บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
หลายบทว่า ยํ มนุสฺสานํ อุปโภคปริโภคํ โรปิตํ มีความว่า ไร่นาหรือสวนผลไม้มีมะพร้าวเป็นต้นก็ตามที เมื่อเทวัตถุเหล่านั้นทิ้งในที่ซึ่งเขาปลูกของเขียวสดไว้แห่งใดแห่งหนึ่ง พึงทราบความต่างแห่งอาบัติโดยนัยก่อนนั่นแล. ภิกษุณีนั่งฉันอยู่ที่ไร่นาหรือสวน เคี้ยวอ้อยเป็นต้น เมื่อจะไปเทน้ำเป็นแดนและกระดูกเป็นต้นลงในของเขียวสด ชั้นที่สุด ทิ้งแม้มะพร้าวที่เฉาะหัวดื่มน้ำแล้ว ก็เป็นปาจิตตีย์เหมือนกัน. เป็นทุกกฏแก่ภิกษุ. แต่ในพืชที่เขาหว่านไว้ในนาที่ไถแล้ว เป็นทุกกฏแก่ภิกษุและภิกษุณีทั้งหมด ตลอดเวลาที่หน่อยังไม่งอก. จะเทลงในมุมนาเป็นต้น ที่เขายังไม่ได้หว่านพืชก็ดี ในคันนาเป็นต้นที่ปลูกพืชไม่ขึ้นก็ดี ควรอยู่. จะเทลงแม้ในที่ทิ้งขยะมูลฝอยของพวกชาวบ้าน ก็ควร. บทว่า ฉฑฺฑิตกฺเขตฺเต มีความว่า เมื่อพวกชาวบ้านถอนข้าวกล้าไปแล้ว ชื่อว่าเป็นนาร้าง. จะเทลงในนาร้างนั้นนั่นแล ควรอยู่. แต่ในไร่นาที่พวกชาวบ้านยังเฝ้ารักษาอยู่ ด้วยเข้าใจว่า บุพพัณชาติเป็นต้นที่เกี่ยวแล้วจักงอกขึ้นอีก เป็นอาบัติตามวัตถุเหมือนกัน. บทที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๖ เป็นทั้งกิริยาและอกิริยา ฯลฯ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล. อรรถกถาลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ภิกขุนีวิภังค์ ปาจิตติยกัณฑ์ ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ. |