![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร? พระเถระแม้นี้ได้ทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน ก่อสร้างบุญไว้ในภพนั้นๆ ใน ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ บังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว บรรพชาในพระศาสนา เป็นเจ้าอาวาสอยู่ในอารามอันอุบาสกคนหนึ่งได้สร้างไว้ อันอุบาสกนั้นอุปัฏฐากอยู่. ภายหลังวันหนึ่ง พระขีณาสพเถระรูปหนึ่งผู้ครองจีวรปอนๆ มาจากป่าบ่ายหน้าไปยังบ้านเพื่อโกนผม อุบาสกนั้นเห็นเข้าแล้ว เลื่อมใสในอิริยาบถ ให้ช่างกัลบกปลงผมและหนวด ให้บริโภคโภชนะอันประณีต ถวายจีวรดีๆ นิมนต์ให้อยู่ด้วยคำว่า ขอท่านจงอยู่ในที่นี้แหละขอรับ. ภิกษุเจ้าอาวาสเห็นดังนั้นมีความริษยาและมีความตระหนี่เป็นปกติ กล่าวกะพระเถระผู้ขีณาสพว่า ดูก่อนภิกษุ การที่ท่านเอานิ้วมือถอนผมเป็นอเจลก เลี้ยงชีพด้วยอาหารคือคูถและมูตรยังประเสริฐกว่า การอยู่ในที่นี้ด้วยอาการอย่างนี้ของผู้อันอุบาสกลามกนี้บำรุงอยู่ ดังนี้. ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เข้าไปยังเวจกุฎีในขณะนั้นนั่นเอง เอามือกอบคูถกินและดื่มมูตรเหมือนคดข้าวปายาสฉะนั้น. ด้วยทำนองนี้ดำรงอยู่ตลอดอายุ ทำกาละแล้วไหม้ในนรก มีคูถและมูตรเป็นอาหารอีก ด้วยเศษแห่งวิบากของกรรมนั้นนั่นแล แม้เกิดในหมู่มนุษย์ได้เป็นนิครนถ์มีคูถเป็นภักษา ๕๐๐ ชาติ. ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในกำเนิดมนุษย์อีก บังเกิดในตระกูลแห่งคนทุกข์ยาก เพราะกำลังแห่งกรรมแห่งการว่าร้ายพระอริยเจ้า เขาให้ดื่มน้ำนม นมสดหรือเนยใส ก็ทิ้งสิ่งนั้นแล้ว ดื่มเฉพาะน้ำมูตรเท่านั้น เขาให้บริโภคข้าวสุกก็ทิ้งข้าวสุกนั้นแล้ว เคี้ยวกินแต่คูถเท่านั้น, เติบโตด้วยการบริโภคคูถและมูตรด้วยอาการอย่างนี้ แม้เจริญวัยแล้วก็บริโภคแต่คูถและมูตรเท่านั้น. พวกมนุษย์เมื่อไม่อาจจะห้ามจากการบริโภคคูถและมูตรนั้นจึงละทิ้งเสีย. เขาอันพวกญาติละทิ้งเสียแล้ว จึงบวชเป็นนักบวชเปลือย ไม่อาบน้ำ, ครองผ้าเปื้อนด้วยธุลีและฝุ่น ถอนผมและหนวด ห้ามอิริยาบถอื่น เดินด้วยเท้าเดียว ไม่ยินดีการนิมนต์ ถือเอา เมื่อเขาทำอยู่อย่างนี้ล่วงไป ๕๕ ปี มหาชนสำคัญว่า เป็นผู้มีตบะมาก มีความปรารถนาน้อยอย่างยิ่ง จึงได้น้อมไปหาเขา โอนไปหาเขา. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็นธรรมอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัตรุ่งเรืองอยู่ในภายในดวงหทัยของเขา เหมือนประทีปในหม้อฉะนั้น แล้วพระองค์เสด็จไปในที่นั้นแสดงธรรม ให้เขาดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ให้เขาได้อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา ให้ขวนขวายวิปัสสนา ให้ดำรงอยู่ในพระอรหัต. ในเรื่องนี้มีความสังเขปเพียงเท่านี้. ส่วนความพิสดาร พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาแห่งคาถาว่า มาเส มาเส กุสคฺเคน ในพระธรรมบท. ก็ท่านดำรงอยู่ในพระอรหัตแล้ว ในเวลาปรินิพพาน เมื่อแสดงว่า