![]() |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
![]() |
![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() บทว่า ภตฺตวิสฺสคฺคํ แปลว่า ภัตกิจ. สามบทว่า ปานีเยน จ วิธูปเนน จอุปติฏฺฐิตฺวา ความว่า ยืนเอามือข้างหนึ่งถือขันน้ำ เอามือข้างหนึ่งถือพัด พัดวีอยู่ใกล้ๆ. บทว่า อจฺจาวทติ มีความว่า กล่าวถ้อยคำเกี่ยวกับการครองเรือน ละเมิดจารีตของบรรพชิตว่า แม้เมื่อก่อน ท่านก็บริโภคอยู่อย่างนี้ ดิฉันก็ทำการปรนนิบัติท่านอย่างนี้. สองบทว่า ยงฺกิญฺจิ ปานียํ มีความว่า น้ำสะอาด หรือน้ำเปรียง นมส้ม น้ำผึ้ง น้ำรส และนมสดเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตามที. สองบทว่า ยากาจิ วีชนี คือ ชั้นที่สุดแม้ชายจีวร ก็ชื่อว่าพัด. ในคำว่า หตฺถปาเส ติฏฺฐติ อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรับปาจิตตีย์ เพราะการยืนเป็นปัจจัยเท่านั้น. แต่เพราะการประหารเป็น สองบทว่า เทติ ทาเปติ มีความว่า ภิกษุณีถวายน้ำดื่ม หรือแกงเป็นต้นว่า นิมนต์ท่านดื่มน้ำนี้ นิมนต์ท่านฉันกับแกงนี้เถิด. ถวายพัดใบตาลว่า นิมนต์ท่านพัดด้วยพัดใบตาลนี้ ฉันเถิด หรือว่าสั่งให้ผู้อื่นถวายน้ำดื่มและพัดให้แม้ทั้ง ๒ อย่างไม่เป็นอาบัติ. สองบทว่า อนุปสมฺปนฺนํ อาณาเปติ คือ สั่งสามเณรีเพื่อให้ปฏิบัติไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานเหมือนเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล. อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ภิกขุนีวิภังค์ ปาจิตติยกัณฑ์ ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ. |