บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
แม้พระเถรีชื่ออภยานี้ก็ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิขี เกิดในตระกูลกษัตริย์มหาศาล รู้ความแล้ว ได้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้าอรุณราช. วันหนึ่ง พระเจ้าอรุณราชได้ประทานดอกอุบลหอม ๗ ดอกแก่เธอ เธอรับดอกอุบลเหล่านั้นแล้วนั่งคิดว่า เราประดับดอกอุบลเหล่านี้จะมีประโยชน์อะไร อย่ากระนั้นเลย เราจักเอา ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าพระราชนิเวศน์ในเวลาภิกขาจาร เธอเห็น ในพุทธุปปาทกาลนี้ เกิดในเรือนแห่งตระกูลในกรุงอุชเชนี รู้ความแล้ว เป็นสหายของพระอภัยมาตุเถรี. เมื่อพระอภัยมาตุเถรีบวช เธอเอง วันหนึ่งได้ไปป่าสีตวันเพื่อดูอสุภ พระศาสดาประทับนั่งในพระคันธกุฎีนั้นเอง ทรงทำอารมณ์ที่เธอเคยประสบมาไว้ต่อหน้า ประกาศความเป็นศพขึ้นพองเป็นต้นแก่เธอ เธอเห็นดังนั้น ยืนสลดใจอยู่. พระศาสดาทรงแผ่รัศมีแสดงพระองค์เหมือนประทับนั่งอยู่ต่อหน้า ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ดูก่อนอภยา ปุถุชนข้องอยู่ในกายใด กายนั้น มีสภาพแตกดับ เรามีสติรู้สึกตัวจักทอดทิ้งร่างกายนี้ เราอันความทุกข์เป็นอันมากถูกต้องแล้ว ยินดีแล้ว ในความไม่ประมาท บรรลุความสิ้นตัณหาแล้ว ได้ ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว. เวลาจบคาถา พระเถรีนั้นได้บรรลุพระอรหัต เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า๑- ในพระนครอรุณวดีมีกษัตริย์พระนามว่าอรุณราช ข้าพเจ้าเป็นมเหสี พระพิชิตมารงามดังต้นรกฟ้า หรือดังพญาไกรสรมฤคราช พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จมาตามถนน ข้าพ ข้าพเจ้ามีจิตร่าเริง ดีใจ ปลื้มใจ ประคองอัญชลี ทำจิตให้เลื่อมใสในกาลนั้น ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เหมือนศีรษะของข้าพเจ้า เขากั้นเศวตฉัตรขนาดใหญ่ กลิ่นทิพย์หอมฟุ้งไป นี้เป็นผลแห่งดอกอุบล ๗ ดอก. บางครั้งเมื่อหมู่ญาติ ข้าพเจ้าฉลาดในอิทธิบาท ยินดีในการเจริญโพชฌงค์ บรรลุอภิญญาบารมี นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า. ข้าพเจ้าฉลาดในสติปัฏฐาน มีสมาธิฌานเป็นโคจร ขวนขวายสัมมัปปธาน นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า. ความเพียร ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ ข้าพเจ้าเอาดอกไม้บูชา จึงไม่รู้จักทุคติ นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าเผากิเลสแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติตาม ____________________________ ๑- ขุ. อ. เล่ม ๓๓/ข้อ ๑๔๘ สัตตอุปปลมาลิกาเถรีอปทาน ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พระอภยาเถรีได้เปลี่ยนคาถาเหล่านั้นแหละกล่าวเป็นอุทาน. บรรดาบทเหล่านั้น พระอภยาเถรีเรียกตนเองด้วยบทว่า อภเย. บทว่า ภิทุโร แปลว่า มีสภาพแตกทำลาย. ความว่า ไม่เที่ยง. บทว่า ยตฺถ สตฺตา ปุถุชฺชนา ความว่า อันธปุถุชนเหล่านี้ข้องติด คือติดอยู่แล้วในกายใด ที่มีเวลาแตกทำลายเป็นปกติ เพราะสภาวะไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น น่าเกลียดและปฏิกูล. บทว่า นิกฺขิปิสฺสามิมํ เทหํ ความว่า เราไม่เพ่งเล็งเพราะไม่ยึดถืออีก จักซัด คือจักทิ้งร่างกาย คือกายที่เปื่อยเน่านี้. ในคาถานั้น ท่านกล่าวเหตุ ด้วยบทว่า สมฺปชานา ปติสฺสตา. บทว่า พหูหิ ทุกฺขธมฺเมหิ อธิบายว่า อันความทุกข์ไม่น้อยมีชาติและชราเป็นต้นถูกต้องแล้ว. บทว่า อปฺปมาทรตาย ความว่า ยินดีแล้วในความไม่ประมาท กล่าวคือความไม่อยู่ปราศจากสติ เพราะได้ความสลดใจ ด้วยความเป็นผู้หยั่งลงสู่ทุกข์นั้นนั่นเอง. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล. ในคาถานี้มีปาฐะโดยทำนองที่พระศาสดาตรัสว่า ท่านพึงยินดีในความไม่ประมาท จงทอดทิ้ง กายนี้ จงถึงความสิ้นตัณหา จงปฏิบัติคำสอนของ พระพุทธเจ้า. ก็คาถานี้ พระสังคีติกาจารย์ยกขึ้นสู่สังคีติตามทำนองที่พระเถรีกล่าวแล้วนั่นแล. บทว่า อปฺปมาทรตาย เต ความว่า ท่านพึงเป็นผู้ยินดีแล้วในความไม่ประมาท. จบอรรถกถาอภยาเถรีคาถาที่ ๙ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรีคาถา ทุกนิบาต ๙. อภยเถรีคาถา จบ. |