![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() อรรถกถาอุรุเวลกัสสปเถรคาถาที่ ๑ เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร? แม้พระเถระนี้ก็เป็นผู้มีบุญญาธิการอันได้กระทำไว้ในพระพุทธเจ้า ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นว่าความปรารถนาของเขาไม่มีอันตราย จึงทรงพยากรณ์ว่าในอนาคตกาล เขาจักเป็นเลิศแห่งบริษัทหมู่ใหญ่ในศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้า. เขากระทำบุญในชาตินั้นจนตลอดอายุ จุติจากชาตินั้นแล้วท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในที่สุด ๙๒ กัป พี่น้องทั้ง ๓ นั้นเติบโตแล้วก็เล่าเรียนไตรเพท. บรรดาพี่น้องชายทั้ง ๓ นั้น พี่ชาย บรรดาพี่น้องทั้ง ๓ นั้น พี่ชายคนโตพร้อมกับบริวารของตน ไปยังตำบลอุรุเวลาบวชเป็นฤาษี จึงมีชื่อว่าอุรุเวลากัสสป น้องชายที่บวชอยู่ ณ โค้งแม่น้ำมหาคงคา จึงมีชื่อว่านทีกัสสป น้องชาย เมื่อพี่น้องทั้ง ๓ นั้นบวชเป็นฤาษี อยู่ในที่นั้นๆ อย่างนี้แล้ว เมื่อวันเวลาล่วงไปเป็นอันมาก พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลายเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงรู้แจ้งแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ ทรงประกาศพระธรรมจักรไปโดยลำดับ ทรงให้พระเบญจวัคคีย์เถระดำรงอยู่ในพระอรหัต ทรงแนะนำสหาย ๕๕ คนมียสะเป็นประธาน แล้วทรงส่งพระอรหันต์ ๖๐ องค์ ไปด้วยพระดำรัสมีว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจาริกไป ดังนี้เป็นต้นแล้วทรงแนะนำภัททวัคคียกุมาร แล้วเสด็จไปยังที่อยู่ ฝ่ายน้องชายทั้งสองรู้ว่าอุรุเวลกัสสปนั้นบวชแล้วพร้อมทั้งบริวาร พากันมาบวชในสำนักของพระศาสดา. ทั้งหมดนั่นแหละได้เป็นเอหิภิกขุ ทรงบาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์. พระศาสดาทรงพาสมณะ ๑,๐๐๐ รูปนั้นไปยังคยาสีสประเทศ แล้วประทับนั่งบนหินดาด ให้สมณะทั้งหมดดำรงอยู่ในพระอรหัต ด้วยอาทิตตปริยายสูตรเทศนา. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า๑- ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระพิชิตมารนามว่าปทุมุตตระ ผู้รู้แจ้งโลกทั้งปวง เป็นนัก ครั้งนั้น อายุของสัตว์แสนปี พระชินสีห์พระองค์นั้น เมื่อดำรงพระชนม์อยู่โดยกาลประมาณเท่านั้น ได้ทรงยังประชุมชนเป็นอันมากให้ข้ามพ้นวัฏสงสารเป็นอันมาก. ครั้งนั้น เราเป็นพราหมณ์ชาวเมืองหังสวดี อันชนสมมติว่า เป็นคนประเสริฐ ได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ส่องโลก แล้ว ครั้งนั้น พระศาสดาผู้มีพระสุรเสียงเหมือนคชสารคำรน มีพระสำเนียงเหมือน ในกัปนับแต่นี้ขึ้นไป ๑ แสน พระศาสดามีพระนามว่าโคดม ซึ่งสมภพในวงศ์ของพระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก. พราหมณ์นี้จักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น เป็นโอรสอันธรรมเนรมิตจักเป็นสาวกของพระศาสดา มีนามว่ากัสสป พระอัครนายกของโลกพระนามว่าผุสสะ ผู้เป็นพระศาสดาอย่างยอดเยี่ยม หาผู้เปรียบมิได้ ไม่มีใครจะเสมอเหมือน ได้เสด็จ อุบัติขึ้นแล้ว ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้ พระศาสดาพระนามว่าผุสสะ พระองค์นั้นแล ทรงกำจัดความมืดทั้งปวง