ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 26 / 1อ่านอรรถกถา 26 / 420อรรถกถา เล่มที่ 26 ข้อ 421อ่านอรรถกถา 26 / 422อ่านอรรถกถา 26 / 474
อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรีคาถา ทุกนิบาต
๒. ชันตาเถรีคาถา

               ๒. อรรถกถาชันตาเถรีคาถา               
               คาถาว่า เย อิเม สตฺต โพชฺฌงฺคา เป็นต้นเป็นคาถาของพระเถรีชื่อชันตา.
               เรื่องที่เป็นอดีตและเรื่องปัจจุบันของพระเถรีชื่อชันตานั้น เหมือนเรื่องของพระเถรีชื่ออภิรูปนันทา แต่พระเถรีนี้บังเกิดในราชตระกูลลิจฉวี กรุงเวสาลี ความแปลกกันเท่านี้เอง.
               เธอฟังธรรมที่พระศาสดาทรงแสดง ได้บรรลุพระอรหัตในเวลาจบเทศนา พิจารณาคุณวิเศษที่ตนบรรลุ ได้กล่าวคาถาสองคาถาเหล่านี้ ด้วยอำนาจปิติว่า
                         โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ใด เป็นทางแห่งการบรรลุพระ
               นิพพาน โพชฌงค์ ๗ เหล่านั้นทั้งหมด ข้าพเจ้าเจริญแล้ว
               อย่างที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า
               นั้นข้าพเจ้าเห็นแล้ว ร่างกายนี้มีในที่สุด ชาติสงสารขาด
               สิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.

               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย อิเม สตฺต โพชฺฌงฺคา ความว่า ธรรม ๗ ประการเหล่านี้ใด กล่าวคือ สติ ธัมมวิจยะ วีริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิและอุเบกขา ได้ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งธรรมสามัคคี เครื่องตรัสรู้ตามที่กล่าวแล้ว หรือแห่งบุคคลผู้ตรัสรู้ซึ่งธรรมที่ควรตรัสรู้ คือผู้พร้อมเพรียงด้วยธรรมเครื่องตรัสรู้นั้น.
               บทว่า มคฺคา นิพฺพานปตฺติยา ได้แก่ เป็นอุบายแห่งการบรรลุพระนิพพาน.
               บทว่า ภาวิตา เต มยา สพฺเพ ยถา พุทฺเธน เทสิตา ความว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ข้าพเจ้าให้เกิดขึ้นและให้เจริญ เหมือนที่พระพุทธเจ้าคือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้.
               หิ ศัพท์ในบาทคาถาว่า ทิฏฺโฐ หิ เม โส ภควา มีความว่า เหตุ.
               ประกอบความว่า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นธรรมกาย เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ อันข้าพเจ้าเห็นแล้วด้วยการเห็นอริยธรรมที่ตนได้บรรลุแล้ว ฉะนั้นร่างกายนี้จึงมีในที่สุด ด้วยว่าพระผู้มีพระภาคผู้พุทธเจ้าและพระอริยะอื่นๆ ย่อมชื่อว่า ข้าพเจ้าเห็นแล้วด้วยการเห็นอริยธรรม ไม่ใช่ด้วยเพียงเห็นรูปกาย
               เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นเรา
               และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้วเป็นผู้เห็นอริยสัจดังนี้ เป็นต้น.
               คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล.

               จบอรรถกถาชันตาเถรีคาถาที่ ๒               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรีคาถา ทุกนิบาต ๒. ชันตาเถรีคาถา จบ.
อ่านอรรถกถา 26 / 1อ่านอรรถกถา 26 / 420อรรถกถา เล่มที่ 26 ข้อ 421อ่านอรรถกถา 26 / 422อ่านอรรถกถา 26 / 474
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=26&A=8987&Z=8992
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=34&A=737
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=34&A=737
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๓  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :