![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() คำว่า ฉนฺทกํ นี้ เป็นชื่อแห่งบริขาร (สิ่งของเครื่องใช้) ที่เขาถวายอันก่อให้เกิดความพอใจ และความชอบใจแก่คนเหล่าอื่น แล้วถือเอาอย่างนี้ว่า พวกเราจักทำกิจชอบธรรม (บุญกรรม) ชื่อนี้ท่านทั้งหลายจงให้สิ่งของที่พวกท่านอาจจะให้ได้. บทว่า อญฺญทตฺถิเกน คือ ที่เขาถวายไว้เพื่อต้องการเป็นมูลค่าแก่ปัจจัยอย่างหนึ่ง. บทว่า อญฺญุทฺทิสิเกน คือ ที่เขาถวายเจาะจงไว้อย่างหนึ่ง. บทว่า สงฺฆิเกน คือ ที่เขาตั้งใจถวายแก่สงฆ์. สองบทว่า เสสกํ อุปเนติ มีความว่า สั่งให้จ่ายปัจจัยที่เขาถวายกัปปิยภัณฑ์ไว้เป็นมูลค่า แล้วน้อมของที่เหลือไปเพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยอื่น. สองบทว่า สามิเก อปโลเกตฺวา มีความว่า ขออนุญาตจากเจ้าของแล้วน้อมไปอย่างนี้ว่า พวกท่านถวายกัปปิยภัณฑ์ไว้เพื่อเป็นมูลค่าแห่งจีวรและจีวรของพวกเรามีอยู่ แต่มีความต้องการด้วยน้ำมันเป็นต้น. บทว่า อาปทาสุ มีความว่า เพราะอันตรายเช่นนั้น พวกภิกษุณีพากันทิ้งวัดอพยพหนี ในอันตรายมีรูปเห็นปานนั้น จะแลกเปลี่ยนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ควรอยู่. คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๖ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา ในสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล. อรรถกถาปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ภิกขุนีวิภังค์ นิสสัคคิยกัณฑ์ ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ. |