้แก่นิกกมธาตุ (การก้าวออกไป) เพราะเป็นผู้ก้าวออกไปแล้วจากอกุศลธรรมที่เป็นฝ่ายของความเกียจคร้าน. บทว่า ยุญฺเชถ พุทฺธสาสเน ความว่า เพราะเหตุที่อารัมภธาตุและนิกกมธาตุทั้งหลายย่อมสมบูรณ์แก่ผู้ดำรงมั่นอยู่ในธรรมทั้งหลายเหล่านี้ คือความสำรวมในศีล ความเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคและความรู้ตัวอย่างยิ่งได้ ก็ด้วยสามารถแห่งการประกอบความเพียรเนืองๆ ฉะนั้น ท่านทั้งหลายที่เป็นแล้วอย่างไร จงเป็นผู้ขะมักเขม้นในคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า กล่าวคือสมถะและวิปัสสนา หรือกล่าวคือสีลสิกขาเป็นต้น. บทว่า ธุนาถ มจฺจุโน เสนํ นฬาคารํว กุญฺชโร ความว่า ก็ท่านทั้งหลายปฏิบัติอยู่อย่างนี้จะกำจัดคือขยี้. อธิบายว่า ทำลายได้ซึ่งกลุ่มกิเลส กล่าวคือเสนาของพญามัจจุราชนั้น เพราะนำสัตว์ทั้งหลายไปสู่อำนาจของพญามัจจุราชซึ่งเป็นใหญ่กว่าโลกธาตุทั้ง ๓ ที่ไม่มีกำลัง คือมีกำลังทราม อุปมาเสมือนช้างเชือกที่ประกอบด้วยกำลังวังชา พังเรือนที่สร้างด้วยไม้อ้อให้ทะลายไปในทันใดนั้นเอง. อนึ่ง พระเถระเจ้าเมื่อจะแสดงแก่ผู้ทำความอุตสาหะในพระพุทธศาสนาอย่างนี้ว่า ผู้อยู่คนเดียวเป็นผู้ก้าวล่วงชาติทุกข์ได้ จึงได้กล่าว ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรคาถา ติกนิบาต ๑๓. อภิภูตเถรคาถา จบ. |