แม้เราปฏิบัติผิดในชั้นต้น อาศัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บรรลุธรรมที่พระสาวกควรบรรลุ จึงกล่าว ๔ คาถานี้ว่า เราเอาธุลีและฝุ่นทาตัวอยู่ตลอด ๕๕ ปี บริโภค อาหารเดือนละครั้ง ถอนผมและหนวด ยืนอยู่ด้วยเท้า ข้างเดียว งดเว้นการนั่ง กินคูถแห้ง ไม่ยินดีอาหารที่ เขาเชื้อเชิญ เราได้ทำบาปกรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ ทุคติเป็นอันมากเช่นนั้น ถูกโอฆะพัดไปอยู่ ได้ถึงพระ พุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ขอท่านจงดูสรณคมน์และความที่ ธรรมเป็นธรรมอันดีเลิศ วิชชา ๓ เราได้บรรลุแล้ว เรา ได้ทำกิจพระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจปญฺญาสวสฺสานิ รโชชลฺลมธารยึ ความว่า มีกายทรงไว้ซึ่งธุลีกล่าวคือละอองอันจรมาติดอยู่ที่ร่างกายและฝุ่นกล่าวคือมลทินแห่งร่างกาย เกิน ๕๕ ปี โดยห้ามการอาบน้ำด้วยการเข้าถึงการบวชเป็นคนเปลือย. บทว่า ภุญฺชนฺโต มาสิกํ ภตฺตํ ความว่า เคี้ยวกินคูถในราตรี ชื่อว่าเป็นผู้เข้าจำหนึ่งเดือนเพื่อจะลวงโลก บริโภคโภชนะที่ผู้ต้องการบุญให้ โดยวางไว้ที่ปลายลิ้นเดือนละครั้ง. บทว่า อโลจยึ ความว่า ใช้มือถอนผมและหนวดที่มีรากหย่อนโดยเพิ่มขี้เถ้าเช่นนั้นเข้าไป. บทว่า เอกปาเทน อฏฺฐาสึ อาสนํ ปริวชฺชยึ ความว่า เว้นการนั่งโดยประการทั้งปวง และเมื่อจะยืนก็ยกมือทั้งสองขึ้น ได้ยืนโดยเท้าเดียวเท่านั้น. บทว่า ทฺเทสํ ได้แก่ เชื้อเชิญ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อุทิสฺสกตํ ทำเจาะจง ดังนี้. บทว่า น สาทิยํ ได้แก่ ไม่รับ. อธิบายว่า ปฏิเสธ. บทว่า เอตาทิสํ กริตฺวาน พหุ ํ ทุคฺคติคามินํ ความว่า ได้กระทำบาปกรรมไว้มากอันเป็นเหตุให้ไปทุคติ อันยังวิบากให้เกิดเช่นนั้น คือเห็นปานนั้นให้เกิดในชาติก่อนๆ และในชาตินี้. บทว่า วุยฺหมาโน มโหเฆน ความว่า อันโอฆะใหญ่มีกาโมฆะเป็นต้น เมื่อว่าโดยพิเศษอันทิฏโฐฆะ คร่ามาเฉพาะสู่สมุทรคืออบาย. บทว่า พุทฺธํ สรณมาคมํ ความว่า ได้อัตภาพเป็นมนุษย์โดยยาก เพราะขาดบุญกรรมเช่นนั้น บัดนี้ได้ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะเพราะกำลังแห่งบุญ คือได้เลื่อมใสในพระศาสดา ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรู้เองโดยชอบด้วยพระองค์เอง. บทว่า สรณคมนํ ปสฺส ปสฺส ธมฺมสุธมฺมตํ ความว่า ท่านจงดูสรณคมน์ของเราอันเป็นบ่อเกิด (ที่พำนัก) และจงดูภาวะที่ศาสนธรรมเป็นธรรมดี ที่เราปฏิบัติผิดเช่นนั้น อันพระศาสดาทรงให้ถึงพร้อมซึ่งสมบัติเช่นนี้ โดยพระโอวาทครั้งเดียวเท่านั้น. ด้วยบทว่า ติสฺโส วิชฺชา ดังนี้เป็นต้น ท่านแสดงถึงสมบัตินั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า๑- เราไหว้โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าติสสะ ได้ทำธรรมาสนะและพัดสำหรับพัดในที่นั้น ใน ____________________________ ๑- ขุ. อ. เล่ม ๓๓/ข้อ ๔๓ จบอรรถกถาชัมพุกเถรคาถาที่ ๕ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรคาถา จตุกกนิบาต ๕. ชัมพุกเถรคาถา จบ. |