บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
อรรถกถาสังขพราหณชาดกที่ ๔ ได้ยินว่า ในพระนครสาวัตถี มีอุบาสกคนหนึ่งฟังธรรมเทศนาของพระตถาคตแล้ว มีจิตเลื่อมใสในพระศาสดา จึงเข้าไปนิมนต์เพื่อฉันในวันรุ่งขึ้น แล้วให้ทำมณฑปใกล้ประตูเรือนของตน ประดับตกแต่งเป็นอย่างดี วันรุ่งขึ้นให้คนไป แลเมื่อจะถวายนั้นได้จัดทำรองเท้าถวายเป็นพิเศษคือคู่ที่ถวายแด่พระทศพล ราคาพันหนึ่ง ที่ถวายพระอัครสาวกทั้งสอง ราคาคู่ละ ๕๐๐ ที่ถวายพระภิกษุ ๕๐๐ นอกนั้นราคาคู่ละร้อย. อุบาสกนั้นครั้นถวายเครื่องบริขารทุกอย่าง ดังนี้แล้วได้ไปนั่งอยู่ในสำนักพระผู้มีพระภาคกับบริษัทของตน. ครั้งนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงอนุโมทนาด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะแก่อุบาสก ครั้งก่อนเมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เกิดขึ้น ชนทั้งหลายถวายรองเท้าคู่หนึ่งแด่พระปัจเจก จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :- ในอดีตกาล พระนครพาราณสีนี้มีนามว่าโมลินี พระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในกรุงโมลินี มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อสังขะ เป็นผู้มั่งคั่ง มีโภคทรัพย์มาก มีเครื่องที่ทำให้ปลื้มใจ เช่นทรัพย์ข้าวเปลือกและเงินทองมากมาย ให้สร้างโรงทาน ๖ แห่ง คือประตูเมือง ๔ ประตู ที่กลางเมืองและที่ประตูเรือน สละทรัพย์วันละ ๖ แสนให้ทานเป็นการใหญ่แก่คนกำพร้าและคนเดินทางเป็นต้นทุกวัน วันหนึ่ง เขาคิดว่า เมื่อทรัพย์ในเรือนสิ้นแล้ว เราจักไม่อาจให้ทานได้ เมื่อทรัพย์ยังไม่สิ้นไปนี้ เราจักลงเรือไปสุวรรณภูมิ นำทรัพย์มา คิดดังนี้แล้ว จึงให้ต่อเรือบรรทุกสินค้าจนเต็ม แล้วเรียกบุตรภรรยามาสั่งว่า พวกท่านจงให้ทานของเราเป็นไปโดยไม่ขาดจนกว่าเราจะกลับมา แล้วก็แวดล้อมไปด้วยทาสและกรรมกร กั้นร่มสวมรองเท้า เดินตรงไปยังบ้านท่าเรือจอดในเวลาเที่ยง. ในขณะนั้นที่ภูเขาคันธมาทน์ มีพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งพิจารณาดูก็ได้เห็นพราหมณ์ สังขพราหมณ์พอเห็นพระ พระปัจเจกพุทธเจ้าเพื่อจะอนุเคราะห์สังขพราหมณ์จึงรับร่มและรองเท้า และเพื่อจะให้ความเลื่อมใสเจริญยิ่งขึ้น จึงเหาะไปภูเขาคันธมาทน์ให้สังขพราหมณ์แลเห็น. สังขพราหมณ์โพธิสัตว์ได้เห็นดังนั้นแล้ว ก็มีจิตเลื่อมใสยิ่งขึ้น เดินไปสู่ท่าลงเรือ เมื่อสังขพราหมณ์กำลังเดินทางอยู่กลางมหาสมุทร พอถึงวันที่ ๗ เรือได้ทะลุ น้ำไหลเข้า ไม่มีใครสามารถจะวิดน้ำให้หมดได้. มหาชนกลัวต่อมรณภัย ต่างก็พากันนมัสการเทวดาที่นับถือของตนๆ ร้องกันเซ็งแซ่. พระมหาสัตว์กับอุปัฏฐากคือคนใช้คนหนึ่ง ทาสรีระด้วยน้ำมัน เคี้ยว มหาชนพากันพินาศสิ้น ส่วนพระมหาสัตว์กับอุปัฏฐากพยายามว่ายข้าม ครั้งนั้น นางเทพธิดาชื่อมณิเมขลา ท้าวโลกบาลทั้ง ๔ ตั้งไว้ให้พิทักษ์รักษาสมุทร ด้วยคำสั่งว่า ถ้าเรือมาแตกลง มนุษย์ที่ถือไตรสรณคมน์ก็ดี มีศีลสมบูรณ์ก็ดี ปฏิบัติชอบในมารดาบิดาก็ดี มาตกทุกข์ในสมุทรนี้ ท่านพึงพิทักษ์รักษาเขาไว้. นางประมาทด้วยความเป็นใหญ่ของตนเสีย ๗ วัน พอถึงวันที่ ๗ นางตรวจดูสมุทรได้เห็นสังขพราหมณ์ประกอบด้วยศีลและอาจาระ เกิดสังเวชจิตคิดว่า พราหมณ์นี้ตกทะเลมาได้ ๗ วันแล้ว ถ้าพราหมณ์จักตายลง เราคงได้รับครหาเป็นอันมาก แล้วนางได้จัดถาดทองใบหนึ่งให้เต็มไปด้วยทิพยโภชนะอันมีรสเลิศต่างๆ เหาะไป ณ ที่นั้นโดยเร็ว ยืนอยู่บนอากาศตรงหน้าสังขพราหมณ์ กล่าวว่า ข้าแต่พราหมณ์ ท่านอดอาหารมา ๗ วันแล้ว จงบริโภคโภชนะทิพย์นี้เถิด. สังขพราหมณ์แลดูนางเทพธิดา แล้วกล่าวว่า จงนำภัตของท่านหลีกไปเถิด เรารักษาอุโบสถ. ลำดับนั้น อุปัฏฐากอยู่ข้างหลังไม่เห็นเทวดาได้ฟังแต่เสียง จึงคิดว่า พราหมณ์นี้เป็นสุขุมาลชาติโดยปกติ มาถูกอดอาหารลำบากเข้า ๗ วัน ชะรอยจะบ่นเพ้อเพราะกลัวตาย เราจักปลอบโยนเขา คิดดังนี้แล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :- ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ ท่านก็เป็นพหูสูต ได้ฟังธรรมมาแล้ว ทั้งสมณ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุตธมฺโมสิ ความว่า แม้ธรรมท่านก็ได้สดับมาแล้ว ในสำนักของสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรมทั้งหลาย. บทว่า ทิฏฺฐา ความว่า ทั้งสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรมทั้งหลาย อันท่านผู้ถวายปัจจัยแก่สมณพราหมณ์แล้วนั้น กระทำความขวนขวายอยู่ก็ได้เห็นมาแล้ว ท่านแม้เมื่อกระทำอยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ก็ยังไม่เห็นสมณพราหมณ์เหล่านั้นเลย. บทว่า อถกฺขเณ ตัดบทเป็น อถ อกฺขเณ คือในขณะที่มิใช่โอกาสพูด เพราะไม่มีใครๆ ที่เจรจาด้วย. บทว่า ทสฺสยเส ความว่า ท่านเมื่อกล่าวว่า เรารักษาอุโบสถ ชื่อว่าแสดงคำพร่ำเพ้อ. บทว่า ปฏิมนฺตโก ความว่า คนอื่นนอกจากข้าพเจ้า ใครเล่าที่จะมาเจรจา คือที่จะมาให้ถ้อยคำกับท่านได้ เพราะเหตุไร ท่านจึงพร่ำเพ้ออย่างนี้? สังขพราหมณ์ได้ฟังคำของอุปัฏฐากแล้ว จึงคิดว่า ชะรอยเทวดานั้นจะไม่ปรากฏแก่เขา จึงกล่าวว่า แน่ะสหาย เรามิได้กลัวมรณภัย ผู้อื่นที่มาเจรจากับเรามีอยู่ แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :- นางฟ้าหน้างาม รูปสวยเลิศ ประดับด้วยเครื่องประดับทอง ยกถาดทองเต็มด้วยอาหารทิพย์ มาร้องเชิญให้เราบริโภค นางเป็นผู้มีศรัทธาและปลื้มจิต เราตอบกะนางว่า ไม่บริโภค. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุพฺภา แปลว่า ผู้มีหน้างาม. บทว่า สุภา ได้แก่ ผู้มีรูปร่างงามเลิศ น่าเลื่อมใส. บทว่า สุปฺปฏิมุกฺกกมฺพู คือ ประดับด้วยเครื่องอลังการทอง. บทว่า ปคฺคยฺห คือ ถาดภัตตาหารยกขึ้น. บทว่า สทฺธา วิตฺตา ได้แก่ มีศรัทธาด้วยมีจิตยินดีด้วย. บาลีว่า สทฺธา วิตฺตํ ดังนี้ก็มี. ข้อนั้นมีความว่า บทว่า สทฺธา ได้แก่ ผู้เหลืออยู่. บทว่า วิตฺตํ ได้แก่ ผู้มีจิตยินดีแล้ว. บทว่า ตมหํ โน ความว่า เราเมื่อจะปฏิเสธเพราะความที่ตนเป็นผู้รักษาอุโบสถ จึงตอบกะเทวดานั้นว่าไม่บริโภค เราไม่เพ้อดอกสหาย. ลำดับนั้น อุปัฏฐากได้กล่าวคาถาที่ ๓ แก่สังขพราหมณ์นั้นว่า :- ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ วิสัยบุรุษผู้ยังปรารถนาความสุข ได้พบเห็นเทวดาเช่นนี้แล้ว ควรจะถามดูให้รู้แน่ ขอท่านจงลุกขึ้นประนมมือถามเทวดานั้นว่า นางเป็นเทวดาหรือมนุษย์. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขมาสึสมาโน ความว่า บุรุษผู้เป็นบัณฑิต ผู้ยังปรารถนาความสุขเพื่อตน ได้พบเห็นเทวดาเช่นนี้แล้ว ควรจะถามดูว่า ความสุขจักมีแก่เราหรือไม่? บทว่า อุฏฺเฐหิ ความว่า ท่านเมื่อแสดงอาการลุกขึ้นจากน้ำ ชื่อว่าจงลุกขึ้น. บทว่า ปญฺชลิกาภิปุจฺฉ คือ จงเป็นผู้ประนมมือถาม. บทว่า อุท มานุสี ความว่า หรือว่านางเป็นมนุษย์ผู้มีฤทธิ์มาก. พระโพธิสัตว์คิดว่า อุปัฏฐากพูดถูก เมื่อจะถามนางเทพธิดานั้น ได้กล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :- เพราะเหตุที่ท่านมาแลดูข้าพเจ้าด้วยสายตาอันแสดงความรัก ร้องเชิญให้ข้าพเจ้าบริโภคอาหาร ดูก่อนนางผู้มีอานุภาพใหญ่ ข้าพเจ้าขอถามท่านว่า ท่านเป็นเทวดาหรือมนุษย์? บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํ ตฺวํ ความว่า เพราะเหตุใด ท่านจึงมาแลดูข้าพ บทว่า อภิสเมกฺขเส คือแลดูด้วยจักษุ อันแสดงความรัก. บทว่า ปุจฺฉามิ ตํ ความว่า เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงขอถามท่าน. ลำดับนั้น นางเทพธิดาได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :- ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ ข้าพเจ้าเป็นเทวดาผู้มีอานุภาพมาก มาในกลางน้ำสาครนี้ ก็เพราะเป็นผู้มีความเอ็นดู จะได้มีจิตประทุษร้ายก็หาไม่ ข้าพเจ้ามาในที่นี้ ก็เพื่อประโยชน์แก่ท่านนั่นเอง. ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ ในสมุทรนี้มีข้าว น้ำ ที่นอน ที่นั่ง และยานพาหนะมากอย่าง ใจของท่านปรารถนาสิ่งใด ข้าพเจ้าจะให้สิ่งนั้นสำเร็จแก่ท่านทุกอย่าง. