![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() แม้พระเถรีชื่อทันติกาองค์นี้ก็ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ เกิดในกำเนิดกินนรที่ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา ในเวลาที่ว่างพระพุทธเจ้า. วันหนึ่ง กินรีนั้นเที่ยวเล่นกับเหล่ากินนร ได้เห็นพระ ในพุทธุปปาทกาลนี้ เกิดในเรือนพราหมณ์ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าโกศล กรุงสาวัตถี รู้ความแล้วเป็นอุบาสิกาได้ศรัทธาในกาลรับพระเชตวัน ภายหลังบวชในสำนักของพระมหาปชาบดีโคตมี อยู่ในกรุงราชคฤห์. วันหนึ่งฉันอาหารแล้วขึ้นเขาคิชฌกูฏ นั่งพักกลางวันเห็นช้างเหยียดเท้าเพื่อให้คนขี่ช้างขึ้น ทำเรื่องนั้นแหละให้เป็นอารมณ์ เจริญวิปัสสนา ได้บรรลุพระ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า๑- ข้าพเจ้าเป็นกินรีอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา ในกาลนั้น ข้าพเจ้าได้เห็น ข้าพเจ้าได้เป็นมเหสีของเทวราช ๓๖ องค์ สิ่งที่ใจปรารถนาบังเกิดแก่ ข้าพเจ้ามีบุญกุศลได้บวชเป็นบรรพชิต วันนี้ข้าพเจ้าเป็นปูชารหบุคคลในศาสนาของพระศากยบุตร วันนี้ข้าพเจ้ามีใจบริสุทธิ์ ปราศจากใจชั่วช้า มีอาสวะทั้งปวงหมดสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้มี. ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ ข้าพเจ้าได้บูชาพระพุทธะใดด้วยพุทธบูชานั้น ข้าพเจ้าไม่รู้จักทุคติ นี้เป็นผลแห่งการบูชาด้วยดอกสาละ ข้าพเจ้าเผากิเลสแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว. ____________________________ ๑- ขุ. อ. เล่ม ๓๓/ข้อ ๑๕๖ นฬมาลิการตรีอปทาน ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาการปฏิบัติของตน เกิดปีติโสมนัส ได้กล่าวคาถาเหล่านี้เป็นอุทานว่า ข้าพเจ้าออกจากที่พักกลางวันบนภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นช้างลงสู่แม่น้ำแล้วขึ้นจากแม่น้ำ ที่ฝั่งนที นาย หัตถาจารย์ถือขอให้สัญญาว่า จงให้เท้า ช้างได้เหยียด เท้าออก นายหัตถาจารย์ก็ขึ้นช้าง ข้าพเจ้าเห็นช้างที่ไม่เคยได้รับการฝึก เมื่อได้รับ การฝึกแล้วก็อยู่ในอำนาจของพวกมนุษย์ หลังจากเห็น ช้างนั้น ข้าพเจ้าเข้าป่าทำจิตให้เป็นสมาธิ เพราะกิริยา ของช้างนั้นเป็นเหตุ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาคํ โอคาหมุตฺติณฺณํ ความว่า ช้างทำการลงคือลงในแม่น้ำแล้วขึ้นจากแม่น้ำนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า โอคยฺห อุตฺติณฺณํ ลงแล้วขึ้น ดังนี้. ม อักษรทำหน้าที่เชื่อมบท. บทว่า นทีตีรมฺหิ อทฺทสํ ความว่า ได้เห็นที่ฝั่งแห่งแม่น้ำจันทภาคา. บทว่า ปุริโส เป็นต้นท่านกล่าวเพื่อแสดงความนี้ว่า ทำอะไร. บาทคาถาว่า เทหิ ปาทนฺติ ยาจติ ในคาถานั้น ความว่า ให้สัญญาเหยียดเท้าเพื่อขึ้นหลังว่าจงให้เท้า ก็ผู้ให้สัญญาตามที่ฝึกกันไว้ ท่านกล่าวในที่นี้ว่า ยาจติ. บทว่า ทิสฺวา อทนฺตํ ทมิตํ ความว่า ตามปกติช้างที่ไม่เคยฝึกมาก่อน บัดนี้ได้รับการฝึกที่นายหัตถาจารย์ฝึกด้วยการศึกษาสำหรับช้าง. ประกอบความว่า ฝึกเช่นไรจึงอยู่ในอำนาจของมนุษย์ทั้งหลาย เห็นช้างที่พวกมนุษย์บังคับนั้นๆ. บทว่า ขลุ ในบทว่า ตโต จิตฺตํ สมาเธสึ ขลุ ตาย วนํ คตา เป็นนิบาตลงในอรรถห้ามความอื่น. ความว่า หลังจากนั้นคือจากที่เห็นช้าง ข้าพเจ้าไปยังวนะคือป่า ทำจิตให้เป็นสมาธิทีเดียว ด้วยกิริยาของช้างนั้นเป็นเหตุอย่างไร ข้าพเจ้าคิดว่า ช้างแม้นี้ชื่อว่าเป็นเดรัจฉาน ยังถึงการฝึกด้วยความสามารถของผู้ฝึกช้างได้ เหตุไรจิตของเราผู้เป็นมนุษย์จึงจักไม่ถึงการฝึก ด้วยความสามารถของพระศาสดาผู้ฝึกคนเล่า ดังนี้เกิดความสังเวช เจริญวิปัสสนา ทำจิตของข้าพเจ้าให้เป็นสมาธิด้วยอรหัตมรรคสมาธิ คือทำกิเลสให้สิ้นไปโดยประการทั้งปวงด้วยสมาธิอันแน่วแน่. จบอรรถกถาทันติกาเถรีคาถาที่ ๔ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรีคาถา ติกนิบาต ๔. ทันถิกาเถรีคาถา จบ. |