บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ |
ในคำว่า กฐินุทฺธารํ น ทสฺสนฺติ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- การเดาะกฐินเช่นไรสงฆ์ควรให้ เช่นไรไม่ควรให้ คือ การเดาะกฐิน เช่นอย่างที่มีอานิสงส์มาก มีการกรานเป็นมูล, มีอานิสงส์น้อย มีการเดาะเป็นมูล ไม่ควรให้. แต่การเดาะกฐินเช่นอย่างที่มีอานิสงส์น้อย มีการกรานเป็นมูล มีอานิสงส์มาก มีการเดาะเป็นมูล ควรให้. การเดาะกฐินแม้มีอานิสงส์เท่าๆ กัน. สงฆ์ก็ควรให้ทีเดียว เพื่อรักษาศรัทธาไว้. บทว่า อานิสํสํ มีความว่า ภิกษุณีแสดงอานิสงส์เห็นปานนี้ว่า ภิกษุณีสงฆ์มีจีวรเก่า มีลาภมาก ซึ่งมีอานิสงส์แห่งกฐินเป็นมูล แล้วห้ามเสีย ไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ โลกวัชชะ กาย อรรถกถานัคควรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ อรรถกถานัคควรรคที่ ๓ จบ. ----------------------------------------------------- .. อรรถกถา ภิกขุนีวิภังค์ ปาจิตติยกัณฑ์ นัคควรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ. |