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธ คือ ในสมุทรนี้. บทว่า นานาวิวิธานิ คือ มียานพาหนะ คือช้างและยานพาหนะ มีม้าเป็นต้น ทั้งมากมาย ทั้งหลายอย่าง. บทว่า สพฺพสฺส ตฺยาหํ ความว่า ข้าพเจ้าจะให้ข้าวและน้ำเป็นต้นนั้นสำเร็จแก่ท่าน คือจะให้ท่านเป็นเจ้าของข้าวและน้ำเป็นต้น บทว่า ยงฺกิญฺจิ ความว่า ใจของท่านอยากได้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง แม้อย่างอื่น ข้าพเจ้าจะให้สิ่งนั้นทุกอย่างแก่ท่าน. พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้นแล้ว คิดว่า เทวดานี้กล่าวว่าจะให้อย่างนั้นอย่างนี้แก่เราในท้องน้ำ เธอปรารถนาจะให้ด้วยบุญกรรมที่เราทำไว้ หรือจะให้ด้วยพลานุภาพของตน เราจักถามดูก่อน เมื่อจะถาม ได้กล่าวคาถาที่ ๗ ว่า :- ข้าแต่เทพธิดาผู้มีร่างงาม มีตะโพกผึ่งผาย มีคิ้วงาม ผู้เอวบางร่างน้อย ทานซึ่งเป็นส่วนบูชา และการเซ่นสรวงของข้าพเจ้า อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีอยู่ ท่านเป็นผู้สามารถรู้วิบากแห่งกรรมของข้าพเจ้า บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยิฏฺฐํ คือบูชาแล้ว ด้วยสามารถแห่งทาน. บทว่า หุตํ คือให้แล้ว ด้วยสามารถแห่งของคำนับและของต้อนรับ. บทว่า สพฺพสฺส โน อิสฺสรา ตฺวํ ความว่า ท่านเป็นอิสระ คือเป็นผู้สามารถรู้วิบากแห่งบุญกรรมของข้าพเจ้านั้นทุกอย่างว่า นี้เป็นวิบากแห่งกรรมนี้ นี้เป็นวิบากแห่งกรรมนี้. บทว่า สุสฺโสณิ คือ ผู้มีลักษณะแห่งโคนขางาม. บทว่า สุพฺภา แปลว่า ผู้มีคิ้วงาม. บทว่า สุวิลากมชฺเฌ คือ ผู้มีกลางตัวอันอรชรอ้อนแอ้น. บทว่า กิสฺส เม ความว่า บรรดากรรมที่ข้าพเจ้าทำแล้ว การที่ข้าพเจ้าได้ที่พึ่งในมหาสมุทรอันหาที่พึ่งมิได้นี้ เป็นวิบากแห่งกรรมอะไร. นางเทพธิดาได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงคิดว่า พราหมณ์นี้ชะรอยจะถามด้วยสำคัญว่าเรารู้กุศลกรรม เมื่อจะกล่าว ได้กล่าวคาถาที่ ๘ ว่า :- ข้าแต่ท่านสังขพราหมณ์ ท่านได้ถวายรองเท้ากะพระภิกษุรูปหนึ่งผู้เดินกระโหย่งเท้า สะดุ้ง บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกภิกฺขุํ นางเทพธิดากล่าวหมายเอาพระปัจเจกพุทธเจ้ารูปนั้น. บทว่า อุคฺฆฏฺฏปาทํ คือ ผู้เดินกระโหย่งเท้า เพราะทรายร้อน. บทว่า ตสิตํ คือ ผู้กระหายแล้ว. บทว่า ปฏิปาทยิ ความว่า ได้ถวายแล้ว คือได้ประกอบแล้ว. บทว่า กามทุหา คือ ให้สิ่งที่น่าปรารถนาทุกอย่าง. พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้นแล้ว มีจิตยินดีว่า การถวายรองเท้าที่เราได้ถวายแล้ว มาให้ผลที่น่าปรารถนาแก่เราทุกอย่างในมหาสมุทรอันหาที่พึ่งมิได้ แม้เห็นปานนี้ โอ! การที่เราถวายทานแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นการถวายที่ดีแล้ว. จึงกล่าวคาถาที่ ๙ ว่า :- ขอจงมีเรือที่ต่อด้วยแผ่นกระดาน น้ำไม่รั่ว มีใบสำหรับพาเรือให้แล่นไป เพราะในสมุทรนี้ พื้นที่ที่จะใช้ยานพาหนะอย่างอื่นมิได้มี ขอท่านได้ส่งข้าพเจ้าให้ถึงเมืองโมลินี ในวันนี้เถิด. พึงทราบความแห่งคำอันเป็นคาถานั้นว่า ดูก่อนนางเทพธิดา เมื่อเป็นเช่นนั้น ขอท่านจงเนรมิตเรือลำหนึ่งแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด แต่ขอจงเนรมิตเรือเล็กๆ ลำหนึ่ง ประมาณเท่าเรือโกลน อนึ่ง เรือที่ท่านจักเนรมิตขอให้เป็นเรือที่ต่อด้วยแผ่นกระดานหลายๆ แผ่นที่ตรึงดีแล้ว ที่ชื่อว่าน้ำไม่รั่ว เพราะไม่มีช่องที่จะให้น้ำไหลเข้าไปได้ ประกอบด้วยใบที่จะพาแล่นไปได้อย่างสะดวก เพราะในสมุทรนี้ พื้นที่ที่จะใช้ยานพาหนะอื่น เว้นเรือทิพย์มิได้มี ขอท่านได้ส่งข้าพเจ้าให้ถึงเมืองโมลินีด้วยเรือลำนั้น ในวันนี้เถิด. นางเทพธิดาได้ฟังคำของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว มีจิตยินดี เนรมิตเรือขึ้นลำหนึ่งซึ่งแล้วไปด้วย พราหมณ์ได้ให้ส่วนบุญที่ตนได้กระทำไว้แก่อุปัฏฐาก อุปัฏฐากก็รับ พระศาสดาผู้ตรัสรู้แล้ว ได้ตรัสพระคาถานี้เป็นที่สุดว่า :- นางเทพธิดานั้นมีจิตชื่นชมโสมนัสปราโมทย์ เนรมิตเรืออันงามวิจิตร แล้วพาสังขพราหมณ์ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สา ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นางเทพธิดานั้นได้ฟังคำของพระโพธิสัตว์นั้นในท่ามกลางสมุทรนั้นแล้ว ประกอบด้วยปิติ กล่าวคือมีจิตชื่นชม. บทว่า สุมนา เป็นต้น คือเป็นผู้มีใจงาม เป็นผู้มีจิตร่าเริงแล้วด้วยปราโมทย์ เนรมิตเรืออันวิจิตร นำพราหมณ์กับคนใช้ไปแล้ว. บทว่า สาธุรมฺมํ คือ นำเข้ามาส่งถึงเมืองอันเป็นที่รื่นรมย์ยิ่ง. แม้พราหมณ์ก็ครอบครองคฤหาสน์ อันมีทรัพย์นับประมาณมิได้ ให้ทานรักษาศีลจนตลอดชีวิต ครั้นสิ้นชีวิตแล้ว พร้อมด้วยบริษัทได้ไปเกิดในเทพนคร. พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประกาศสัจธรรม เวลาจบสัจจะ อุบาสกดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. พระทศพลทรงประชุมชาดกว่า นางเทพธิดาในครั้งนั้น ได้มาเป็น นางอุบลวัณณาเถรี ในบัดนี้ บุรุษอุปัฏฐากในครั้งนั้น ได้มาเป็น พระอานนท์ ในบัดนี้ ส่วนสังขพราหมณ์ ได้มาเป็น เราตถาคต ฉะนี้แล. จบ อรรถกถาสังขพราหมณชาดกที่ ๔ ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา สังขชาดก ว่าด้วย อานิสงส์ถวายรองเท้า จบ. |