ทรงสางรกชัฏใหญ่ ทรงยังฝนคืออมตธรรมให้ตกลง ให้มนุษย์และทวยเทพอิ่มหนำ ครั้งนั้น เราสามคนพี่น้องเป็นราชอำมาตย์ในพระนครพาราณสี ล้วนแต่เป็นที่ไว้วางพระทัยของพระมหากษัตริย์ รูปร่างองอาจ แกล้วกล้า สมบูรณ์ด้วยกำลังไม่แพ้ใครเลยในสงคราม ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินผู้มีเมืองชายแดนก่อการกำเริบ ได้ตรัสสั่งเราว่า ท่านทั้งหลายจงไปชนบทชายแดน พวกท่านจงยังกำลังของแผ่นดินให้เรียบร้อย ทำแว่นแค้วนของเราให้เกษม แล้วกลับมา. ลำดับนั้น เราได้กราบทูลว่า ถ้าพระองค์จะพึงพระราชทานพระนายกเจ้า เพื่อให้ข้าพระองค์อุปัฏฐากไซร้ ข้าพระองค์ทั้งหลายก็จักทำกิจของพระองค์ให้สำเร็จ. ลำดับนั้น เราผู้รับพระราชทานพร สมเด็จพระภูมิบาลส่งไปทำชนบทชายแดนให้วางอาวุธแล้วกลับมายังพระนครนั้น เราทูลขอการอุปัฏฐากพระศาสดาแด่พระราชา ได้พระศาสดาผู้เป็นนายกของโลกผู้ประเสริฐกว่ามุนี แล้วได้บูชาพระองค์ตราบเท่าสิ้นชีวิต เราทั้งหลายเป็นผู้มีศีลประกอบด้วยกรุณา มีใจประกอบด้วยภาวนา ได้ถวายผ้ามีค่ามาก รสอันประณีต เสนาสนะอันน่ารื่นรมย์ และเภสัชที่เป็นประโยชน์ที่ตนให้เกิดขึ้นโดยชอบธรรม แก่พระมุนีพร้อมทั้งพระสงฆ์ อุปัฏฐากพระองค์ด้วยจิตเมตตาตลอดกาล ครั้นพระศาสดาผู้เลิศพระองค์นั้นนิพพานแล้ว ได้ทำการบูชาตามกำลัง เราทุกคนจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เสวยมหันตสุขในดาวดึงส์นั้น นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในภพ เป็นเหมือนนายช่างดอกไม้ ได้ดอกไม้แล้วแสดงชนิดแห่ง เมื่อถึงภพสุดท้าย เราเป็นบุตรของพราหมณ์ เกิดในสกุลที่สมบูรณ์ ในกรุงพาราณสี เรากลัวต่อความตาย ความป่วยไข้และความแก่ชรา จึงเข้าป่าใหญ่แสวงหาหนทางนิพพาน ได้บวชในสำนักของชฎิล ครั้งนั้น น้องชายทั้งสองของเราก็ได้บวชพร้อมกับเรา เราได้สร้างอาศรมอาศัยอยู่ที่ตำบลอุรุเวลา เรามีนามตามโคตรว่ากัสสป แต่เพราะอาศัยอยู่ที่ตำบลอุรุเวลา เราจึงมีนามบัญญัติว่าอุรุเวลกัสสป เพราะน้องชายของเราอาศัยอยู่ที่ชายแม่น้ำ เขาจึงได้นามว่านทีกัสสป และเพราะน้องชายของเราอีกคนหนึ่ง อาศัยอยู่ที่ตำบลคยา เขาจึงถูกประกาศนามว่าคยากัสสป น้องชายคนเล็กมีศิษย์ ๒๐๐ คน น้องชายคนกลางมี ๓๐๐ คน เรามี ๕๐๐ คนถ้วน ศิษย์ทุกคนล้วนแต่ประพฤติตามเรา ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าผู้เลิศในโลก เป็นสารถีฝึกนรชน ได้เสด็จมาหาเรา ทรงทำ โอ สักการะที่ได้ทำไว้ในพระพุทธเจ้าได้ก่อให้เกิดสิ่งที่มีผลแก่เราแล้ว เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... ฯลฯ ... พระพุทธศาสนา เราได้ทำเสร็จแล้ว. ____________________________ ๑- ขุ. อ. เล่ม ๓๓/ข้อ ๑๒๘ ก็ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว จึงพิจารณาการปฏิบัติของตน เมื่อจะบันลือสีหนาท จึงได้กล่าวคาถา ๖ คาถาเหล่านี้ว่า เรายังไม่เห็นปาฏิหาริย์ของพระโคดม ผู้เรืองยศ เพียงใด เราก็ยังเป็นคนลวงโลกด้วยความริษยาและมานะ ไม่นอบน้อม อยู่เพียงนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นสารถีฝึกนรชน ทรงทราบ ความดำริของเรา ทรงตักเตือนเรา. ลำดับนั้น ความสลดใจได้เกิด แก่เรา เกิดความอัศจรรย์ใจ ขนลุกชูชัน ความสำเร็จเล็กน้อยของ เราผู้เป็นชฎิลเคยมีอยู่ในกาลก่อน เราได้สละความสำเร็จนั้นเสีย บวชในศาสนาของพระชินเจ้า เมื่อก่อนเรายินดีการบูชายัญห้อม ล้อมด้วยกามารมณ์ ภายหลังเราถอนราคะ โทสะและโมหะได้แล้ว เรารู้บุพเพนิวาสญาณ ชำระทิพยจักษุหมดจด เป็นผู้มีฤทธิ์รู้จิต ของผู้อื่นและบรรลุทิพโสต อนึ่ง เราออกบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์ นั้น เราได้บรรลุแล้ว ความสิ้นสังโยชน์ทั้งปวง เราได้บรรลุแล้ว. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิสฺวาน ปาฏิหีรานิ ความว่า ได้เห็นปาฏิหาริย์ ๓,๕๐๐ ประการ มีการทรมานพระยานาคเป็นต้น. จริงอยู่ บทว่า ปาฏิหีรํ, ปาฏิเหรํ, ปาฏิหาริยํ. โดยใจความ เป็นอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น. บทว่า ยสสฺสิโน ได้แก่ ผู้มีพระกิตติศัพท์แพร่ไปในโลกพร้อมทั้งเทวโลก โดยนัยมีอาทิว่า อิติปิ โส ภควา ดังนี้. บทว่า น ตาวาหํ ปณิปตึ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ายังมิได้ทรงกำราบเราเพียงใดว่า ดูก่อนกัสสป เธอยังไม่เป็นพระอรหันต์ ทั้งยังไม่บรรลุพระอรหัตมรรค ทั้งเธอก็ยังไม่มีปฏิปทาเครื่องเป็นพระอรหันต์ หรือเครื่องบรรลุพระอรหัตมรรค ดังนี้ เราก็ยังไม่กระทำการนอบน้อมเพียงนั้น. เพราะเหตุไร? เพราะเราลวงด้วยความริษยาและมานะ. อธิบายว่า เป็นผู้ลวง คือหลอกลวงด้วยความริษยาอันมีลักษณะไม่อดทนต่อสมบัติของผู้อื่นอย่างนี้ว่า เมื่อเรายอมเข้าเป็นสาวกของท่านผู้นี้ เราก็จักเสื่อมลาภสักการะ ลาภสักการะจักเพิ่มพูนแก่ท่านผู้นี้ และด้วยมานะมีลักษณะยกตนอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้อันชนจำนวนมากสมมติให้เป็นหัวหน้าคณะ. บทว่า มยฺหํ สงฺกปฺปมญฺญาย ความว่า ทรงทราบความดำริผิดของเรา คือแม้ทรงทราบความดำริผิดซึ่งเราได้เห็นปาฏิหาริย์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงจากอุตริมนุสธรรม แม้คิดว่า มหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ก็ยัง (มีมิจฉาวิตก) เป็นไปอย่างนี้ว่า ยังไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเรา ก็ทรงรอความแก่กล้าของญาณจึงทรงวางเฉย ภายหลังทรงทำน้ำให้แห้งโดยรอบๆ ตรงกลางแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จจงกรมที่พื้นอันฟุ้งด้วยละอองธุลี แล้วประทับยืนในเรือที่ชฎิลนั้นนำมา แม้ในกาลนั้นก็ทรงรู้ความดำริผิดที่เราคิดมีอาทิว่า เป็นผู้มีฤทธิ์ ดังนี้ ก็ยังประกาศว่ายังไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเรา. บทว่า โจเทสิ นรสารถี ความว่า ในกาลนั้น พระศาสดาผู้เป็น สารถีฝึกบุรุษทรงทราบความแก่กล้าแห่งญาณของเราแล้ว จึงทรงทักท้วงคือข่มเรา โดยนัยมีอาทิว่า ท่านยังไม่เป็นพระอรหันต์เลย ดังนี้. บทว่า ตโต เม อาสิ สํเวโค อพฺภุโต โลมหํสโน ความว่า แต่นั้นคือเพราะการทักท้วงตามที่กล่าวแล้ว เป็นเหตุเกิดความสลดใจ คือเกิดญาณความรู้พร้อมทั้งความเกรงกลัวบาปอันชื่อว่าไม่เคยเป็น เพราะไม่เคยมีมาก่อนตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ ชื่อว่าขนลุกชูชัน เพราะเป็นไปโดยอำนาจขนพองสยองเกล้าได้มีแก่เราว่า เราไม่ได้เป็นพระอรหันต์เลย สำคัญว่าเป็นพระอรหันต์. บทว่า ชฏิลสฺส แปลว่า เป็นดาบส. บทว่า สิทฺธิ ได้แก่ มั่งคั่งด้วยลาภสักการะ. บทว่า ปริตฺติกา แปลว่า มีประมาณน้อย. บทว่า ตาหํ ตัดเป็น ตํ อหํ. บทว่า ตทา ได้แก่ ในเวลาเกิดความสลดใจ ด้วยการทักท้วงของพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า นิรากตฺวา ได้แก่ นำออกไป คือทิ้งไป. อธิบายว่า เป็นผู้ไม่ห่วงใย. บางอาจารย์กล่าวว่า บทว่า อิทฺธิ ได้แก่ ฤทธิ์อันสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา. คำนั้นไม่ถูก เพราะในเวลานั้นอุรุเวลกัสสปยังไม่ได้ฌาน. จริงอย่างนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ห้อม บทว่า ยญฺเญน สนฺตุฏฺโฐ ความว่า ยินดีคือสำคัญกิจที่เสร็จแล้วด้วยการบูชายัญ โดยเข้าใจว่า เราบูชายัญแล้วจักได้เสวยสุขในสวรรค์ ได้การละด้วยการบูชายัญมีประมาณเท่านี้. บทว่า กามธาตุปุรกฺขโต ความว่า ผู้มีความอยากอันปรารภกามสุคติเกิดขึ้น คือมุ่งกามโลก อยู่ด้วยการบูชายัญ. หากว่ายัญนั้นประกอบพร้อมด้วยปาณาติบาต ใครๆ ไม่อาจได้สุคติด้วยยัญนั้น. จริงอยู่ อกุศลไม่บังเกิดผลอันน่าปรารถนา น่าพึงใจ แต่เมื่อกุศลเจตนามีทานเป็นต้นมีอยู่ในยัญนั้น บุคคลพึงไปสู่สุคติได้ เพราะ บทว่า ปจฺฉา ได้แก่ ในกาลภายหลังจากการบวชเป็นดาบส คือในกาลที่ละลัทธิดาบสแล้ว ประกอบ บทว่า สมูหนึ ความว่า เราบำเพ็ญวิปัสสนาแล้วถอนได้สิ้นเชิงซึ่งราคะโทสะโมหะ โดย ก็เพราะเหตุที่พระเถระนี้ถอนราคะเป็นต้นได้ด้วยอริยมรรคนั่นแหละ ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ฉะนั้น เมื่อจะแสดงว่าตนมีอภิญญา ๖ จึงกล่าวคำว่า ปุพฺเพนิวาสํ ชานามิ ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพนิวาสํ ชานามิ ความว่า เรารู้คือตรัสรู้โดยประจักษ์ ซึ่งขันธปัญจกที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนของตนและของคนอื่น คือขันธ์ที่บังเกิดแล้วและสภาวะที่เนื่องด้วยขันธ์ในอดีตชาติทั้งหลายด้วยปุพเพนิวาสญาณ เหมือน บทว่า ทิพฺพจกฺขุ วิโสธิตํ ความว่า เราชำระทิพยจักษุญาณให้หมดจด คือเราได้ญาณอันสามารถทำรูปทั้งเป็นของทิพย์ทั้งเป็นของมนุษย์ ซึ่งอยู่ไกล อยู่ภายนอกฝาและอันละเอียดยิ่งให้แจ่มแจ้ง ดุจรูปตามปกติอันประจวบเข้า ด้วยนัยน์ตาตามปกติ โดยทำให้บริสุทธิ์ด้วยการเจริญภาวนา. บทว่า อิทฺธิมา ได้แก่ ผู้มีฤทธิ์ด้วยฤทธิ์ทั้งหลายมีอธิษฐานฤทธิ์และวิกุพพนฤทธิ์ (การแผลงฤทธิ์) เป็นต้น. อธิบายว่า เป็นผู้ได้ญาณอันแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ. ชื่อว่าผู้รู้จิตของคนอื่น เพราะรู้จิตของคนอื่นอันต่างด้วยจิตมีราคะเป็นต้น ท่านอธิบายไว้ว่า เป็นผู้ได้เจโตปริยญาณ ญาณกำหนดรู้จิตของผู้อื่น. บทว่า ทิพฺพโสตญฺจ ปาปุณึ ความว่า และได้ทิพโสตญาณ. บทว่า โส เม อตฺโถ อนุปฺปตฺโต สพฺพสํโยชนกฺขโย ความว่า ประโยชน์อันเป็นตัวสิ้นไป หรือจะพึงได้ด้วยความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวง คือทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ของคนอื่น เราได้บรรลุแล้วด้วยการบรรลุอริยมรรค. พึงทราบว่า พระเถระพยากรณ์พระอรหัตด้วยคาถานี้ด้วยประการอย่างนี้. จบอรรถกถาอุรุเวลกัสสปเถรคาถาที่ ๑ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรคาถา ฉักกนิบาต ๑. อุรุเวลกัสสปเถรคาถา จบ. |