![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() คาถาว่า สทฺธาย ปพฺพชิตฺวาน เป็นต้นเป็นคาถาของพระเถรีชื่อมิตตากาฬี. แม้พระเถรีชื่อมิตตากาฬีองค์นี้ก็ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ใน ข้าพเจ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วย ศรัทธา แต่เป็นผู้ขวนขวายในลาภสักการะ เที่ยวไป ด้วยเหตุนั้น ๆ ข้าพเจ้าละประโยชน์อันเยี่ยมแล้วถือ เอาประโยชน์อันเลว ตกอยู่ในอำนาจของกิเลส ไม่รู้ ประโยชน์ของความเป็นสมณะ เมื่อข้าพเจ้านั่งในที่อยู่ได้เกิดความสังเวชว่า เราเดินทางผิดเสียแล้ว ตกอยู่ในอำนาจของตัณหา ชีวิตของเราน้อย ถูกชราและพยาธิย่ำยี กายนี้ย่อม ทำลายไปก่อน ไม่ใช่เวลาที่เราจะประมาท เมื่อข้าพเจ้าพิจารณาเห็นตามความเป็นจริง ถึงความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปของขันธ์ทั้งหลาย จึงได้มีจิตหลุดพ้นแล้ว ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติคำสอนของ พระพุทธเจ้าแล้ว. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิจรึหํ เตน เตน ลาภสกฺการอุสฺสุกา ความว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ขวนขวาย คือประกอบแล้ว ประกอบทั่วแล้วในลาภและสักการะ เที่ยวไปด้วยเหตุนั้นๆ คือด้วยเหตุที่เกิดลาภมีกล่าวพาหุสัจธรรมเป็นต้น. บทว่า ริญฺจิตฺวา ปรมํ อตฺถํ ความว่า ละคือสละประโยชน์สูงสุดมีฌาน วิปัสส บทว่า หีนมตฺถํ อเสวิหํ ความว่า ข้าพเจ้าได้ถือเอาประโยชน์อันเลวคือลามก เพราะเป็นอามิสกล่าวคือปัจจัยสี่ ด้วยการแสวงหาโดยไม่แยบคาย. บทว่า กิเลสา นํ วสํ คนฺตวา ความว่า ตกอยู่ในอำนาจของกิเลสทั้งหลายมีมานะความถือตัว มทะความมัวเมา และตัณหาความอยากเป็นต้น. บทว่า สามญฺญตฺถํ นิรชฺชิหํ ความว่า ข้าพเจ้าไม่รู้ คือไม่ทราบหน้าที่ของสมณะ. บทว่า นิสินฺนาย วิหารเก ความว่า เมื่อข้าพเจ้านั่งอยู่ในห้องซึ่งเป็นที่อยู่ ได้เกิดความสังเวช. หากจะถามว่า เกิดความสังเวชอย่างไร ตอบว่า เกิดความสังเวชว่า เราเดินทางผิดเสียแล้ว. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุมฺมคฺคปฏิปนฺนามฺหิ ความว่า พระศาสนานี้ก็เพื่อปรินิพพานโดยไม่ถือมั่นเท่านั้น เราบวชในพระศาสนานั้นแล้วไม่ บทว่า ตณฺหาย วสมาคตา ความว่า ตกอยู่ในอำนาจของความอยากที่เกิดแต่ปัจจัย. บทว่า อปฺปกํ ชีวิตํ มยฺหํ ความว่า ชีวิตของเราน้อย คือนิดหน่อยคือเร็ว เพราะไม่มีกำหนดเวลา และมีอันตรายมาก. บทว่า ชรา พฺยาธิ จ มทฺทติ ความว่า ชราและพยาธิย่อมย่ำยี คือบดขยี้กายนั้น เหมือนภูเขากลิ้งบดขยี้ไปโดยรอบ. ปาฐะว่า มทฺทเร ก็มี. บทว่า ปุรายํ ภิชฺชติ กาโย ความว่า กายนี้ย่อมทำลายไปข้างหน้า. ประกอบความว่า เพราะกายนั้นมีการแตกทำลายโดยส่วนเดียว ฉะนั้นจึงไม่ใช่กาลที่เราจะประมาท กาลนี้เว้นขณะทั้งแปด เป็นขณะที่เก้า ซึ่งไม่ควรที่จะประมาท พระเถรีนั้นมีความสังเวชดังนี้. บทว่า ยถาภูตมเวกฺขนฺตี ความว่า เกิดความสังเวชอย่างนี้แล้ว เริ่มเจริญวิปัสสนา พิจารณา เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามว่า พิจารณาอะไร พระเถรีจึงกล่าวว่า พิจารณาความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย. ข้าพเจ้าพิจารณาความเกิดและความดับแห่งอุปาทานขันธ์ห้า ซึ่งมีประเภทครบห้าสิบ โดยนัยเป็นต้นว่า เพราะอวิชชาเกิด รูปจึงเกิด ดังนี้ ด้วยอุทยัพพยา คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล. จบอรรถกถามิตตากาฬีเถรีคาถาที่ ๖ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรีคาถา ปัญจกนิบาต ๖. มิตตกาลีเถรีคาถา จบ. |