![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร? พระเถระแม้นี้ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน สั่งสมกุศลอันเป็น ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ใน จริงอยู่ เพราะท่านอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำและเพราะท่านเป็นกัสสปโคตร ท่านจึงได้นามว่านทีกัสสปะ. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทานอุปสมบทแก่ท่านพร้อมด้วยบริวาร โดยเอหิภิกษุภาวะ. เรื่องทั้งหมดมาแล้วในขันธกะนั่นแล. ท่านดำรงอยู่ในพระอรหัตด้วยอาทิตตปริยายสูตร. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า๑- เมื่อพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ เชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่ ผู้ทรงยศอันสูงสุด กำลังเสด็จเที่ยวบิณฑบาตอยู่ ข้าพระองค์มีใจเลื่อมใส ได้ถือเอาผลชมพู่อย่างดีมาถวายแด่พระศาสดาผู้เป็นทักขิไณยบุคคล เป็นนักปราชญ์ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่กว่าสัตว์ เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่านรชน เพราะกรรมนั้น ข้าพระองค์จึงเป็นผู้ละความชนะและความแพ้แล้ว ได้ถึงฐานะที่ไม่หวั่นไหว ในแสนกัปแต่กัปนี้ ข้าพระองค์ได้ถวายทานใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้น ข้าพระองค์ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้อย่างดีเป็นทาน ข้าพระองค์เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... ฯลฯ ... พระพุทธศาสนา ข้าพระองค์ได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ____________________________ ๑- ขุ. อ. เล่ม ๓๓/ข้อ ๓๐ ก็ท่านดำรงอยู่ในพระอรหัตแล้ว ภายหลังพิจารณาการปฏิบัติของตน เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล โดยระบุการถอนทิฏฐิขึ้นเป็นประธาน จึงได้กล่าวคาถา ๕ คาถาเหล่านี้ว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาสู่แม่น้ำเนรัญชรา เพื่อประโยชน์แก่ เราหนอ เพราะเราได้ฟังธรรมของพระองค์แล้ว ละมิจฉา ทิฏฐิได้ เมื่อเราเป็นปุถุชนยังมืดมนอยู่ สำคัญว่าการบูชา ยัญนี้เป็นความบริสุทธิ์ จึงได้บูชายัญสูงๆ ต่ำๆ และได้ บูชาไฟ แล่นไปสู่การถือทิฏฐิ ลุ่มหลงไปด้วยการเชื่อถือ เป็นคนตาบอดไม่รู้แจ้ง สำคัญความไม่บริสุทธิ์ว่าเป็น ความบริสุทธิ์ บัดนี้ เราละมิจฉาทิฏฐิได้แล้ว ทำลายภพ ทั้งปวงหมดแล้ว เราบูชาไฟ คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ เป็นทักขิไณยบุคคล เราขอนมัสการพระตถาคต ความ ลุ่มหลงทั้งปวงเราละหมดแล้ว ตัณหาอันจะนำไปสู่ภพ เราทำลายแล้ว ชาติสงสารสิ้นแล้ว บัดนี้ ภพใหม่มิได้มี. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถาย วต เม ความว่า เพื่อประโยชน์ คือเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เราหนอ. บทว่า พุทฺโธ ได้แก่ พระสัพพัญฺญูพุทธเจ้า. บทว่า นทึ เนรญฺชรํ อคา ความว่า ได้ไปสู่แม่น้ำชื่อว่าเนรัญชรา. อธิบายว่า ไปสู่อาศรมของอุรุเวลกัสสปะ พี่ชายของเรา ใกล้ฝั่งแห่งแม่น้ำนั้น. บัดนี้ เพื่อจะไขความตามที่กล่าวแล้วจึงกล่าวว่า ยสฺสาหํ ดังนี้เป็นต้น. บทว่า ยสฺส ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด. บทว่า ธมฺมํ สุตฺวา ความว่า ฟังธรรมอันเกี่ยวด้วยสัจจะ ๔ คือได้รับฟังตามกระแสแห่งโสตทวาร. บทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐึ วิวชฺชยึ ความว่า ละซึ่งการเห็นผิดตรงกันข้าม (ผิดแผก) อันเป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีด้วยยัญเป็นต้น. เพื่อจะแสดงให้พิสดาร ซึ่งความที่กล่าวด้วยบทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐึ วิวชฺชยึ นี้ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ยชึ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยชึ อุจฺจาวเจ ยญฺเญ ความว่า บูชายัญที่ปรากฏ คือยัญต่างๆ มีการบวงสรวงพระจันทร์ และการบูชาด้วยข้าวตอกและน้ำที่ควรดื่มเป็นต้น. บทว่า อคฺคิหุตฺตํ ชุหึ อหํ ความว่า เมื่อรับวัตถุที่เขานำมาบูชาด้วยอำนาจการบูชายัญเหล่านั้น จึงบำเรอไฟ. บทว่า เอสา สุทฺธีติ มญฺญนฺโต ความว่า สำคัญอยู่ว่า ยัญกิริยาคือการบำเรอ บทว่า อนฺธภูโต ปุถุชฺชโน ความว่า ชื่อว่าเป็นปุถุชนคนบอด เพราะบก การยึดถือคือทิฏฐิ ชื่อว่าทิฏฐิคหนะ เพราะอรรถว่าล่วงได้โดยยาก เหมือนพงหญ้าและชัฏภูเขาเป็นต้นฉะนั้น แล่นไปคือเข้าไปสู่รกชัฏคือทิฏฐินั้นเพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าทิฏฐิ บทว่า ปรามาเสน ความว่า ด้วยการก้าวล่วงสภาวะแห่งธรรมเสียยึดถือผิด กล่าวคือการยึดถือโดยยึดถือว่า นี้เท่านั้นจริง. บทว่า โมหิโต ความว่า ให้ถึงความเป็นผู้หลงงมงาย. บทว่า อสุทฺธึ มญฺญิสํ สุทฺธึ ความว่า สำคัญคือเข้าใจหนทางอันไม่บริสุทธิ์ ว่าทางบริสุทธิ์ ดังนี้. ท่านกล่าวเหตุในข้อนั้นว่า เป็นคนบอด คือคนไม่รู้. เป็นคนบอด เพราะ บทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิ ปหีนา เม ความว่า เมื่อเราฟังธรรมกถาคือสัจจะ ๔ ในที่พร้อมพระพักตร์พระศาสดาผู้เป็นอย่างนั้น ปฏิบัติอยู่โดยอุบายอันแยบคาย เป็นอันละมิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมด ด้วยสัมมาทิฏฐิอันสัมปยุตด้วยอริยมรรค โดย บทว่า ภวา ความว่า ภพทั้งปวงมีกามภพเป็นต้น เราทำลายเสียแล้ว คือกำจัดเสียแล้ว บทว่า ชุหามิ ทกฺขิเณยฺยคฺคึ ความว่า เราละไฟมีไฟอันบุคคลพึงนำมาบูชาเป็นต้น แล้วบูชาคือบำเรอไฟคือพระทักขิไณย คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นพระทักขิไณยบุคคลของโลกพร้อมทั้งเทวโลก และเพราะเผาบาปทั้งปวง การบำเรอไฟคือพระทักขิไณยของเรานี้นั้น มิได้มุ่งถึงวัตถุมีนมส้ม เนยข้น เปรียงและเนยใสเป็นต้น เป็นการนมัสการพระศาสดาเท่านั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นมสฺ อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ชุหามิ ทกฺขิเณยฺยคฺคึ ความว่า ย่อมบูชาคือบำเรอตนอันเป็นทักขิเณยยัคคิ ด้วยการกระทำทักขิณาของทายกให้มีผลมากและด้วยการเผาบาป. ย่อมบำเรอด้วยประการนั้นๆ คือจะนมัสการเทวดาคือไฟ แต่บัดนี้เรา บทว่า โมหา สพฺเพ ปหีนา เม ความว่า โมหะทั้งปวงต่างด้วยความไม่รู้ในทุกข์เป็นต้น เราละได้แล้วคือตัดขาดแล้ว เพราะเหตุนั้นนั่นแล เราจึงชื่อว่าทำลายภวตัณหาได้แล้ว. เม ศัพท์พึงนำมาประกอบเข้าในบททั้ง ๓ ว่า ชาติสงสารของเราสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ของเราไม่มี ดังนี้แล. จบอรรถกถานทีกัสสปเถรคาถาที่ ๖ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรคาถา ปัญจกนิบาต ๖. นทีกัสสปเถรคาถา จบ. |